ปทุมธานี กรีนพีชเสนาปัญหาฝุ่นพิษทำลายชีวิตประชาชนเน้นทุกฝ่ายร่วมแก้ไขที่ต้นเหตุ

ปทุมธานี กรีนพีชเสนาปัญหาฝุ่นพิษทำลายชีวิตประชาชนเน้นทุกฝ่ายร่วมแก้ไขที่ต้นเหตุ
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2562 ที่มหาวิทยาลัยรังสิต ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี นางสาวจริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีชเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นายชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ กรรมการมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน และนางนุชนารถ แท่นทอง ที่ปรึกษาเครือข่ายสลัม4ภาค ร่วมเสวนาเรื่อง ไม่ยอมให้ฝุ่นพิษทำลายชีวิตประชาชน โดยมีนักศึกษาที่สนใจส่วนรับฟังจำนวน 200 คน
นายชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ กรรมการมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศได้ประสบปัญหาค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน ตั้งแต่ต้นปีนี้มาประชาชนต้องประสบปัญหานี้อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งการแก้ปัญหาและการจัดการของภาครัฐ ตนคิดว่ายังไม่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งปัญหานี้ก็จะกลับมาอีกทุกปี ในระยะยาวการแก้ไขปัญหานี้ร่วมกันเป็นสิ่งจำเป็น ที่สำคัญคือภาครัฐไม่มีความชัดเจนในการจัดการกับต้นเหตุที่มาของฝุ่นพิษ โดยแยกเป็นพิษพิษจำนวนมาก กับฝุ่นพิษที่ร้ายแรง ซึ่งฝุ่นพิษจำนวนมากมาจากการจราจร ส่วนฝุ่นพิษที่ร้ายแรงมีความเข็มค้นมากมักจะมาจากโรงงาน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมบางประเภท สิ่งที่เป็นรูปประธรรมมาที่สุดและยังไม่มีการจัดการคือเรื่องของการวัดค่าฝุ่นพิษจากปล่อยของโรงงาน ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ อาจจะใหญ่กว่าเรื่องของมาตรฐานที่ประเทศไทยเราตั้งไว้ต่ำกว่าต่างประเทศคือ ต่างประเทศมีมาตราฐานอยู่ที่ 25 ส่วนประเทศไทยเรา 50 ซึ่งที่มาของฝุ่นพิษที่มาจากโรงงานอุสาหกรรมโรงงานไฟฟ้าจากถ่านหิน นี้เป็นส่วนสำคัญที่จะสะท้อนให้คนในสังคมเมือง คนในชนบท ได้เข้าถึงถึงปัญหารวมกัน และเกิดการจัดการที่ถูกต้องและดีกว่าที่ผ่านมา
ด้าน นางนุชนารถ แท่นทอง ที่ปรึกษาเครือข่ายสลัม4ภาค กล่าวว่า ในส่วนของปประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ความจริงแล้วคนจนที่อยู่ในเมือง เป็นแรงงานสำคัญที่อาศัยอยู่ภายในเมือง ซึ่งจะหลีกเลี่ยงในการที่จะได้รับผลกระทบไม่ได้เลย เนื่องจากอาศัยกันอยู่ในชุมชนใกล้ถนนหนทางและแหล่งคมนาคมต่าง ๆ เกิดผลกระทบด้านสุขภาพจำนวนมาก คนที่ได้รับผลกระทบหนักเลยจะเป็นกลุ่มเด็ก คนชรา และผู้ป่วยติดเตียง รวมถึงคนทำงานที่มีอาชีพค้าขาย แรงงานที่เก็บขวาดถนน หรือแม้แต่คนเก็บของเก่า ในส่วนของการป้องกันฝุ่นละอองชาวบ้านทั่วไปไม่ค่อยได้คำนึงถึงสุขภาพแต่จะเป็นห่วงเรื่องของปากท้องเสียมากกว่า รู้ว่าฝุ่นละอองมีความอันตรายกลับบ้านมาเจ็บคอแสบตา ซึ่งการแก้ปัญหาเบื้องต้นก็ใช้แต่เพียงหน้ากากอนามัย แต่เมื่อทราบว่าหากจะป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กต้องใช้หน้ากากที่มีราคาแพงถึงจะป้องกันได้ ซึ่งชาวบ้านเองก็ไม่มีทางหลีกเลี่ยง โดยคนที่มีทางเลือกก็อยู่ภายในห้องแอร์มีเครื่องฟอกอากาศ แต่เราชาวบ้านธรรมดาไม่มีโอกาส ที่จะแก้ปัญหาแบบนั้น ทุกภาคส่วนควรจะร่วมกันแก้ปัญหานี้ด้วยกัน เนื่องจากที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐก็ไม่ได้เข้าไปดูการอยู่อาศัยของชาวชุมชน เราก็คิดว่าเรื่องนี้ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบน่าจะเป็นผู้ประกอบการร่วมถึงประชาชนที่มีการเผาขยะ ผู้ใช้รถยนต์ ควรจะมีส่วนรับผิดชอบ แนวทางที่สำคัญคือเจ้าภาพที่เป็นผู้ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ไม่ใช้ว่าเมื่อถึงเป็นเวลาเกิดปัญหาแต่ละภาคส่วนก็โยนความรับผิดชอบกันไปมา ไม่มีผู้รับผิดชอบที่แท้จริง ควรจะมีมาตราการณ์ขั้นเด็จขาด มีกฎหมายคุ้มครองเพื่อให้อากาศสะอาด เนื่องจากในอนาคตคาดว่าปัญหาฝุ่นละอองจะเกิดขึ้นเรื่อย ๆ และมากขึ้นทุกปี

ส่วน นางสาวจริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีชเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ปัญหาฝุ่นละอองเป็นปัญหาระดับโลกที่เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ประเทสไทยเองพึ่งจะมาตื่นตัวเมื่อผลกระทบมาเกิดขึ้นต่อหน้าตัวเอง เมื่อเราเห็นข้อมูลจากภาพรวมในระดับโลก คือ มลพิษในอากาศ PM2.5 ประชาชนมากกว่าร้อยละ 90 อยู่ท่ามกลางมลพิษทางอากาศ แล้วค่าที่เราหายใจเข้าไปเป็นค่าทีสูงกว่า ค่ามาตราฐานขององค์กรอนามัยโลกกำหนด ประชาชนมากกว่า 6,000 ล้านคน มีเด็กจำนวน 2ล้านคนทั่วโลกที่อาศัยอยู่ในเมืองที่มีมลพิษทางอากาศ และประชาชนประมาณ 7 ล้านคนที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากมลพิษทางอากาศ ปัญหามลพิษเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นและฝุ่นละอองได้มีการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายประเทศให้ความสำคัญในเรื่องของมลพิษข้ามพรมแดน หลังจากนี้หากเราไม่ร่วมกันแก้ไขปัญหานี้ เราเองก็จะจมอยู่กับปัญหามลพิษทางอากาศ ในส่วนของประเทศไทย ตัวเลขของเด็กในประเทศไทยเมื่อเทียบกับประชากร 100,000 คน เด็กของเราจะเสียชีวิตอยู่ที่ 3-6 คนต่อปี นี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับประทศไทย แต่เราไม่เคยเห็นเด็กเพราะเขาตัวเล็ก และเราไม่เคยเห็น PM2.5 เพราะเราไม่เคยเห็นปัญหาของมัน ส่วนใหญ่แล้วฝุ่นละอองมลพิษทางอากาศมาจากโรงงาน อุตสาหกรรม ภาคขนส่ง ภาคครัวเรือนเอง นอกจากนี้ยังมากับขยะและภาคเกษตร การเผาในที่โล่ง ซึ่งปัญหานี้จะเกิดขึ้นทุก ๆ ปี ขณะนี้รัฐบาลเองมีวาระที่จะเพิ่มเขตเศรษฐกิจของประเทศไทยอีกกว่า 10 แห่ง ไม่มีการพูดถึงการปล่อยมลพิษทางอากาศหรือฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เลย ไม่มีการศึกษาผลกระทบหากเกิดเขตเศรษฐกิจทั่งประเทศจะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศอย่างไร การใส่หน้ากาก การมีเครื่องฟอกอากาศ ถือเป็นปรายทางของการแก้ปัญหา เมื่อทราบว่ามลพิษเกิดมาได้อย่างไร ต้องแก้ไขปัญหาที่ต้นต่อเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด.
หมายเหตุ นางสาวจริยา 0816928978, นายชาญวิทย์ 0851451542, นางนุชนารถ 0854480796

อนันต์ ปทุมธานี

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link