เรามารู้จัก อินทรี ๑ พันตำรวจเอก สหัส ใจเย็น ผกก.ปพ.บช.ปส. (หน่วย สยบไพรี)

เรามารู้จัก อินทรี ๑ พันตำรวจเอก สหัส ใจเย็น ผกก.ปพ.บช.ปส. (หน่วย สยบไพรี)
“อุดมการณ์ในการทำงานของ พันตำรวจเอก สหัส ใจเย็น (สยบไพรี) ”
จริงๆแล้วในความคิดส่วนตัวของผมไม่มีอุดมคติใครมาขอถามผมก็ต้องมานั่งคิดว่าเราจะเอา คติอะไรดีให้มันดูดี ดูเท่ห์แต่เอาจริงๆเข้ามันก็แค่แนวคิดแนวความเชื่อที่เขียนลงให้ดูสวยหรู ของแต่ละคนแต่ละหน่วยงาน เพราะฉะนั้นถ้าจะถามผมว่า. “อุดมคติในการทำงานคืออะไร ”
ผมก็คงตอบว่าหัวใจกับสามัญสำนึก คืออะไรควรทำก็ต้องทำ อะไรไม่ควรทำก็อย่าทำและเมื่อลงมือทำแล้วทำให้เต็มที่ทำให้ดีที่สุดเราเป็นหัวหน้าเป็นผู้บังคับบัญชาต้องมีความจริงใจกับลูกน้องผู้ใต้บังคับบัญชาหรือ ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องไม่เอาเปรียบเขาและต้องเป็นที่พึ่งให้เขาปกป้องเขาได้อย่าให้เขาต้องเคว้งคว้างอย่าให้เขาทำงานโดยลำพังพวกเราต้องสามัคคีในการทำงานร่วมแรงร่วมใจและต้องทำงานกันเป็นทีมโดยมีเราเป็นหัวหน้าควบคุมสั่งการประสานการปฏิบัติและที่สำคัญต้องร่วมลงมือทำได้ด้วยไม่ใช่คอยชี้นิ้วสั่งหรือทำงานแต่ปากเพียงอย่างเดียว..

ถ้าจะถามผมตอนนี้ว่าอาวุธอุปกรณ์ในหน่วยงานตอนนี้พอใช้หรือยัง .ผมขอตอบว่ายังไม่พอใช้ครับ..เพราะอุปกรณ์ที่มีศักยภาพก็มีที่มันยังล้าสมัยเรายังต้องการอาวุธและอุปกรณ์ที่มีการพัฒนาไปตามสมัยครับเพราะว่าการทำงานงานทุกวันนี้เกี่ยวกับเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยต้องต่อสู้กับเทคโนโลยีใหม่ๆที่เข้ามาตลอดครับและทางหน่วยก็กำลังทำเรื่องร้องขอไปแล้วครับตอนนี้ก็รออนุมัติครับ.
ขอบคุณครับสำหรับคำถามนี้.
พ.ต.อ. สหัส ใจเย็นเติบโตมาจากครอบครัวทหาร คุณพ่อผมคือนาวาอากาศโท สละ ใจเย็น และคุณแม่ผมทำหน้าที่เป็นแม่บ้านผมถูกปลูกฝังความมีระเบียบวินัยและเข้มแข็งเชื่อมั่นในตัวเองและได้ซึมซับความเป็นครอบครัวที่มีกฏระเบียบจึงมีความตั้งใจตั้งแต่แรกว่าจะทำงานตามรอยคุณพ่อในการรับใช้แผ่นดินเกิดจนเรียนจบและเริ่มสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพรานและจบได้เข้าทำงานรับใช้ชาติจนถึงปัจจุบันนี้ .

ประวัติรับราชการของ
พ.ต.อ.สหัส ใจเย็น ตำแหน่งปัจจุบันคือ ผู้กำกับการปฎิบัติการพิเศษกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด(สยบไพรี )
การศึกษาจบจากโรงเรียน โยธินบูรณะกรุงเทพมหานครก็เรียนโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 33
โรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 49 ประวัติการดำรงตำแหน่ง รอง สว.ประจำ บช.รร.นรต.ลงวันที่ 29 ม.ค.2539 รอง สวส.สภ.อ.ท่าชนะ จังหวัด สุราษฎร์ธานี 25 พ.ย.2539
รอง สว.งาน 5(นปพ.)กก.สส.ภ 8 ลงวันที่ 8 ก.ย.2541
รอง สว.งาน 5 (นปพ.)กก.สส.ภ.7 ลงวันที่ 12 พ.ค.2546
รอง สว.กก.ปพ.ศสส.ภ.8 ลงวันที่ 10 พ.ย.2548
สว.กลุ่มงานสืบสวน(ทนท.หน.นปพ.)ภ.จังหวัดระนอง ลงวันที่ 24 ต.ค. 2549
สว.กลุ่มงานสืบสวน(รรท.หน.นปพ.)ภ.จว.สงขลา ลงวันที่ 6 ธ.ค. 2550
รอง ผกก.ป.สภ.ควนมีด ภ.จว.สงขลา 31 ม.ค.2554
รอง ผกก.ปพ.สส.ภ.9 ลงวันที่ 31 มี.ค. 2555
ผกก.ปพ.บช.ปส.(สยบไพรี)ลงวันที่ 9 มิ.ย. 2560 จนถึงปัจจุบัน.
news police station นำเสนอประวัติหน่วยสยบไพรี บช.ปส.
กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดถูกก็ตั้งขึ้นมาตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจกระทรวงมหาดไทย(ฉบับที่ 18 พ.ศ.2535)ในยุคที่ พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ ยังดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจต่อมาพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวได้ถูกยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาแบ่งเป็นส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยพ.ศ. 2539 ทำให้โครงสร้างหน่วยงานในสังกัดถูกพัฒนาไปเรือยตามความเหมาะสมของวิกฤติการณ์ยาเสพติดที่เข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทย
ปัจจุบันกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด หรือ บช.ปส.รับหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักที่มีขีดความสามารถในการปราบปรามเฝ้าระวังและป้องกันปัญหายาเสพติดทั่วราชอาณาจักรภายใต้การบริหารงานของ พล.ต.ท.สมหมาย กองวิสัยสุข ผบช.ปส.คนปัจจุบันซึ่งควบคุมดูแลกำลังพลที่มีอยู่ในเครือข่ายจำนวน7กองบัญชาการและ 1 กองกำกับการประกอบด้วยกองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 1-4,กองบังคับการอำนวยการ,กองบังคับการข่าวกรองยาเสพติด กองบังคับการสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติดและกองกำกับการปฎิบัติการพิเศษ

ที่ผ่านมาภารกิจการต่อสู้กับกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดขนาดใหญ่ซึ่งมีทั้งกองกำลังและอาวุธหนักคอยอาศัยช่องว่างตามพื้นที่ตะเข็บชายแดนทั่วประเทศลำเลียงยานรกเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น ถือเป็นเรื่องท้าทายความสามารถของ ผบช.ปส.ทุกยุคทุกสมัยเนื่องจากเมื่อประมาณเกือบ 20 ปีที่แล้วหลังกองบัญชาการถูกก่อตั้งขึ้นมาใหม่ยังไม่มีหน่วยปฏิบัติการพิเศษเป็นของตัวเอง จึงต้องประสานงานขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นๆโดยเฉพาะตำรวจตระเวนชายแดนจากค่ายนเรศวร ซึ่งถือเป็นกำลังรบหลักที่ร่วมต่อสู้เข้าจับกุมบรรดานักค้ายาเสพติดเคียงบ่าเคียงไหล่กันมาแทบทุกงาน
แต่เนื่องจากการประสานงานขอความร่วมมือต่อกันเป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะอยู่กันคนละกองบัญชาการ ในบางครั้งเจ้าหน้าที่ บช.ปส. ก็ไม่สามารถรอกำลังเสริมจากพลร่มค่ายนเรศวรได้ และเมื่อจำเป็นต้องตัดสินใจเข้าจับกุมก็ถูกคนร้ายตอบโต้จนเกิดความเสียหายทั้งชีวิตเจ้าหน้าที่ซึ่งถือเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ไม่สามารถประเมินค่าได้ นอกจากนี้หลายครายังเคยพลาดพลั้งทำคนร้ายร้ายสำคัญหลุดมือไปพร้อมของกลางยาเสพติดล็อตใหญ่
ด้วยเหตุนี้เมื่อปีพ.ศ. 2543 พ.ต.อ.อดิเทพ ปัญจมานนท์ รอง ผบก.ปส. 1 (ชื่อยศและตำแหน่งในขณะนั้น)จึงตัดสินใจทำเรื่องเสนอผู้บังคับบัญชา เพื่อขอเปิดโครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพด้านการรบ ไว้ใช้สำหรับภารกิจการจับกลุ่มลุยกวาดล้างปราบปรามแก๊งนักค้ายาเสพติดโดยเฉพาะ จนเป็นที่มาของชุด ปฏิบัติการพิเศษ บช.ปส.ภายใต้ชื่อหน่วย”สยบไพรี” อันเป็นชื่อที่สมเด็จพระสังฆราชฯ พระราชทานนามให้ตั้งแต่บัดนั้น
กก. ปฏิบัติการพิเศษ บช.ปส.(สยบไพรี) มีตราสัญลักษณ์ประจำหน่วยเป็นรูปนกอินทรีสยายปีกทำท่าเหินเวหา ปากคาบอาวุธปืนเอ็ม 16 พร้อมดาบปลายปืน ในกงเล็บ มือถือประกายสายฟ้า สำหรับความหมายขององค์ประกอบตราสัญลักษณ์แต่ละชิ้นนั้น นกอินทรีหมายถึงสัตว์ที่เป็นราชาบนท้องฟ้าทรงอำนาจดุดันมีสายตาอันเฉียบคม อาวุธปืนเอ็ม 16 หมายถึงอาวุธหนักประจำหน่วยที่มีขีดความสามารถทำล้ายล้างศัตรูสูง ดาบปลายปืนหมายถึงอาวุธที่ใช้สู้รบในระยะประชั้นชิดได้อย่างคล่องตัว และสายฟ้าหมายถึงความรวดเร็วเด็ดขาดหนักแน่นเมื่อต้องต่อกรกับศัตรู

หลังรับการอนุมัติโครงการในยุคแรกได้ทำการคัดเลือกกำลังพลที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนสังกัด บก.ปส.1 และ บก.ปส.2 จำนวน 34 รายแบ่งเป็นสัญญาบัตร 4 นายและชั้นประทวนอีก 30 นาย เข้ารับการฝึกเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษหลักสูตรเร่งรัดจากกองพันปฏิบัติการพิเศษที่ 2 กรมปฏิบัติการพิเศษอากาศโยธิน กอง ทัพอากาศ จนทำให้ตำรวจปราบปรามยาเสพติดทั้ง 34 นาย เป็นหน่วยปฏิบัติการพิเศษ”สยบไพรี” มีหน้าที่สนับสนุนเจ้าหน้าที่สืบสวนหลักรวมถึงเป็นกำลังหลักที่ปฎิบัติหน้าที่เข้าจับกุมคนร้ายในภารกิจที่มีความเสี่ยงสูงตามภูมิประเทศต่างๆ
แม้จะผ่านการฝึกฝนจากหลักสูตรเร่งรัดแต่ทุกหัวข้อการเคี่ยวเข็ญของครูฝึกคอมมานโดชั้นยอดสังกัดกองทัพอากาศก็ดำเนินไปด้วยความเข้มข้นโดยเฉพาะการพัฒนาความสามารถให้กำลังพล”หน่วยสยบไพรี” มีศักยภาพสูงด้านการรบรูปแบบต่างๆอาทิ การใช้อาวุธเชิงยุทธวิธี การรบระยะประชิด(ภายในอาคาร)การซุ่มโจมตี การตีโอบ การเข้าสนับสนุนการปฏิบัติของหน่วยกำลังหลัก การใช้ชุดพลแม่นปืน การใช้ชุดจู่โจม การรบแบบหน่วยทหารขนาดเล็ก การอารักขาบุคคลสำคัญ การรบในเวลากลางวันและกลางคืน การรบภาคป่าและภาคเมือง การสนับสนุนทางอากาศ การใช้เชือกลงทางดิ่งการร่นถอย การโจมตีจากภาคน้ำฯลฯ

ที่สำคัญหลังจากที่”หน่วยสยบไพรี” ชุดแรกผ่านการฝึกฝนจนจบหลักสูตรตั้งแต่พ.ศ. 2543 แล้วในทุกๆปียังได้มีการสลับสับเปลี่ยนกำลังพลจาก บก. อื่นๆ เพื่อส่งเข้ารับการฝึกร่วมกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษชั้นหัวกะทิของเมืองไทยและต่างประเทศอีกมากมายอาทิ กองพันปฏิบัติการพิเศษที่ 2 กลุ่มปฏิบัติการพิเศษอากาศโยธิน กรมรบพิเศษที่ 5 กองบัญชาการสงครามพิเศษกองทัพบก กองบัญชาการฝึกกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน,กองพันที่ 1-3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ กองทัพบก ศูนย์สงครามพิเศษ กองบัญชาการชาการสงครามพิเศษกองทัพบก, หน่วย DEA ซึ่งเป็นหน่วยรบพิเศษด้านการปราบปรามยาเสพติดของประเทศสหรัฐอเมริกา และส่งหน่วยไปยังประเทศอิสราเอลเพื่อฝึกเพิ่มเติมกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษของอิสราเอล
จนกระทั่งการฝึกร่วมครั้งล่าสุดของประจำปีพ.ศ. 2556 ตามวงรอบการทบทวนครั้งนี้จะมีการฝึกร่วมกับ หน่วยนักทำลายใต้น้ำจู่โจม หรือ หน่วยซีล ของกองทับเรือ ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติการสงครามพิเศษทางเรือของกองทัพเรือ หน่วยนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นหน่วยนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นหน่วยที่มีความสามารถสูงสามารถรบได้ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ จึงเป็นการฝึกที่เข้มข้นอีกหลักสูตรหนึ่งเช่นกัน ซึ่งจะทำให้หน่วยปฏิบัติการพิเศษ สยบไพรี ของ บช.ปส. มีความแข็งแกร่งและมีขีดความสามารถที่จะต่อสู้กับกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป..

ภาพข่าว ญาณกวี,ฟ้าใส ทะเลหมอก,บังโจ้,ชายวัฒน์ news police station รายงาน

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link