ราชบุรี ข่าว – นางรำ 7 หมู่บ้าน พร้อมใจกันเต้นบาสโลบถวายแด่ รูปปั้น“ท้าวเวสสุวรรณ”

ราชบุรี ข่าว – นางรำ 7 หมู่บ้าน พร้อมใจกันเต้นบาสโลบถวายแด่ รูปปั้น“ท้าวเวสสุวรรณ”

วันที่ 14 เม.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเฉลียง เก็งวิเชียรไชย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลาดบัวขาว พร้อมคณะประธานสภาพร้อมสมาชิกสภา อบต.ลาดบัวขาว ผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน และชมรมผู้สูงวัยทรงคุณค่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนน้องๆจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีจักรีรัช และคณะแม่บ้านลาดบัวขาว ทั้ง 7 หมู่บ้าน อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ได้จัดขบวนอัญเชิญ รูปปั้นของ พระครูวิจิตร สารคุณ (หลวงพ่อสุรินทร์) อดีตเจ้าอาวาสวัดลาดบัวขาว เทพเจ้าแห่งตำบลลาดบัวขาว เจ้าของตำนานเหรียญหมูขวาง ขึ้นรถยนต์ แห่ไปตามหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้ พร้อมสรงน้ำ ขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคล

จากนั้นได้พร้อมใจกันเต้นบาสโลบ ณ บริเวณลานวัด เพื่อถวายแด่ รูปปั้น“ท้าวเวสสุวรรณ” ที่ยืนเฝ้าหน้าอุโบสถวัดลาดบัวขาว มานานเกือบ 100 ปี เนื่องในวันสงกรานต์ โดยมีนางรำอายุตั้งแต่ 25 – 80 ปี รวม 100 คนเข้าร่วมพิธีเต้นบาสโลบ ซึ่งนางรำบางคนได้บอกว่าจริงๆแล้ว กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อถวายแด่ รูปปั้น“ท้าวเวสสุวรรณ” ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์มากกับชาวตำบลลาดบัวขาว อีกทั้งพระครูวิจิตร สารคุณ (หลวงพ่อสุรินทร์) อดีตเจ้าอาวาสวัดลาดบัวขาว ที่ชาวบ้านในตำบลาดบัวขาวให้ความเคารพศรัทธามาก นั้นในความสำคัญกับรูปปั้น“ท้าวเวสสุวรรณ” ที่ยืนเฝ้าหน้าอุโบสถวัดลาดบัวขาวเป็นอย่างมาก จนให้ชาวบ้านในตำบลกราบไหว้ และขอพรจากรูปปั้น“ท้าวเวสสุวรรณ” ซึ่งก็ได้ตามที่ขอ ทุกคนในตำบลลาดบัวขาวจึงถือวันที่ 13 เม.ย.ของทุกปี เป็นวันเต้นบาสโลบ เพื่อถวายแด่ รูปปั้น“ท้าวเวสสุวรรณ” ที่ยืนเฝ้าหน้าอุโบสถวัดลาดบัวขาว ต่อมาทาง อบต.ลาดบัวขาว จึงได้พิธีดังกล่าวเข้ามาอยู่ในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในวันสงกรานต์ ตำบลลาดบัวขาว

สำหรับประวัติท้าวเวสสุวรรณ คติความเชื่อแบบไตรภูมิ เชื่อว่ามีท้าวโลกบาลประจำอยู่ 4 ทิศ จึงนิยมจำหลักอยู่ตามบานประตูโบสถ์ วิหาร เรียกว่า “ทวารบาล” หมายถึง ผู้ดูแลประตู บางครั้งพบทวารบาลบางแห่งเป็นแบบจีน แทนที่จะเป็นรูปเทวดาแบบไทยถือพระขรรค์ กลับเป็นเทวดาจีนคล้ายตัวงิ้ว ถือ หอก ดาบ หรือง้าว เหยียบอยู่บนสิงโตจีน เราเรียกว่า “เสี้ยวกาง” หรือ “เซี่ยวกาง” เข้าใจว่าเป็นอิทธิพลของจีนที่เข้ามาสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ส่วนท้าวเวสสุวรรณ ของวัดลาดบัวขาว ไม่ปรากฏที่มาที่ไปมากนัก รู้แต่เพียงว่าผู้เฒ่าผู้แก่ภายในตำบลลาดบัวขาว ได้เห็นท้าวเวสสุวรรณ ตั้งแต่จำความได้ จึงสันนิษฐานว่า มีอายุเกือบ 100 ปี โดยภายหลังมีผู้คนทั้งจากในตำบลลาดบัวขาว และประชาชนที่อื่นเดินทางมากราบไหว้เป็นจำนวนมาก ทางวัดลาดบัวขาว จึงได้จัดบูรณปฏิสังขรณ์รูปปั้น“ท้าวเวสสุวรรณ” ที่ยืนเฝ้าหน้าอุโบสถวัดลาดบัวขาวขึ้นใหม่ โดยองค์ใหม่มีความสูงถึง 10 เมตร

สุจินต์ นฤภัย (เต้)

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link