ราชบุรี  – ตัวแทนอาชีพแผงลอยกว่า 100 ชีวิตร้องผู้ว่าฯช่วยทีหลัง ท.เมืองติดป้ายไม่ให้ขาย

วันพุธที่ 8 พ.ค.62 ที่หน้าศาลากลางจังหวัดราชบุรี อ.เมือง จ.ราชบุรี ตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบอาชีพค้าขาย(แผงลอย) จำนวน 100 คน
ชูป้ายเรียกร้องพร้อมยื่นหนังสือเรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี แก้ไขปัญหาช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบอาชีพค้าขาย(แผง
ลอย)กว่าจำนวน 70 ร้านค้า กรณีได้รับผลกระทบจากการที่ทางเทศบาลเมืองราชบุรี ทำหนังสือถึงผู้ประกอบอาชีพค้าขาย(แผง
ลอย) “ไม่อนุญาติให้จำหน่ายสินค้าหรือตั้งวางสิ่งของบนทางเท้าหน้าสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลราชบุรี เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2562” พร้อมมีการติดตั้งป้ายห้ามวางจำหน่ายสิ่งของฝ่าฝืนปรับ 2,000 ทำให้ผู้ประกอบอาชีพค้าขาย(แผงลอย)กว่า 70 ร้านค้ากว่า 400 ชีวิต ไม่มีที่ทำมาหากิน โดยมีนางสาวประภารัตน์ นาคผจญ ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดราชบุรี เป็นผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ในการหนังเรื่องและหนังสือร้องเรียนดังกล่าว

โดย นายชัยวัฒน์ อริญชโย อายุ 55 อยู่บ้านเลขที่ 134 อ.เมือง จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นประธานกลุ่มผู้ประกอบอาชีพค้าขาย(แผงลอย)
ได้เปิดเผยว่า พ่อค้าแม่ค้าที่ค้าขายอยู่หน้าบริเวณโรงเรียนอนุบาลราชบุรี ได้ขายมาเป็นเวลานานแล้วกว่า 20 ปี ซึ่งมีใบประกอบ
กิจการค้าขายสินค้าในที่สาธารณะและมีการเสียค่าธรรมเนียมการขายสินค้าในที่สาธารณะอย่างถูกต้อง และสามารถตรวจสอบได้ จนทั้งวันที่ 13 มี.ค.62 ทางเทศบาลเมืองราชบุรี ได้มีหนังสือถึงพ่อค้าแม่ค้า ไม่อนุญาตให้จำหน่ายสินค้าหน้าโรงเรียนอนุบาล
ราชบุรี โดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 มี.ค.62 ซึ่งทางเทศบาลเมืองราชบุรี อ้างว่า ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากร้านค้าที่ตั้งขาย
ของบริเวณทางเท้าหน้าโรงเรียนอนุบาลราชบุรี ทำให้กีดขวางการใช้ทางเท้าในการสัญจรของผู้ปกครองและนักเรียน จนต้องลง
ไปเดินบนถนนและทำให้เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่พ่อค้าแม่ค้ามีการจำหน่ายสินค้าหน้าโรงเรียนอนุบาลราชบุรี ได้มี
การจัดระเบียบร้านค้า รักษาความสะอาด ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยประจำ พร้อมเว้นช่องทางเดินเป็นอย่างดีให้แก่ผู้ใช้ทางเท้าหน้าโรงเรียนอนุบาลราชบุรี ซึ่งที่ผ่านมาทางพ่อค้าแม่ค้าได้ทำตามระเบียบที่ตั้งไว้มาโดยตลอด และไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้กับทางประชาชนตามที่ทางเทศบาลเมืองราชบุรีกล่าวอ้าง และทางเทศบาลเมืองราชบุรี ก็ไม่ได้มีการตักเตือน หรือมีการแนะนำการตั้งการขายสินค้า หรือการเรียกประชุมพ่อค้าแม่ค้าแต่อย่างใด แต่กับมีการออกหนังสือและป้ายห้ามขาย ไม่ให้พ่อค้าแม่ค้าสามารถขายของได้สร้างความเดือดร้อนแก่ร้านค้ากว่า 70 ร้านค้าที่ขายของที่นี้ซึ่งหาเลี้ยงดูแลครอบครัวกว่า 400 ชีวิตต้องเดือดร้อนเป็นอย่างมาก

นายชัยวัฒน์ อริญชโย ยังกกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า โดยที่ผ่านมาทางไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาดูแล หรือลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบ มีแต่เพียงเทศกิจเมืองราชบุรี มาแจ้งว่ามีผู้ร้องเรียนแต่ก็ไม่เคยเห็นหนังสือร้องเรียนดังกล่าวแต่อย่างไร และที่ทางเทศบาลอ้างว่าพวกพ่อค้าแม่ค้าทำให้รถติดนั้นก็ไม่น่าใช่เพราะทางร้านค้าก็ไม่ได้ลงไปวางขายของบนถนนเลยซึ่งทุกร้านจะวางบนทางเดินจริงแต่จะมีการเว้นพื้นที่ทางเดินให้ ซึ่งตั้งแต่ที่มีการวางขายของมานั้น ก็ไม่เคยมีการเกิดอุบัติเหตุอย่างที่ทางเทศบาลเมืองราชบุรีกล่าวอ้าง ซึ่งในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี มีโรงเรียนอยู่หลายโรงเรียนแต่กลับไม่มีการห้ามวางขายสินค้า และบางพื้นที่ถึงขนาดปิดถนนทั้งเส้นไม่ให้รถสัญจรได้เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้าขายของ โดยคนที่มาขายก็ไม่ใช่เป็นชาวราชบุรีกลับมาจากที่อื่นแต่กลับปล่อยให้ขายได้ แต่บริเวณหน้าโรงเรียนอนุบาลราชบุรีซึ่งพ่อค้าแม่ค้าบางรายมีลูกหลานเรียนอยู่ที่โรงเรียนดังกล่าวด้วย และทุกร้านที่มาขายก็เป็นคนราชบุรีทั้งหมดและทุกร้านก็รักษาระเบียบที่ทางเทศกิจกำหนดถูกต้องทุกอย่าง แต่กับเป็นแห่งเดียวที่ห้ามขาย ซึ่งทางเทศบาลก็อ้างว่าเป็นคำสั่งมาจากสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเคยเข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือ

ด้าน นางสาวประภารัตน์ นาคผจญ ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดราชบุรี ได้กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ตามหนังสือ
ที่อ้างอิงจังหวัดราชบุรีแจ้งผลดำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดตั้งร้านค้าบนทางเท้าบริเวณหน้าโรงเรียนอนุบาลราชบุรี สรุปว่า
เทศบาลเมืองราชบุรี ได้ดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบในการห้ามจำหน่ายสินค้าบริเวณทางเท้าหน้าโรงเรียนอนุบาล
ราชบุรี ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2562 เป็นต้นไป มีการปิดป้ายประกาศและบอกกล่าวให้ผู้ประกอบการค้า ทราบล่วงหน้าประมาณ 4
เดือน ซึ่งทางสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายราย โดยพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายข้างต้นแล้วเห็นว่าเทศบาลเมืองราชบุรีได้ดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบในการห้ามจำหน่ายสินค้าบริเวณทางเท้าหน้าโรงเรียนอนุบาลราชบุรี ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2562 เป็นต้นไป เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ร้องเรียนและประชาชนแล้วจึง เป็นเรื่องที่ผู้ร้องเรียนได้รับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมอย่างเหมาะสมแล้ว ตามมาตรา 37 (6 )แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2561 โดยคำวินิจฉัย และข้อเสนอแนะอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 37 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 จึงมีคำวินิจฉัยให้ยุติเรื่องร้องเรียนดังกล่าวและให้จังหวัดราชบุรีพิจารณาแก้ไขปัญหาของผู้ประกอบการค้า ในแนวทางเดียวกันกับที่เทศบาลเมืองราชบุรี ได้ดำเนินการบริเวณหน้าสถานศึกษาแห่งอื่นต่อไป

อย่างไรก็ดี ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดราชบุรี ได้รับหนังสือร้องเรียนดังกล่าวและจะได้ส่งมอบให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เพื่อดำเนินการหาทางแก้ไขปัญหา ซึ่งในการปฎิบัติต้องดำเนินการเหมือนกันทุกแห่ง มิฉะนั้นอาจจะถูกร้องเรียนว่าเลือกปฎิบัติได้ เพราะมีการขายของลักษณะนี้ทุกสถานศึกษา และบริเวณหน้าสถานที่ราชการอีกหลายแห่ง รวมถึงตลาดโคยกี๊ ก็มีการร้องเรียนเหมือนกัน ก็ต้องเร่งแก้ไขต่อไป

สุจินต์ นฤภัย (เต้)

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link