“ผ้าทอมัดหมี่ย้อมครามบ้านดงยาง”อัตลักษณ์ชุมชน OTOP นวัตวิถี สร้างเศรษฐกิจชุมชนพร้อมพัฒนาสู่ตลาดทั่วไทย” ภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นอีสาน”เยี่ยมเตรียมนำมาพัฒนาให้มีลายผ้าที่สวยงามเป็น”เอกลักษณ์ของเมืองอุดรธานี”

“ผ้าทอมัดหมี่ย้อมครามบ้านดงยาง”อัตลักษณ์ชุมชน OTOP นวัตวิถี สร้างเศรษฐกิจชุมชนพร้อมพัฒนาสู่ตลาดทั่วไทย”ภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นอีสาน”เยี่ยมเตรียมนำมาพัฒนาให้มีลายผ้าที่สวยงามเป็น”เอกลักษณ์ของเมืองอุดรธานี”

วันอังคารที่ 18 กันยายน 2561 ณ กลุ่มทอผ้ามัดหมี่ย้อมครามบ้านดงยาง-พรพิบูลย์ ต.บ้านแดง อ.พิบูลย์รักษ์ จ.อุดรธานี ดร.องอาจ วิเศษ ประธานเครือข่ายภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นอีสาน ผศ.ดร.อานนท์ แสนนาน ผอ.มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย และ คุณบุณณดา เลาหะดิลก รองประธานเครือข่ายภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นอีสาน พร้อมคณะได้เดินทางไปเยี่ยมชมกิจกรรมการทอผ้ามัดหมี่และย้อมครามสีธรรมชาติของ “กลุ่มทอผ้ามัดหมี่ย้อมครามบ้านดงยาง-พรพิบูลย์” โดยมี คุณแม่สมร คำเศษ ครูช่างศิลปหัตถกรรม ประเภทเครื่องทอ (ผ้ามัดหมี่ย้อมคราม) พร้อมคณะให้การต้อนรับและนำชมกิจกรรมการทอผ้ามัดหมี่ย้อมครามจากสีธรรมชาติ ปลอดสารเคมี

ลมหายใจแห่งผ้ามัดหมี่ย้อมคราม “แม่สมร คำวิเศษ” ผู้เป็นตำนานผ้าทอลายกุหลาบโบราณ OTOP ระดับ 5 ดาว@ชุมชนท่องเที่ยวOTOPนวัตวิถี บ้านดงยาง-พรพิบูลย์ ต.บ้านแดง อ.พิบูลย์รักษ์ จ.อุดรธานี ได้เล่าให้ฟังว่า เดิมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดงยาง หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านแดง จัดตั้งเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2525 มีสมาชกเริ่มจัดตั้ง 27 คน ต่อมาประชากรเพิ่มขึ้น การปกครอง การดูแลเอาใจใส่ของผู้นำหมู่บ้านดูแลไม่ทั่วถึงจึงได้แยกหมู่บ้านพรพิบูลย์ออกจากบ้านดงยาง เป็นหมู่บ้านพรพิบูลย์ หมู่ที่ 15 ตำบลบ้านแดง และปัจจุบัน มีสมาชิกกลุ่มทอผ้า เพิ่มขึ้นเป็น จำนวน 75 คน มีที่ทำการกลุ่มตั้งอยู่ที่ “ศูนย์แสดงผลิตภัณฑ์ผ้ามัดหมี่ย้อมคราม” หมู่ที่ 15 ตำบลบ้านแดง อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี สมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา อาชีพเสริมเพิ่มรายได้ คือ หัตถกรรมสิ่งทอจากผ้าฝ้ายมัดหมี่ย้อมครามธรรมชาติ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษหลายชั่วคน

ในปี 2541 หน่วยงานภาคราชการ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพิบูลย์รักษ์ สำนักงานเกษตรอำเภอพิบูลย์รักษ์ ได้เข้าไปแนะนำในเรื่องการบริหารจัดการกลุ่ม กลุ่มจึงได้มีการระดมหุ้นเพื่อเป็นกองทนในการบริหารจัดการกลุ่ม หุ้นละ 100 บาท โดยดำเนินการทอผ้าที่ใต้ถุนบ้านตนเอง เนื่องจากยังไม่มีศูนย์รวม หรือที่ทำการเป็นของกลุ่ม แต่จะมีกรรมการฝ่ายผลิต และฝ่ายควบคุมคุณภาพ ออกติดตามและให้คำแนะนำตลอดเวลา เพื่อให้ได้ผ้าที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด และในปี 2542 กรมส่งเสริมการเกษตร ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นทุนในการดำเนินงานอีก จำนวน 100,000 บาท ซึ่งในช่วงนี้เอง ทำให้สมาชิกกลุ่มทุกคนได้มีเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น การผลิตผ้าทอก็เพิ่มมากขึ้น จนทำให้ผ้าทอไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ก็ยังจำหน่ายให้กับพ่อค้าชาวหนองคาย และนาข่าเหมือนเดิม

ผ่านเลนส์ 005~รายงาน

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link