TSPCA จัดระดมความคิด เพื่อการปฏิรูปสวัสดิภาพสัตว์ สวนสัตว์ และ อควาเรียมไทย..

TSPCA จัดระดมความคิด เพื่อการปฏิรูปสวัสดิภาพสัตว์ สวนสัตว์ และอควาเรียมไทย

ปัจจุบันปัญหาสวัสดิภาพสัตว์เป็นประเด็นที่สังคมให้ความสำคัญมากขึ้น รวมถึงปัญหาสวัสดิภาพสัตว์ในสวนสัตว์และอควาเรียม จึงนับเป็นมิติใหม่ที่ดีในการร่วมกันสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ดังกล่าว ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ สวนสัตว์เอกชน องค์กรภาคเอกชน องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (IUCN) สื่อมวลชน เป็นต้น ผ่านการจัดประชุมเครือข่ายผู้รักสัตว์ครั้งที่ 10 ณ โรงแรม คามิโอ อมตะ บางปะกง จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 9-10 มีนาคม พ.ศ. 2562 โดยสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่ง ประเทศไทย เป็นผู้ให้การสนับสนุน ทั้งนี้ ทางคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นผู้ดำเนินการรวบรวมความคิดเห็นและข้อมูลจากการประชุมในครั้งนี้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้มาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานนำไปสู่การยกระดับสวนสัตว์และอควาเรียมไทย สู่มาตรฐานสากล ต่อไป

ดร.สาธิต ปรัชญาอริยะกุล เลขาธิการและผู้อำนวยการสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยสรุปประเด็นแนวทางการปฏิรูปสวัสดิภาพสัตว์ สวนสัตว์ และอควาเรียมไทย เรียงตามคะแนนโหวต ดังนี้
1.ด้านการจัดการองค์ความรู้ของบุคลากร ปัญหา สภาพปัจจุบัน บุคลากรขาดความรู้ทางด้านชีววิทยาและวิชาการของสัตว์แต่ละชนิด เช่น ความต้องการพื้นฐานของสัตว์ การแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมของสัตว์ โภชนาการของสัตว์แต่ละชนิด และสิ่งแวด ล้อมที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีพของสัตว์ รวมทั้งขาดความรู้ทางด้านการจัดการสุขภาพสัตว์ เป็นต้น แนวทางแก้ไขปัญหา ควรมีแหล่งความรู้ที่สามารถเข้าถึงและเข้าใจง่าย มีจัดอบรมหรือสัมมนาให้ความรู้แก่บุคลากร ในด้านต่างๆ รวมถึงการฝึกปฏิบัติเพื่อเพิ่มความชำนาญ โดยอาจจะเป็นการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ หรือมีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างหน่วยงานหรือองค์กร มีการตรวจประเมินความรู้โดยการตั้งเกณฑ์มาตรฐาน หรือทำเป็นรายการตรวจสอบ เพื่อเป็นแนวทาง ซึ่งจะทำให้การวัดผลเป็นรูปธรรม รวมถึงการมีคณะกรรมการตรวจประเมินความรู้และมีการติดตามผลการตรวจประเมิน สร้างมาตรฐานที่บุคลากร พึ่งมี มีหน่วยงานกำกับดูแลเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์และบังคับใช้ กำหนดมาตรฐานสวนสัตว์ ให้บุคลากรต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ ให้สัตวแพทย์ (ทำงานเต็มเวลา/นอกเวลา) ควรเป็นผู้ที่ผ่านการอบรมด้านการดูแลสัตว์ในสวนสัตว์โดยเฉพาะ มีวิธีการเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิด โปรแกรมการตรวจสุขภาพสัตว์เป็นประจำ มีสัตวแพทย์ดูแลสัตว์อย่างสม่ำเสมอ จัดทำคู่มือการเลี้ยงและการจัดการสัตว์แต่ละชนิด สร้างเครือข่าย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีที่ปรึกษาเชิงนโยบาย หรือมีคนวิเคราะห์แนวทางอนาคต แนะนำสวนสัตว์ ให้ความรู้ผู้เข้าชมนักท่องเที่ยว มีตารางหมายกำหนดการสำหรับการดูแลสัตว์ที่ชัดเจนและสม่ำเสมอ และมีใบรายการตรวจสอบประจำตัวสัตว์และบริเวณกรงเลี้ยง ทำโปรแกรมสุขภาพเป็นประจำและสม่ำเสมอ ต้องมีความพร้อมของอุปกรณ์ ครุภัณฑ์และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่เหมาะสมกับชนิดของสัตว์ที่เลี้ยง

2. ด้านการบริหารจัดการ ปัญหา สภาพปัจจุบัน เช่น การได้มาของสัตว์ที่ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับ/กฎหมายผู้ประกอบการผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญในภาพรวมทั้งสุขภาพและสวัสดิภาพสัตว์ เช่น การนำสัตว์ป่วยมาแสดง สถานประกอบการทำตามความต้องการของลูกค้าโดยไม่คำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ สถานประกอบการไม่ดูแลเอาใจใส่สัตว์เท่าที่ควร การให้แสดงโชว์ในพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ผู้ประกอบการมุ่งเน้นการแสวงหากำไรหรือเน้นการค้า แนวทางแก้ไขปัญหา ควรมีกรปฏิบัติตามกฎหมาย (อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora; CITES) พิจารณาเรื่องแหล่งที่มาของสัตว์) ใช้กฎหมายบังคับ ให้ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องปรัชญาของสวนสัตว์ สวัสดิภาพสัตว์และธรรมชาติของตัวสัตว์แก่เจ้าของหรือผู้ประกอบการ มีการตรวจสอบสวนสัตว์โดยมีหน่วยงานกลางที่เข้าร่วมตรวจสอบและมีการให้คะแนนตามหัวข้อที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน และมีการติดตามอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมจริยธรรม สร้างจิตสำนึกกำหนดมาตรฐานสวนสัตว์ การเลี้ยงสัตว์

3. ด้านโครงสร้างและการจัดการสิ่งแวดล้อม ปัญหา สภาพปัจจุบัน ที่อยู่อาศัยของสัตว์ไม่เหมาะสม มีร่มเงาไม่เพียงพอ พื้นที่ไม่เพียงพอต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมของสัตว์ สัตว์อยู่อย่างหนาแน่น ปัญหาสภาพแวดล้อมและความสะอาดในสวนสัตว์และอควาเรียม สภาพแวดล้อมในตู้ไม่เหมาะสม เป็นการตกแต่งเพื่อโชว์ คุณภาพน้ำไม่เหมาะสมกับสัตว์ สภาพแวดล้อมที่อยู่ไม่มีความเป็นธรรมชาติ สัตว์ไม่ได้อยู่ในสภาพที่เป็นธรรมชาติ เน้นจัดให้สัตว์ปรากฏตัว ไม่มีสถานพักฟื้นสำหรับสัตว์ป่วย แนวทางแก้ไขปัญหา ควรมีการกำหนดความต้องการพื้นฐานเรื่องพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับสัตว์แต่ละชนิดในสวนสัตว์หรืออควาเรียม (ต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านชีววิทยาของสัตว์แต่ละชนิด) มีแผนการจัดการประชากรอย่างเหมาะสม เช่น มีแผนรับมือกับประชากรมากเกิน (overpopulation) ควรนำองค์ความรู้ด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการจัดการ แต่ละสวนสัตว์ควรมีแผนแม่บท (master plan) ในการจัดการสวนสัตว์ มีการจัดทำมาตรฐาน คู่มือเกี่ยวกับความต้องการพื้นที่ของสัตว์แต่ละชนิด ควรมีการจัดสถานที่เลี้ยงให้เหมาะสม ให้สัตว์สามารถแสดงพฤติกรรมทางธรรมชาติได้และขึ้นทะเบียนผู้ออกแบบและผู้รับเหมาที่สามารถสร้างสวนสัตว์ได้มาตรฐานโดยมีหน่วยงานของรัฐตรวจสอบการออกแบบและการก่อสร้าง

4.ด้านงบประมาณ ปัญหา สภาพปัจจุบัน ขาดงบประมาณในการดูแลองค์กร งบประมาณที่จำกัดส่งผลต่อการจัดสร้างสภาพที่อยู่อาศัย รวมถึงเครื่องใช้และสาธารณูปโภคต่อสัตว์ แนวทางแก้ไขปัญหา สวนสัตว์ต้องมีการจัดทำแนวการจัดหารายได้ที่เหมาะสมและเพียงพอโดยต้องอยู่ภายใต้หลักสวัสดิภาพสัตว์ เช่น การเก็บค่าบัตรเข้าชม การขายของที่ระลึก มีการให้เช่าพื้นที่ การรับบริจาค สร้างจุดขายเพื่อดึงดูผู้เข้าชม จัดแพ็กเกจการท่องเที่ยว มีเงินสนับสนุนจากภาครัฐ ความช่วยเหลือ เช่น ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ อาจนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ ให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องกู้เงิน ดอกเบี้ยอัตราต่ำ ผู้ประกอบการต่าง ๆ ร่วมมือกัน หน่วยงานด้านการท่องเที่ยวเข้ามาช่วย มีการผลักดันเข้าสู่ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจากภาครัฐ ภาครัฐและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นให้ ความช่วยเหลือ เช่นลดหย่อนภาษี สวนสัตว์มีรายได้จากภาษีท่องเที่ยว ภาษีท้องถิ่น ภาษีนักท่องเที่ยว

5. ปัญหาด้านอื่นๆ เช่น ปัญหาด้านการจัดการพันธุกรรมสัตว์ แนวทางการแก้ปัญหา ควรให้มีการจัดการด้านพันธุกรรม ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเลือดชิด แลกเปลี่ยนพันธุกรรมกับสวนสัตว์อื่น จัดทำพันธุ์ประวัติ ระเบียนหรือหมายเลขประจำตัวสัตว์ ส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ควรมีหน่วยงานจัดการด้านพันธุกรรมสัตว์ป่า ปัญหาการจับบังคับสัตว์ที่ผิดวิธีและรุนแรง แนวทางการแก้ปัญหา ควรมีกฎหมายควบคุมทั้งผู้ที่กระทำรุนแรงและปกป้องคนเลี้ยง มีศูนย์รับข้อร้องเรียน จัดอบรมการจับบังคับสัตว์ ปัญหาคนนำสัตว์มาบริจาค แนวทางการแก้ปัญหา ควรให้ความรู้กับประชาชนทั้งด้านสัตว์ไทยและสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ ลดการลักลอบซื้อขาย มีหน่วยงานที่รับผิดชอบเลี้ยงสัตว์ ภาษีสัตว์เลี้ยง ควบคุมฟาร์มเพาะพันธุ์ เป็นต้น

จากผลสรุปประเด็นแนวทางดังกล่าวสมาคมฯ และองค์กรเครือข่าย จะดำเนินการส่งมอบข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านสวัสดิภาพสัตว์ในสวนสัตว์และอควาเรียม และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไปTSPCA จัดระดมความคิด เพื่อการปฏิรูปสวัสดิภาพสัตว์ สวนสัตว์ และอควาเรียมไทยปัจจุบันปัญหาสวัสดิภาพสัตว์เป็นประเด็นที่สังคมให้ความสำคัญมากขึ้น รวมถึงปัญหาสวัสดิภาพสัตว์ในสวนสัตว์และอควาเรียม จึงนับเป็นมิติใหม่ที่ดีในการร่วมกันสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ดังกล่าว ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ สวนสัตว์เอกชน องค์กรภาคเอกชน องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (IUCN) สื่อมวลชน เป็นต้น ผ่านการจัดประชุมเครือข่ายผู้รักสัตว์ครั้งที่ 10 ณ โรงแรม คามิโอ อมตะ บางปะกง จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 9-10 มีนาคม พ.ศ. 2562 โดยสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่ง ประเทศไทย เป็นผู้ให้การสนับสนุน ทั้งนี้ ทางคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นผู้ดำเนินการรวบรวมความคิดเห็นและข้อมูลจากการประชุมในครั้งนี้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้มาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานนำไปสู่การยกระดับสวนสัตว์และอควาเรียมไทย สู่มาตรฐานสากล ต่อไป
ดร.สาธิต ปรัชญาอริยะกุล เลขาธิการและผู้อำนวยการสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยสรุปประเด็นแนวทางการปฏิรูปสวัสดิภาพสัตว์ สวนสัตว์ และอควาเรียมไทย เรียงตามคะแนนโหวต ดังนี้
1.ด้านการจัดการองค์ความรู้ของบุคลากร ปัญหา สภาพปัจจุบัน บุคลากรขาดความรู้ทางด้านชีววิทยาและวิชาการของสัตว์แต่ละชนิด เช่น ความต้องการพื้นฐานของสัตว์ การแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมของสัตว์ โภชนาการของสัตว์แต่ละชนิด และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีพของสัตว์ รวมทั้งขาดความรู้ทางด้านการจัดการสุขภาพสัตว์ เป็นต้น แนวทางแก้ไขปัญหา ควรมีแหล่งความรู้ที่สามารถเข้าถึงและเข้าใจง่าย มีจัดอบรมหรือสัมมนาให้ความรู้แก่บุคลากร ในด้านต่างๆ รวมถึงการฝึกปฏิบัติเพื่อเพิ่มความชำนาญ โดยอาจจะเป็นการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ หรือมีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างหน่วยงานหรือองค์กร มีการตรวจประเมินความรู้โดยการตั้งเกณฑ์มาตรฐาน หรือทำเป็นรายการตรวจสอบ เพื่อเป็นแนวทาง ซึ่งจะทำให้การวัดผลเป็นรูปธรรม รวมถึงการมีคณะกรรมการตรวจประเมินความรู้และมีการติดตามผลการตรวจประเมิน สร้างมาตรฐานที่บุคลากร พึ่งมี มีหน่วยงานกำกับดูแลเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์และบังคับใช้ กำหนดมาตรฐานสวนสัตว์ ให้บุคลากรต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ ให้สัตวแพทย์ (ทำงานเต็มเวลา/นอกเวลา) ควรเป็นผู้ที่ผ่านการอบรมด้านการดูแลสัตว์ในสวนสัตว์โดยเฉพาะ มีวิธีการเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิด โปรแกรมการตรวจสุขภาพสัตว์เป็นประจำ มีสัตวแพทย์ดูแลสัตว์อย่างสม่ำเสมอ จัดทำคู่มือการเลี้ยงและการจัดการสัตว์แต่ละชนิด สร้างเครือข่าย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีที่ปรึกษาเชิงนโยบาย หรือมีคนวิเคราะห์แนวทางอนาคต แนะนำสวนสัตว์ ให้ความรู้ผู้เข้าชมนักท่องเที่ยว มีตารางหมายกำหนดการสำหรับการดูแลสัตว์ที่ชัดเจนและสม่ำเสมอ และมีใบ รายการตรวจสอบประจำตัวสัตว์และบริเวณกรงเลี้ยง ทำโปรแกรมสุขภาพเป็นประจำและสม่ำเสมอ ต้องมีความพร้อมของอุปกรณ์ ครุภัณฑ์และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่เหมาะสมกับชนิดของสัตว์ที่เลี้ยง

2. ด้านการบริหารจัดการ ปัญหา สภาพปัจจุบัน เช่น การได้มาของสัตว์ที่ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับ/กฎหมายผู้ประกอบการ ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญในภาพรวมทั้งสุขภาพและสวัสดิภาพสัตว์ เช่น การนำสัตว์ป่วยมาแสดง สถานประกอบการทำตามความต้องการของลูกค้าโดยไม่คำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ สถานประกอบการไม่ดูแลเอาใจใส่สัตว์เท่าที่ควร การให้แสดงโชว์ในพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ผู้ประกอบการมุ่งเน้นการแสวงหากำไรหรือเน้นการค้า แนวทางแก้ไขปัญหา ควรมีกรปฏิบัติตามกฎหมาย (อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora; CITES) พิจารณาเรื่องแหล่งที่มาของสัตว์) ใช้กฎหมายบังคับ ให้ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องปรัชญาของสวนสัตว์ สวัสดิภาพสัตว์และธรรมชาติของตัวสัตว์แก่เจ้าของหรือผู้ประกอบการ มีการตรวจสอบสวนสัตว์โดยมีหน่วยงานกลางที่เข้าร่วมตรวจสอบและมีการให้คะแนนตามหัวข้อที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน และมีการติดตามอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมจริยธรรม สร้างจิตสำนึกกำหนดมาตรฐานสวนสัตว์ การเลี้ยงสัตว์

3. ด้านโครงสร้างและการจัดการสิ่งแวดล้อม ปัญหา สภาพปัจจุบัน ที่อยู่อาศัยของสัตว์ไม่เหมาะสม มีร่มเงาไม่เพียงพอ พื้นที่ไม่เพียงพอต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมของสัตว์ สัตว์อยู่อย่างหนาแน่น ปัญหาสภาพแวดล้อมและความสะอาดในสวนสัตว์และอควาเรียม สภาพแวดล้อมในตู้ไม่เหมาะสม เป็นการตกแต่งเพื่อโชว์ คุณภาพน้ำไม่เหมาะสมกับสัตว์ สภาพแวดล้อมที่อยู่ไม่มีความเป็นธรรมชาติ สัตว์ไม่ได้อยู่ในสภาพที่เป็นธรรมชาติ เน้นจัดให้สัตว์ปรากฏตัว ไม่มีสถานพักฟื้นสำหรับสัตว์ป่วย แนวทางแก้ไขปัญหา ควรมีการกำหนดความต้องการพื้นฐานเรื่องพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับสัตว์แต่ละชนิดในสวนสัตว์หรืออควาเรียม (ต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านชีววิทยาของสัตว์แต่ละชนิด) มีแผนการจัดการประชากรอย่างเหมาะสม เช่น มีแผนรับมือกับประชากรมากเกิน (overpopulation) ควรนำองค์ความรู้ด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการจัดการ แต่ละสวนสัตว์ควรมีแผนแม่บท (master plan) ในการจัดการสวนสัตว์ มีการจัดทำมาตรฐาน คู่มือเกี่ยวกับความต้องการพื้นที่ของสัตว์แต่ละชนิด ควรมีการจัดสถานที่เลี้ยงให้เหมาะสม ให้สัตว์สามารถแสดงพฤติกรรมทางธรรมชาติได้และขึ้นทะเบียนผู้ออกแบบและผู้รับเหมาที่สามารถสร้างสวนสัตว์ได้มาตรฐานโดยมีหน่วยงานของรัฐตรวจสอบการออกแบบและการก่อสร้าง

4.ด้านงบประมาณ ปัญหา สภาพปัจจุบัน ขาดงบประมาณในการดูแลองค์กร งบประมาณที่จำกัดส่งผลต่อการจัดสร้างสภาพที่อยู่อาศัย รวมถึงเครื่องใช้และสาธารณูปโภคต่อสัตว์ แนวทางแก้ไขปัญหา สวนสัตว์ต้องมีการจัดทำแนวการจัดหารายได้ที่เหมาะสมและเพียงพอโดยต้องอยู่ภายใต้หลักสวัสดิภาพสัตว์ เช่น การเก็บค่าบัตรเข้าชม การขายของที่ระลึก มีการให้เช่าพื้นที่ การรับบริจาค สร้างจุดขายเพื่อดึงดูผู้เข้าชม จัดแพ็กเกจการท่องเที่ยว มีเงินสนับสนุนจากภาครัฐ ความช่วยเหลือ เช่น ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ อาจนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ ให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องกู้เงิน ดอกเบี้ยอัตราต่ำ ผู้ประกอบการต่าง ๆ ร่วมมือกัน หน่วยงานด้านการท่องเที่ยวเข้ามาช่วย มีการผลักดันเข้าสู่ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจากภาครัฐ ภาครัฐและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นให้ ความช่วยเหลือ เช่นลดหย่อนภาษี สวนสัตว์มีรายได้จากภาษีท่องเที่ยว ภาษีท้องถิ่น ภาษีนักท่องเที่ยว

5. ปัญหาด้านอื่นๆ เช่น ปัญหาด้านการจัดการพันธุกรรมสัตว์ แนวทางการแก้ปัญหา ควรให้มีการจัดการด้านพันธุกรรม ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเลือดชิด แลกเปลี่ยนพันธุกรรมกับสวนสัตว์อื่น จัดทำพันธุ์ประวัติ ระเบียนหรือหมายเลขประจำตัวสัตว์ ส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ควรมีหน่วยงานจัดการด้านพันธุกรรมสัตว์ป่า ปัญหาการจับบังคับสัตว์ที่ผิดวิธีและรุนแรง แนวทางการแก้ปัญหา ควรมีกฎหมายควบคุมทั้งผู้ที่กระทำรุนแรงและปกป้องคนเลี้ยง มีศูนย์รับข้อร้องเรียน จัดอบรมการจับบังคับสัตว์ ปัญหาคนนำสัตว์มาบริจาค แนวทางการแก้ปัญหา ควรให้ความรู้กับประชาชนทั้งด้านสัตว์ไทยและสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ ลดการลักลอบซื้อขาย มีหน่วยงานที่รับผิดชอบเลี้ยงสัตว์ ภาษีสัตว์เลี้ยง ควบคุมฟาร์มเพาะพันธุ์ เป็นต้น จากผลสรุปประเด็นแนวทางดังกล่าวสมาคมฯ และองค์กรเครือข่าย จะดำเนินการส่งมอบข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านสวัสดิภาพสัตว์ในสวนสัตว์และอควาเรียม และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

ผ่านเลนส์ 005~รายงาน

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link