พล.ต.ธนาธิป สว่างแสง โฆษก กอ.รมน. เผยว่า กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) การประชุม หน่วยขึ้นตรง กอ.รมน. ครั้งที่ 1/2562

พล.ต.ธนาธิป สว่างแสง โฆษก กอ.รมน. เผยว่า กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) การประชุม หน่วยขึ้นตรง กอ.รมน. ครั้งที่ 1/2562

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม 62 เวลา 13.30 น. พล.ต.ธนาธิป สว่างแสง โฆษก กอ.รมน. ได้เปิดเผยว่ากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้จัดการประชุมหน่วยขึ้นตรง กอ.รมน. ครั้งที่ 1/2562 เป็นการประชุมสรุปผลการปฏิบัติงานในรอบเดือนที่ผ่านมา โดยมีผู้บังคับหน่วยขึ้นตรงของ กอ.รมน. (ส่วนกลาง) และผู้แทนของ กอ.รมน.ภาค 1 – 4 เข้าร่วมประชุมฯ บริเวณชั้น 3 อาคารรื่นฤดี กอ.รมน. โดยมี พล.อ.ธีรวัฒน์ บุณยะวัฒน์ เลขาธิการ กอ.รมน. เป็นประธานการประชุมฯ สรุปเรื่องที่สำคัญ ดังนี้
เรื่องแรก คำประกาศเจตจำนงสุจริตของผู้บริหารสูงสุด กอ.รมน. และมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของ กอ.รมน.
คำประกาศฯ ของผู้บริหารสูงสุด กอ.รมน. และมาตรการฯ การดำเนินงานของ กอ.รมน.ดังกล่าว เพื่อแสดงถึงเจตจำนงของผู้บริหารของ กอ.รมน. ที่มุ่งเน้นส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของ กอ.รมน. และเจตนารมณ์ในการดำเนินงานให้ กอ.รมน. เป็นหน่วยงานปลอดจากทุจริตอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม ดังนี้
ประกาศเจตจำนงสุจริตของผู้บริหารสูงสุด กอ.รมน.
“กอ.รมน.เป็นหน่วยงานที่มีการส่งเสริมคุณธรรมในการปฏิบัติงานทุกระดับ ให้มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน มีมาตรการในการป้องกันปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจัง การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในทุกระดับ ต้องปรามจากการทุจริตและประพฤติมิชอบ มิฉะนั้นจะต้องถูกลงโทษทั้งทางวินัยและทางกฎหมาย มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของ กอ.รมน.
1. ด้านความโปร่งใส : โดยพัฒนาระบบการรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ แก้ไขข้อร้องเรียน ร้องทุกข์ให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างของ กอ.รมน. ให้มีความโปร่งใส ปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน
2. ด้านความพร้อมในการปฏิบัติงาน : ให้ยึดถือหลักกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งและระเบียบการปฏิบัติงานของทางราชการ พร้อมทั้งให้ดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หลักการ แนวคิดเกี่ยวกับการต่อต้านทุจริต และให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ทับซ้อนให้แก่บุคลากรภายใน กอ.รมน.
3. ด้านความปลอดจากทุจริตในการปฏิบัติงาน : โดยจัดทำและเผยแพร่เจตจำนงสุจริต และมาตรการส่งเสริมความโปร่งใสของ กอ.รมน.ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามแนวทาง
ที่กำหนดไว้ อันเป็นประโยชน์ให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใสปลอดจากทุจริต
4. ด้านวัฒนธรรมองค์กร : โดยจัดทำแผนป้องกันการทุจริตของ กอ.รมน. ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 เพื่อกำหนดแนวทางในการป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการเอื้อประโยชน์ให้กับตนเองหรือบุคคลอื่น เจ้าหน้าที่ทุกระดับต้องไม่รับของขวัญ ของกำนัล ที่มีมูลค่าหรือคิดเป็นมูลค่าเกินสามพันบาท
5. ด้านคุณธรรม : การทำงานในหน่วยงาน โดยจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐาน
ให้เจ้าหน้าที่ในการดำเนินงาน รวมทั้งบริการงานบุคลากรอย่างเป็นธรรม เปิดโอกาสให้บุคลากรในหน่วยมีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุงนโยบาย และกระบวนการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน
6. ด้านการสื่อสารภายในหน่วยงาน : โดยจัดให้มีกระบวนการหรือวิธีการในการถ่ายทอดเจตจำนงสุจริตของผู้บริหารและมาตรการทั้ง 6 ด้าน ให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรับทราบ เพื่อให้เกิดความตระหนัก และให้ความสำคัญถึงการปฏิบัติที่มีคุณธรรมความโปร่งใส
เรื่องที่สอง การเตรียมประชุมคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ตามมติ ครม. ได้มีมติ เมื่อวันที่ 20 พ.ย.61 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ในเขตพื้นที่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี, อำเภอจะนะ, อำเภอนาทวี, อำเภอเทพา, อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา, อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.61 – 30 พ.ย.62 และมติ ครม.เมื่อวันที่ 15 ม.ค.62 เห็นชอบให้เขตพื้นที่อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ระหว่าง 15 ม.ค.62 – 30 พ.ย.62 ทั้งนี้ ให้ใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติตามกฎหมายทดแทน และมอบหมายให้ กอ.รมน. เป็นผู้รับผิดชอบจัดทำแผนปฏิบัติการเสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เพื่อให้ความเห็นชอบ โดยจะกำหนดประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาความเห็นชอบและอนุมัติต่อไป
เรื่องที่สาม การช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนประมงพื้นบ้าน
จากข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีในการประชุม ครม.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 8 ม.ค.62 ได้แจ้งที่ประชุมฯ เกี่ยวกับการเดินทางไปช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อน “ปาบึก” ในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งพบว่าประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน มีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก จึงได้มีบัญชาให้กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงกลาโหม (เหล่าทัพ) พิจารณาดำเนินการช่วยเหลือ และบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ที่พักอาศัย สภาพความเป็นอยู่ และอื่นๆ โดยทันที เพื่อให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เลขาธิการ กอ.รมน. ได้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการช่วยเหลือฯ ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 15 ม.ค.62, 13.30 ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารรื่นฤดี โดยการประชุมฯ ได้จัดทำแบบสำรวจฯ ให้กับชาวประมงพื้นบ้าน โดยให้ กอ.รมน.ภาค 1 และ กอ.รมน.ภาค 4 รวมทั้ง กอ.รมน.จังหวัด (ชายทะเล) 22 จังหวัด นำไปรวบรวมข้อมูล (การรวมกลุ่มประกอบอาชีพในลักษณะวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ และความต้องการช่วยเหลือด้านอื่นๆ ) เพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์ และเตรียมรับการช่วยเหลือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องภายในวันพฤหัสบดีที่ 31 ม.ค.62 และวันพฤหัสบดีที่ 28 ก.พ.62
เรื่องที่สี่ การกำหนดมาตรการควบคุมการประกอบการธุรกิจรับ-ส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์
ตามที่ ผู้บัญชาการทหารบก/เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ/
รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ได้เป็นประธานการประชุมผู้บริหารบริษัท, ผู้ประกอบการธุรกิจรับ-ส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ และขอความร่วมมือในการกำหนดมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบค้ายาเสพติด และการกระทำผิดกฎหมายอื่นๆ เมื่อวันอังคารที่ 15 ม.ค.62, 0900 ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารรื่นฤดี กอ.รมน. จากผลการประชุมได้สั่งการให้ กอ.รมน. ดำเนินการ ดังนี้
1. จัดตั้งศูนย์รับแจ้งการตรวจพบยาเสพติดหรือสิ่งผิดกฎหมาย เพื่อรับแจ้งจากบริษัทฯ ในการดำเนินการต่อยาเสพติด หรือสิ่งผิดกฎหมาย จะให้ความสำคัญเร่งด่วนในเรื่องยาเสพติด
เป็นอันดับแรก ตามนโยบายของรัฐบาล และพิจารณาใช้เครื่องมือที่มีอยู่ดำเนินการ แยกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะเร่งด่วน : การใช้สายด่วน 1386 ของสำนักงาน ปปส. ปัจจุบันอยู่ในการหารือในรายละเอียดการดำเนินงานระหว่าง กอ.รมน. กับ ปปส.
ระยะต่อไป : การใช้สายด่วนความมั่นคง 1374 ของ กอ.รมน. ปัจจุบันสายด่วน 1374 อยู่ในระหว่างการพัฒนาระบบเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้ง กอ.รมน.(ส่วนกลาง), กอ.รมน.ภาค และ กอ.รมน.จังหวัด
2. ขอความร่วมมือจากบริษัทฯ ในการติดตั้งระบบ CCTV และตรวจบัตรประชาชนของผู้ใช้บริการ ณ จุดรับบริการ ซึ่งต้องแจ้งให้ผู้ที่ใช้บริการรับทราบด้วย การขอให้ผู้ใช้บริการมาบรรจุหีบห่อสิ่งของ ณ จุดรับบริการ เพื่อจะได้ทราบว่าเป็นสิ่งของประเภทใด และการติดตามสิ่งของระหว่างการขนส่ง อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องมีการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีสภาพการบังคับใช้แก่บริษัทฯ และหารือกับบริษัทฯ เพื่อให้เกิดการยอมรับในภาคการปฏิบัติ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินการ และมาตรการที่เหมาะสมต่อไป

ผ่านเลนส์ 005-รายงาน

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link