การประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ ๓๙ ภายใต้แนวคิด “การมุ่งไปสู่ประชาคมที่เข้มแข็งโดยมีนวัตกรรมนำ”

การประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ ๓๙ ภายใต้แนวคิด “การมุ่งไปสู่ประชาคมที่เข้มแข็งโดยมีนวัตกรรมนำ”

การประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ ๓๙ ระหว่างวันที่ ๓ -๗ กันยายน ๒๕๖๑ ณ สาธารณรัฐสิงค์โปร์ ภายใต้แนวคิด “การมุ่งไปสู่ประชาคมที่เข้มแข็งโดยมีนวัตกรรมนำ” ในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๑ คณะกรรมาธิการต่าง ๆ ทั้งคณะกรรมาธิการด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านกิจการสมัชชารัฐสภาอาเซียน ซึ่งคณะกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจ นำโดยหัวหน้าคณะผู้แทนไทย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คือ นางสาวอรจิต สิงคาลวณิช นางเสาวณี สุวรรณชีพ และรองศาสตราจารย์สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ได้เข้าร่วมประชุม ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบในร่างข้อมติดังนี้
๑. ร่างข้อมติว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการไหลเวียนของข้อมูล ข้ามพรมแดนในอาเซียน เน้นการสร้างความปลอดภัยในการทำธุรกรรม บทบาทของนิติบัญญัติในการสร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม การเสนอเศรษฐกิจดิจิทัล และการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ให้ผู้ประกอบการมีความสามารถในการแข่งขันและโอกาสในการแข่งขันตลาดโลกมากขึ้น
๒. ร่างข้อมติว่าด้วยการสนับสนุนนวัตกรรมและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกทบทวนกฎหมายภายในประเทศและสนับสนุนความจำเป็นในการเชื่องโยงทางดิจิทัลและโครงสร้างพื้นฐาน การกำหนดนโยบายที่เอื้อผู้ประกอบการรายใหม่ การพัฒนากฎหมายการค้าอิเลคทรอนิกส์ และการลดอุปสรรคต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างการเชื่อมโยงเศรษฐกิจดิจิทัลระดับภูมิภาค
๓. ร่างข้อมติว่าด้วยการรวมตัวทางเศรษฐกิจให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น เรียกร้องให้ดำเนินการตามเป้าหมายการเปิดตลาดการค้าเสรีอาเซียน การเรียกร้องให้รัฐสภาประเทศสมาชิกกระตุ้นให้รัฐบาลของแต่ละประเทศให้ความสำคัญกับภาคบริการ การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ให้พิจารณาข้อจำกัดด้านกฎหมายที่ขัดขวางและกีดกันทางการค้า การสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การลดค่าใช้จ่ายกับการลดกฎระเบียบทางศุลกากร การอำนวยความสะดวกผ่าน National Single Window และ ASEAN Single Window
๔. ร่างข้อมติว่าด้วยแนวทางปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ดีในการรวมตัวทางเศรษฐกิจ ของอาเซียน (เมียนมา) สำหรับร่างข้อมติแนวทางการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ดี จะส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนปฏิบัติตามพันธกรณีเศรษฐกิจอาเซียนและวิสัยทัศน์ของประชาคมอาเซียน 2025 การสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามแนวทาง GRP เพื่อให้กฎระเบียบมีคุณภาพสูง การสนับสนุนการเจรจาความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค (RCEP) เป็นต้น
๕. ร่างข้อมติว่าด้วยความพยายามระดับภูมิภาคในการจัดการกับผลกระทบของความตึงเครียดทางการค้าระดับโลกระหว่างประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ (อินโดนีเซีย)

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link