ประธานศาลฎีกาเป็นประธานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ในนามศาลยุติธรรมและสํานักงานศาลยุติธรรม ประจําปี 2561

้วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน 2561) เวลา 14.00 น.

ประธานศาลฎีกาเป็นประธานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
ในนามศาลยุติธรรมและสํานักงานศาลยุติธรรม ประจําปี 2561
นายชีพ จุลมนต์ประธาน
ศาลฎีกา เป็นผู้แทนพระองค์อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจําปี 2561 ทอดถวายพระภิกษุ
ซึ่งจําพรรษา ณ วัดอินทรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยมีนายสราวุธ
เบญจกุล เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารศาลยุติธรรมและผู้บริหารสํานักงาน
ศาลยุติธรรม ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ร่วมพิธีเป็นจํานวนมาก
สําหรับพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานดังกล่าว ศาลยุติธรรมได้รับพระราชทานผ้าพระกฐิน
น้อมถวายพระสงฆ์จําพรรษากาลถ้วนไตรมาส พร้อมถวายจตุปัจจัยเป็นเงิน 2,932,233.04 บาท
ให้แก่วัดอินทรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการส่งเสริม
ทํานุบํารุงพระพุทธศาสนา บูรณะพระอารามกับถวายพระภิกษุสามเณร และมอบเงินให้แก่มูลนิธิ
โรงเรียนวัดอินทรวิหาร จํานวน 100,000 บาท
ทั้งนี้วัดอินทรวิหาร เป็นวัดอารามหลวง ชั้นตรีชนิดสามัญ เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นสมัย
กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประมาณปีพ.ศ. 2295 ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง อุโบสถแต่เดิมแบบเตาเผาปูน
กุฏิฝากระแชงอ่อน เดิมชื่อ “วัดไร่พริก” เพราะเป็นวัดที่ปลูกอยู่ใกล้สวนผักของชาวจีน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น
“วัดบางขุนพรหม” ตามชื่อของหมู่บ้านซึ่งมีขุนพรหมเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน ต่อมา สมัยกรุงธนบุรี
ประมาณปีพ.ศ. 2321 พระเจ้าสิริบุญสารผู้ครองนครศรีสัตนาคนหุต ได้ยกกองทัพรุกรานมาถึง
บ้านดอนมดแกง (จังหวัดอุบลราชธานีปัจจุบัน) ได้จับพระลอ ผู้ซึ่งสวามิภักดิ์ในพระบรมโพธิสมภาร
ของพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้วทําการประหารเสีย เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบก็ทรงขัดเคืองพระทัย
จึงโปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพ พร้อมด้วยพระสุรสีห์กรีฑาทัพขึ้นไป
ปราบปรามและสามารถตีเมืองเวียงจันทน์แตก ส่วนพระเจ้าสิริบุญสารได้ลี้ภัยไปอาศัยในแดนญวน
ภายหลังเสร็จศึกสงคราม สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้นําตัวเจ้าอินทวงศ์โอรสในพระเจ้า
สิริบุญสารลงมากรุงธนบุรีด้วย และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอินทวงศ์และคณะพํานักตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่
ณ บริเวณตําบลไร่พริก (แขวงบางขุนพรหมปัจจุบัน) เจ้าอินทวงศ์มีศักดิ์เป็นน้าชายของเจ้าน้อยเขียว
เจ้าเมืองเวียงจันทน์ธิดาคนหนึ่งของเจ้าอินทวงศ์นามว่า เจ้าทองสุก กับเจ้าน้อยเขียว ได้เป็น พระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต่อมาเจ้าอินทวงศ์ได้มีศรัทธาดําเนินการ
บูรณปฏิสังขรณ์เปลี่ยนแปลงรูปทรงอุโบสถ ก่ออิฐถือปูนเป็นแบบที่ยังปรากฏอยู่ทุกวันนี้และสร้าง
ศาลาพร้อมกับขุดคลองเหนือใต้ และด้านหลังวัด เมื่ออารามมีความมั่นคงดีแล้ว จึงอาราธนา
ท่านเจ้าคุณอรัญญิกเถร (ด้วง) ผู้เรืองในวิปัสสนาธุระและใจดีมาช่วยเป็นธุระในกิจการของสงฆ์
และถือเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกที่มีหลักฐานปรากฏยืนยัน ในแผ่นดินรัชกาลที่ 3 พระองค์เจ้าอินทร์
ในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถซึ่งยังคงปรากฏมาจนปัจจุบัน
ครั้นถึงแผ่นดินในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ตัดถนนผ่านกลางวัดบางขุนพรหม
วัดบางขุนพรหม จึงกลายเป็น 2 วัด คือ วัดบางขุนพรหมนอก (วัดใหม่อมตรสปัจจุบัน) และ
วัดบางขุนพรหมใน (วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวงปัจจุบัน) เนื่องจากอยู่ภายในเขตวังเทวะเวสม์
ที่พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ (จึงเรียกชื่อว่า “วัดบางขุนพรหมใน”)

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link