ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิด ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (Industry Transformation Center 4.0

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิด ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (Industry Transformation Center 4.0 : ITC 4.0 )
ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๑๐ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2562 นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (Industry Transformation Center 4.0 : ITC 4.0) พร้อมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และแขกผู้มีเกียรติร่วมงานจำนวนมาก ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จ.สุราษฎร์ธานี

กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดตั้ง ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม หรือ Industry Transformation Center 4.0 (ITC4.0) เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม (SMEs) สามารถปรับโครงสร้างกระบวนการผลิตและการออกแบบผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ ผ่านกลไกของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม
(ITC 4.0) ด้วยนวัตกรรมและภูมิปัญญา (Value-Based Economy) เพื่อให้ประเทศไทยก้าวข้ามจาก
ผู้มีรายได้ปานกลางไปสู่ผู้มีรายได้สูง ทำให้ประเทศไทยมีความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ซึ่งการจัดตั้งศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมดังกล่าว เป็น 1 ใน 9 มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 ของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่

การขยายศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) ทั่วประเทศ ซึ่งจะให้บริการเครื่องจักรกลาง และพื้นที่ Co-Working Space เพื่อให้เอสเอ็มอีมีพื้นที่ในการพัฒนาสินค้าต้นแบบใหม่ๆ รวมทั้งการบริการที่ปรึกษาแนะนำเชิงลึก และเชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรสนับสนุนต่างๆ
ศูนย์สนับสนุนช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SME Support & Rescue Center: SSRC) ทำหน้าที่เป็น Front Desk บูรณาการที่ปรึกษา รับคำขอกู้เงิน แก้ไขปัญหาและส่งต่อเอสเอ็มอี โดยจะตั้งศูนย์ให้ได้ 270 แห่งทั่วประเทศที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ศูนย์บริการเอสเอ็มอี (OSS) ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ
Train The Coach หรือการสร้างโค้ช เพื่อส่งไปช่วยเหลือเอสเอ็มอี
SME Big Data โดยจัดทำข้อมูลประชากรเอสเอ็มอีของประเทศ ที่สามารถใช้วิเคราะห์โครงสร้างและสถานการณ์เอสเอ็มอีของประเทศผ่าน Data Analytic พร้อมสร้างช่องทางให้ SME เข้าถึงบริการของภาครัฐและเครือข่ายอย่างครบถ้วนทุกที่ทุกเวลา
โครงการ Big Brothers หรือโครงการพี่ช่วยน้อง เพื่อเชื่อมต่อเอสเอ็มอีสู่ห่วงโซ่การผลิตระดับโลก
Digital Value Chain ผลักดันเอสเอ็มอีสู่ห่วงโซ่การผลิตโลกผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม B2B โดยจะพัฒนาระบบเว็บ T-Good Tech ที่เชื่อมต่อ J-Good Tech ผ่านทางการสนับสนุนของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่น และในอนาคตจะขยายความร่วมมือไปอีกหลายประเทศเริ่มจาก CLMV ด้วย
โครงการเสริมแกร่งเอสเอ็มอีรอบรู้การเงิน เพื่อพัฒนาเสริมความรู้ด้านการเงินทั้งก่อนกู้และหลังกู้เพื่อให้มีบัญชีที่เป็นระบบ มุ่งเป้าสู่ระบบบัญชีเดียวในอนาคต
SME Standard Upยกระดับเอสเอ็มอีสู่มาตรฐานที่เหมาะสมโดยพัฒนามาตรฐานเฉพาะ (มอก.S) ให้เหมาะสมกับระดับศักยภาพของเอสเอ็มอีและตรงความต้องการของตลาด
การยกระดับเศรษฐกิจฐานชุมชน ผ่านโครงการยกระดับอุตสาหกรรมชุมชนเชื่อมโยงการท่องเที่ยว (CIV 4.0) โดยจะพัฒนาศักยภาพชุมชนค้นหาอัตลักษณ์ชุมชน ทำแผนการพัฒนาและบริหารจัดการอย่างยั่งยืน

นอกเหนือจากนี้ ยังมีการบูรณาการผ่านเครือข่ายสนับสนุน SMEs และเชื่อมโยงสถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย นักนวัตกรรม หรือผู้ประกอบการที่เป็น Start Up ต่างๆ โดยการทำงานของศูนย์ ITC เป็นการทำงานในลักษณะประชารัฐ คือ นำผู้ประกอบการตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
มาทำงานร่วมกับหน่วยงานวิจัย หรือ เจ้าของเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนและตอบโจทย์ผู้ประกอบการ
โดยการบูรณาการหน่วยงานเครือข่าย เพื่อขับเคลื่อน ผลักดันและกระตุ้น SMEs สู่ยุค ๔.๐ ให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง
ศูนย์ ITC มีให้บริการอยู่ทั่วประเทศประมาณ 102 แห่ง ในปีงบประมาณปี 2561 ปัจจุบันกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้เริ่มนำร่องไปทั้งหมด 13 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งแบ่งเป็น
ดำเนินงานภายใต้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จำนวน 13 แห่ง (ITC)
ซึ่งตั้งอยู่ในส่วนกลางที่ศูนย์ฯกล้วยน้ำไท 1 แห่ง และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 12 แห่ง
และในวันนี้จัดขึ้นที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จ.สุราษฎร์ธานี
การดำเนินการภายใต้ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด 76 แห่ง (MiNi ITC)
การดำเนินการภายใต้ นิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) 10 แห่ง
ศูนย์บริการเฉพาะด้านผ่านนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่ง ได้แก่
4.1 ศูนย์บริการด้านระบบอัตโนมัติ (CORE-ITC) 1 แห่ง
(โดยสถาบันไทย-เยอรมัน)
4.2 ศูนย์บริการด้านอาหาร ( Food-ITC) 1 แห่ง
(โดยสถาบันอาหาร)
4.3 ศูนย์บริการด้านการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ (Recycle-ITC) 1 แห่ง
(โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.)
ทั้งในพื้นที่ภาคใต้มีให้บริการ ๒ แห่ง คือจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา การให้บริการที่ผ่านมาใน
ปี 2561 มีผู้ประกอบการ SMEs เข้ามาใช้บริการทั่วประเทศทั้งสิ้น 3,000 ราย สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้ทั้งสิ้น 1,300 ผลิตภัณฑ์ คิดเป็นมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจประมาณ 2,500 ล้านบาท และปัจจุบันศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ให้บริการไปแล้ว 524 ราย เกิดผลสัมฤทธิ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ 24 ผลิตภัณฑ์ และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 7,000,000 บาท แบ่งเป็นการให้บริการด้านต่างๆ ดังนี้

1.ให้บริการเครื่องจักรกลาง จำนวน 140 ราย
2.ให้บริการด้านการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จำนวน 45 ราย
3. เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ จำนวน 24 ผลิตภัณฑ์
4. ให้บริการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ จำนวน 83 ราย
5. ให้บริการศึกษาดูงาน ฝึกอบรม สัมมนา จำนวน 236 ราย
6. เชื่อมโยงหน่วยงานเครือข่าย (Match) จำนวน 20 ราย
รวมให้บริการทุกประเภท จำนวน 524 ราย
นับเป็นการยกระดับ SMEs และสร้างรายได้ให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรม สามารถต่อยอดนวัตกรรมและงานวิจัย
ไปสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูงขึ้นตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งกิจกรรมภายในงานวันนี้มีให้บริการด้านต่าง ๆ เช่น ปรึกษาแนะนำธุรกิจ บริการเครื่องจักรแปรรูปเกษตร อาหาร สมุนไพร ตลอดถึงออกแบบผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ และฝึกอบรม ได้แก่
ให้บริการปรึกษาแนะนำด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานเครือข่ายผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (BDS สุราษฏร์ธานี) และ Big Brother มีหน่วยงานร่วมออกบูธ จำนวน 16 บูธ บริเวณชั้น 1 ชั้นลอย
ให้บริการปรึกษาแนะนำเฉพาะด้านต่างๆ เช่น ด้านการผลิต ด้านการตลาด
ด้านยางพารา เป็นต้น โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานเครือข่าย จำนวน 3 หน่วยงาน คือ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฏร์ธานี พร้อมนักวินิจฉัยให้บริการ
ฝึกอบรม 4 หลักสูตร และประชุม 1 เรือง ดังนี้
หลักสูตร “เสริมแกร่ง SMEs รอบรู้การเงินและบริการ ITC” ณ ห้องประดู่แดง ชั้น 3
หลักสูตร “การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และแนวทางการให้บริการศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม”
ณ ห้องพุทธรักษา ชั้น 3 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10
หลักสูตร “การพัฒนาทักษะด้านการผลิต เพื่อยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรม
แปรรูปไม้ยางพารา” ณ ห้องปฏิบัติการเครื่องจักร (SHOP) ด้านในอาคารฝั่งซ้ายมือ
หลักสูตร “การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และแนวทางการให้บริการศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม”
ณ ห้องธรรมรักษา ชั้น 2 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10
3.5 ประชุม เรื่อง “แนวทางการดำเนินงานโครงการศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SMEs Support & Rescue Center : SSRC) และโครงการพี่ช่วยน้อง (Big Brother) ณ ห้องโพธิ์ทอง ชั้น 3ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ซึ่งเป็น 1 ใน 9 มาตรการสำคัญของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อบูรณาการหน่วยงานเครือข่ายในการสนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs ในด้านต่าง ๆ ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุม 9 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ จ.สุราษฎร์ธานี, ชุมพร, ระนอง, นครศรีธรรมราช, กระบี่, พังงา, ภูเก็ต, ตรัง และพัทลุง

ในช่วงปีที่ผ่านผู้ประกอบการ SMEs ให้การตอบรับในการใช้บริการศูนย์ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC 4.0) เป็นอย่างดี มีความสนใจในการให้บริการเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการ โดยการให้บริการ (pilot plant) ซึ่งเน้นอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร อาหาร สมุนไพร เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้มีสินค้าเกษตรเป็นหลัก และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็น 1 ใน 4 จังหวัดนำร่อง ภายใต้โครงการพัฒนาเมืองสมุนไพร (Herbal City) ซึ่ง 4 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ สุราษฎร์ธานี,เชียงราย สกลนคร และปราจีนบุรี ที่ขับเคลื่อนสมุนไพรไทยอย่างยั่งยืน ดังนั้น เครื่องจักรภายในอาคารศูนย์ ITC จึงมีจุดเน้นให้สอดคล้องกับในพื้นที่ สนับสนุน SMEs ในการพัฒนา ต่อยอดด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี เช่น อุตสาหกรรมเกษตร อาหาร เครื่องสำอาง สมุนไพร สุขภาพเป็นต้น ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรม Start-up
/S-Curve (กลุ่มเครื่องมือ อุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ ระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อกับเทคโนโลยีขั้นสูง) นอกจากผ่านการให้บริการเครื่องจักรแล้ว ยังมี
พื้นที่ให้คำปรึกษาแนะนำ (Co-working Space) ตลอดจนสามารถดำเนินการผลิตสำเร็จ ไปจนกระทั่งการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และบรรจุภัณฑ์ และเชื่อมโยงด้านการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้ SMEs มีความพร้อมและมีศักยภาพ ก้าวสู่การเป็น (SMART SMEs) ตลอดจนยกระดับเศรษฐกิจชุมชนเข้าสู่วิสาหกิจชุมชนสมัยใหม่ 4.0 (Local to Global)
ในงานได้มอบวุฒิบัตรให้กับผู้ผ่านการอบรม ภายใต้โครงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่
เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม (NEC) เพื่อสร้างผู้ประกอบการใหม่ Start-up จำนวน 3 รุ่น รุ่นละ 25 คน ทั้งหมด 75 คน ได้แก่
จังหวัดสุราษฎร์ธานี NEC รุ่นที่ 21 จำนวน 25 คน
จังหวัดกระบี่ NEC รุ่นที่ 23 จำนวน 22 คน
จังหวัดนครศรีธรรมราช NEC รุ่นที่ 24 จำนวน 28 คน
และมอบเงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำ จำนวน 5 ราย วงเงินทั้งสิ้น 2,950,000 บาท ได้แก่ คุณเสาวนีย์ นาอนันต์กิจการอู่ซ่อมรถยนต์ จำนวน 300,000 บาท, คุณนพดล แต่งอักษร กิจการโรงกลึง จำนวน 350,000บาท, คุณช่วง รูปขำ กิจการผลิตและจำหน่ายเบเกอรี่ จำนวน 600,000 บาท , คุณปรานอม สิงหเสนี กิจการผลิตน้ำดื่ม จำนวน 700,000 บาท และนายพิพัฒน์ คงประพันธ์ กิจการอู่ซ่อมรถยนต์ จำนวน 1,000,000 บาท

นอกเหนือจากนี้ ยังมีโซนนิทรรศการ หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industrial Village : CIV) ซึ่งนำมาจัดโชว์ 3 แห่ง ได้แก่
หมู่บ้านนาตีน จังหวัดกระบี่
(ผลิตภัณฑ์เรือหัวโทงจำลอง, เข็มขัดกะลามะพร้าว,ผ้าบาติก เป็นต้น)
หมู่บ้านหาดส้มแป้น จังหวัดระนอง
(ผลิตภัณฑ์เซรามิกบ้านหาดส้มแป้น, ไข่เค็มดินขาว เป็นต้น)
หมู่บ้านเกาะพิทักษ์ จังหวัดชุมพร
(ผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ, สบู่, ของที่ระลึกเปลือกหอย, อาหารทะเลแปรรูป เป็นต้น)

ผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมฟู้ดทรัค (Food Truck) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรมฟู้ดทรัค ซึ่งมีจำนวนมากให้ธุรกิจดังกล่าวมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีนโยบายสำคัญในการให้การสนับสนุนงบประมาณให้กับธุรกิจฟู้ดทรัคอีกด้วย โดยผ่านบันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จของธุรกิจฟู้ดทรัค” แบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 5 กลุ่ม คือกลุ่มพื้นฐาน (Basic), กลุ่มเริ่มต้นธุรกิจ (Beginner), กลุ่มมาตรฐาน (Standard), กลุ่มปานกลาง (Intermediate) และกลุ่มก้าวหน้า (Advanced) นั้น
และภายในงานได้มีกลุ่มฟู้ดทรัคมาร่วมงาน จำนวน 3 คันได้แก่
โฟร์วิลบาร์บีคิว จ.สงขลา
ลูกชิ้นปิ้งย่าง จ.สุราษฎร์ธานี
Duca Tim (ไอศกรีม) จ. สุราษฎร์ธานี

หัวหน้าศูนย์ข่าว เรื่องจริงผ่านเลนส์ สุราษฎร์ธานี / รายงาน

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link