พร้อมแล้วสำหรับการให้บริการ ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านสาหร่าย เปิดอาคารใหม่โชว์สื่อครั้งแรก

ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านสาหร่ายเปิดตัวพร้อมเป็นผู้นำในอาเซียน
พร้อมแล้วสำหรับการให้บริการ ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านสาหร่าย เปิดอาคารใหม่โชว์สื่อ ครั้งแรก พาเยี่ยมชมกระบวนการเพาะเลี้ยงแบบครบวงจร ที่พร้อมจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ประเทศด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ
ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านสาหร่าย / เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2561 ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้าน สาหร่าย หรือ TISTR ALGAL EXCELLENT CENTER จัดพิธีเปิดอาคารศูนย์ความเป็นเลิศ ทางด้านสาหร่าย โดยมี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.อภิชัย สมบูรณ์ปกรณ์ เป็นประธาน พร้อมทั้งเปิดบ้านพาสื่อมวลชนและผู้ร่วมงานชมเทคโนโลยีการ ดำเนินงานแบบครบวงจร ชมสาหร่ายน้ำจืดและน้ำเค็มจากแหล่งต่างๆทั่วประเทศ พร้อมทั้งจัดทำ ฐานข้อมูลกว่า 1,000 สายพันธุ์ ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยง วิเคราะห์ ทดสอบ และอ่างเพาะเลี้ยง สาหร่ายขนาดใหญ่ ยกระดับการวิจัยและพัฒนา

ดร.ชุติมา เอียมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (วว) กล่าวว่า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย วว. (TISTR Algal Excellent Center, TISTR ALEC) เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2557 จนถึงปี พ.ศ. 2561 ภายใต้โครงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้าน สาหร่าย มีเป้าหมายเป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่ายเพื่อพัฒนาทรัพยากรชีวภาพด้านสาหร่าย พร้อมทั้งด้าเนินการวิจัย พัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี การ ผลิตผลิตภัณฑ์ กระบวนการ/เทคโนโลยี นวัตกรรม และการบริการที่เกี่ยวข้องกับ สาหร่ายแก่ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ มุ่งเน้นการผลิตชีวมวลสาหร่ายเพื่อเป็น วัตถุดิบ (feedstock) ในการน้าไปใช้ประโยชน์ด้านเกษตร อาหาร เภสัช สิ่งแวดล้อม และพลังงานอย่างยั่งยืน เป็นที่ยอมรับในระดับอาเซียน
กำหนดวัตถุประสงค์การด้าเนินงาน ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพื้นฐานด้านสาหร่าย พร้อมทั้งด้าเนินการ วิจัย พัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ/เทคโนโลยี นวัตกรรม และการบริการ ที่เกี่ยวข้อง กับสาหร่ายแก่ภาคเอกชน หรือผู้สนใจจาก ภาคส่วนต่างๆ
2. ยกระดับเสริมสร้างความแข็งแกร่งในด้านการวิจัย พัฒนา การผลิตพลังงาน และผลิตภัณฑ์ มูลค่าสูงจากสาหร่ายแก่ภาคเอกชนผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้/ เทคโนโลยี/ กระบวนการ การอบรม ปฏิบัติงานร่วม (on-the-job training) ทั้งที่ วว. และ ณ สถานที่ของเอกชน ด้วยกระบวนการเป็นพี่เลี้ยง (mentoring system)
3. การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องผ่านการลงทุนวิจัย พัฒนาด้านสาหร่าย และผ่านการนำ ผลงานวิจัย พัฒนาที่ได้ไปใช้ในการผลิตในเชิงพาณิชย์ ตลอดการด้าเนินงานที่ผ่านมา มีตัวอย่าง ความสำเร็จด้านสาหร่ายของ วว. ดังนี้
• ด้านอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสาหร่ายอย่างยั่งยืนโดยการจัดตั้ง คลังสาหร่าย วว. ณ เทคโนธานี เป็นการด้าเนินงานตามอนุสัญญาว่าด้วยความ หลากหลายทางชีวภาพ (Convention Biological Diversity, CBD) ที่ว่าด้วย การอนุรักษ์นอกถิ่นก้าเนิด (ex situ conservation) และใช้ประโยชน์อย่าง ยั่งยืน (sustainable utilization)
• ด้านการวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชน
• ด้านงานบริการ (มีลูกค้าขอรับบริการจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ) ได้แก่ การทดสอบผลิตภัณฑ์สีอิมัลชันทาภายนอกที่ทนทานต่อสาหร่าย บริการวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบด้านสาหร่าย และสารพิษจากสาหร่าย (การประปานครหลวง) เป็นต้น
• งานบริการวิจัยตามความต้องการของภาคเอกชน เช่น ร่วมงานบริการวิจัยกับ ปตท. บริษัท เดนโซ่ คอร์ปอเรชั่น ไอเอชไอ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น มาลี สามพราน บางจาก ปตท.สผ. เป็นต้น

“ด้วยศักยภาพการใช้ประโยชน์จากสาหร่ายในด้านต่างๆ และความพร้อมของ วว. ในการด้าเนินงานด้านสาหร่ายน้ำจืดและน้ำเค็มขนาดเล็กอย่างครบวงจร มีผลงานและ ได้รับความเชื่อถือจากภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศดังกล่าวข้างต้น และการ พัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากฐานทรัพยากรชีวภาพสาหร่ายจากศักยภาพที่มีอยู่ ตอบ สนองความต้องการของภาคเอกชน บัดนี้ วว. โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่ายมี ความพร้อมเป็นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนการยกระดับงานวิจัย พัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี และบริการด้านสาหร่าย อย่างครบวงจรกับทุกภาคส่วน” ดร.ชุติมา กล่าว

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link