รายงานพิเศษ….. รองเลขาฯพรรคไทยศรีวิไลย์ ติดตามเรื่องโรงงานน้ำตาล-โรงไฟฟ้าพลังชีวมวล ที่อำนาจเจริญ

รายงานพิเศษ….. รองเลขาฯพรรคไทยศรีวิไลย์ ติดตามเรื่องโรงงานน้ำตาล-โรงไฟฟ้าพลังชีวมวล ที่อำนาจเจริญ
ตามที่ กลุ่ม 10 พรรค นำโดยทีมหัวหน้าพรรค 5 พรรค ได้แก่ 1.นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ 2.นายคฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล หัวหน้าพรรคพลังไทยรักไทย 3.นายปรีดา บุญเพลิง หัวหน้าพรรคครูไทยเพื่อประชาชน 4.นายสุรทิน พิจารณ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ 5.นายแพทย์ระวี มาศฉมาดล หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ ได้ลงพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา เพื่อ รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้าน กรณีชาวบ้านได้รับผลกระทบจากการสร้างโรงงานน้ำตาล และโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่ส่งผลกระทบให้ประชาชนในจังหวัดอำนาจเจริญและยโสธรได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถทำนาได้เนื่องจากการก่อสร้างโรงงานดังกล่าวได้มีการขุดบ่อและดูดน้ำจากห้วยสาธารณะไปกักเก็บในสระจนทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติที่ประชาชนเคยใช้อุปโภคบริโภคและการเกษตรไม่มีน้ำเพียงพอ อีกทั้งเมื่อฝนตกแล้วพื้นที่ทำการเกษตรของพี่น้องประชาชนก็ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เนื่องด้วยในการก่อสร้างโรงงานน้ำตาลและโรงงานอุตสาหกรรมและโรงงานไฟฟ้าดังกล่าวได้ขุดบ่อขนาดใหญ่ไว้กักเก็บน้ำที่มีความลึกกว่าลำห้วยมาก ทำให้พื้นที่การเกษตรของพี่น้องประชาชนไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ ซึ่งในวันดังกล่าวทางกลุ่ม10 พรรคเล็กได้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญมาร่วมรับฟังปัญหาของพี่น้องประชาชนด้วยแต่ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญไม่ได้เดินทางมา และ ก็ไม่ได้มอบหมายให้ใครมาแทน ตามที่ได้มีการเสนอข่าวผ่านสื่อไปแล้วนั้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุด เมื่อวันก่อน นายจำรูญศักดิ์ จันทรมัย ประธานองค์กรตรวจสอบทุจริตคอร์รัปชั่นภาคอีสาน รองเลขาธิการพรรคไทยศรีวิไลย์ ลำดับที่ 1 ได้ติดตามเรื่องดังกล่าว ในวันต่อมาและได้เปิดเผยกับทีมงานข่าวของเราว่า ในฐานะที่ผมทำหน้าที่ในตำแหน่งผู้ช่วยเกี่ยวกับการตรวจสอบการตั้งโรงงานน้ำตาลและการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังชีวมวลที่จังหวัดอำนาจเจริญ ผมจึงได้เข้าไปที่โยธาธิการจังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อวันก่อน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อไปขอทราบข้อมูลข่าวสารความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการผังเมือง ซึ่งในเบื้องต้นก็ทราบว่าจะมีการปรับเปลี่ยนแก้ไข พ.ร.บ.ผังเมือง พ.ศ.2562 ในเดือนพฤศจิกายนนี้ นั่นหมายถึงว่าพ.ร.บ.ผังเมือง ที่ใช้มากันตั้งแต่หลายสิบปีจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและหลายพื้นที่จะถูกกำหนดเพื่อให้รองรับการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ รวมไปถึงย่านเมืองที่มีการขยายตัวเพื่อสนองตอบรับกับชุมชน และในโอกาสนี้ผมได้ขออนุญาตเจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งค้นหาผังเมืองในตัวเมืองจังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อที่ผมจะนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลให้กับส.ส. เพื่อขอเปิดกระทู้ในสภา นายจำรูญศักดิ์ จันทรมัย รองเลขาธิการพรรคไทยศรีวิไลย์ กล่าว.
นายจำรูญศักดิ์ จันทรมัย กล่าวต่ออีกว่า ผมเห็น พ.ร.บ.ผังเมืองดังกล่าวแล้ว ก็ต้องตกใจ เนื่องจากไม่คิดว่าเจ้าหน้าที่ผู้มีความรับผิดชอบในเรื่องนี้ จะลืมความเป็นข้าราชที่รับใช้พ่อหลวงและเป็นข้าราชการที่ดีรับใช้ประชาชน เนื่องจากไม่ทักท้วงเมื่อพบเห็นผู้กระทำความผิด ซึ่งภาพที่ผมได้เห็นคือภาพการแสดงถึงผังเมืองที่บ่งบอกถึงลักษณะของการใช้ที่ดินอย่างชัดเจน ประเด็นที่มีการก่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่บริเวณที่ตั้งอบต.น้ำปลีก จ.อำนาจเจริญ ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ผังเมืองที่ไม่สามารถรองรับให้ทำการอุตสาหกรรมหรือประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่โรงงานก็ได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้มีอำนาจหน้าที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองสมยอมให้มีการเปิดโรงงานอุตสาหกรรมอย่างผิดกฎหมายครับ และ ยังมีอีกมากหลายเรื่องที่ผมจะต้องนำสู่สภาและศาลปกครองเพื่อขอระงับการใช้อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่ไปอนุญาตให้กับโรงงานได้ทำการเปิดโรงงานขนาดใหญ่ ซึ่งโรงงานน้ำตาลแห่งนี้ มีพี่น้องประชาชนนับพันคนได้ร้องเรียนร้องทุกข์กล่าวโทษไปหลายหน่วยงานถึงการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลได้กระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนและสิ่งแวดล้อมหลายพันครัวเรือน นายจำรูญศักดิ์ จันทรมัย รองเลขาธิการพรรคไทยศรีวิไลย์ กล่าว.
นายจำรูญศักดิ์ จันทรมัย อธิบายต่ออีกว่า หากเมื่อดูตามแผนที่จะเห็นได้ว่าบริเวณที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลจะอยู่ในพื้นที่สีเขียวและตารางสีเขียวหากดูตามประเภทเฉดสีสีเขียวจะหมายถึงที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมสีตารางสีเขียวสลับขาวจะเป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมรวมไปถึงที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้จึงขออนุญาตนำเรียนและชี้แนะแนวในเบื้องต้นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่เราได้ลงพื้นที่จะค่อนข้างปรากฏอย่างเด่นชัดว่าพื้นที่ตั้งดังกล่าวจะเป็นพื้นที่เขตชนบทเกษตรกรรมและอนุรักษ์ป่าไม้ไม่สิ่งที่เกิดขึ้นจึงขออนุญาตนำเรียนสอบถามไปยังผู้ที่ทำการอนุมัติคืออดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญได้ใช้กฎหมายข้อใดในการอนุมัติให้เกิดการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลขึ้นในจังหวัดอำนาจเจริญ
สิ่งที่ตามมาจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการทำประชาพิจารณ์ชาวบ้านไม่ได้สร้างถึงการทำประชาพิจารณ์ตามข้อกฎหมายในการที่จะเป็นโครงการของรัฐหรือรัฐอนุญาตให้มีการจัดการหรือจัดตั้งโรงงานแต่อย่างใด ข้อมูลพ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ได้เป็นเรื่องที่ปกปิดซ่อนเร้นแต่อย่างใดไม่ได้เป็นข้อมูลรับแต่อย่างใดแต่เป็นข้อมูลที่เปิดเผยพี่น้องประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายเพียงแค่มีโทรศัพท์ระบบ android อยู่ในมือกดเข้าไปใน google แล้วก็เข้าไปในที่พ.ร.บ.ผังเมือง กดเข้าไปที่กฎกระทรวงก็จะสามารถชี้ชัดและเห็นอยากเป็นประจักษ์ได้ว่ามีกฎหมายประกอบอย่างชัดเจนในแต่ละจังหวัดนั้นๆ ผมจึงขอตั้งคำถามขึ้นมาว่าอุตสาหกรรมจังหวัดอำนาจเจริญได้อนุญาตให้มีการจัดตั้งโรงงานโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้อย่างไร
นายจำรูญศักดิ์ จันทรมัย ยังได้บอกอีกว่า จากการที่มีโรงงานดังกล่าว เกิดขึ้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ มันทำให้ผมเป็นห่วงเสียเหลือเกินกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีการเพียรพยายามที่จะขออนุญาตเพื่อทำการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลแต่ถูกต้องแจ้งไม่อนุญาตไม่อนุมัติด้วยว่าเป็นพื้นที่เขตพ.ร.บ.สีเขียวซึ่งการก่อสร้างอาคารจะต้องถูกกำหนดและควบคุมหรือไม่สามารถสร้างโรงงานได้ ซึ่งถ้าหากว่ากฎหมายพ.ร.บ.ผังเมืองที่จะออกมาใหม่ล่าสุดปี 2562 จะเริ่มใช้เดือนพฤศจิกายน นี้เอื้อประโยชน์และตอบสนองพรรคพวก แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ห้าหากไม่มีการสนองตอบฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องดี ชาวบ้านโชคดีไป
นายจำรูญศักดิ์ จันทรมัย กล่าวในตอนท้ายว่า เป็นที่น่าเสียดายมากครับ จังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรพื้นที่ที่มีเพียงแค่ลำเซบายกั้นกลางได้เป็นจังหวัดที่ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้ปลูกข้าวหอมมะลิและเป็นข้าวหอมมะลิที่ได้ส่งออกไปหลายประเทศแต่วันนี้พื้นที่ส่วนหนึ่งมากกว่าหลายหมื่นไร่ต้องถูกแปลงด้วยผลประโยชน์จากการออกเงินสนับสนุนให้กับชาวบ้านเพื่อนำไปปลูกอ้อยโดยที่ชาวบ้านมีทุนสำรองทำให้หักเหอาชีพไปปลูกอ้อยแทนข้าวหอมมะลิ ซึ่งมาตรฐาน eha ที่ไปออกรับรองเพื่อให้การเปิดโรงงานอุตสาหกรรมดังกล่าวได้และไม่มีใครเห็นการสรุปผลของ EIAของสิ่งแวดล้อมเขต 12 ที่ควบคุมหลายจังหวัดในพื้นที่โดยเฉพาะอำนาจเจริญไม่มีชาวบ้านทราบถึงผล AIA ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เกิดขึ้นในการประกอบในการก่อสร้างต่างๆที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมประเด็นที่เกิดขึ้นหากมีการปลูกอ้อยซึ่งจะต้องใช้ปุ๋ยเคมีตามมาประเด็นดังกล่าวผู้คัดค้านในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญได้ออกมาสะท้อนให้เห็นว่าปุ๋ยเคมีดังกล่าวจะทำให้ดินเสียและโดยเฉพาะสำคัญหากมีช่วงฤดูน้ำหลากหรืออาจมีน้ำท่วมปุ๋ยเคมีดังกล่าวจะไหลไปตามสายน้ำและพื้นน้ำทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้างกับพื้นดินและจะทำให้พื้นที่ดินส่วนมากที่ใช้ปลูกข้าวหอมมะลิจะเสียลงเราก็จะหมดมูลค่าของข้าวหอมมะลิ เพราะจะกลายเป็นข้าวด้อยราคา

ทีมข่าวเฉพาะกิจ / รายงาน.

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link