ส.ส.มงคลกิตติ์นำทีมพรรคไทยศรีวิไลย์ลงพื้นที่ภาคอีสานตรวจสอบผลกระทบภัยแล้งแนะแนวทางแก้ไขเร่งทำฝนหลวงและธนาคารน้ำใต้ดิน

ส.ส.มงคลกิตติ์นำทีมพรรคไทยศรีวิไลย์ลงพื้นที่ภาคอีสานตรวจสอบผลกระทบภัยแล้งแนะแนวทางแก้ไขเร่งทำฝนหลวงและธนาคารน้ำใต้ดิน
วันนี้ 20 ก.ค.62 ช่วงเวลา 9.30น ส.ส.มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคไทยศรีวิไลย์ พร้อมคณะทำงานลงพื้นที่ รับเรื่องปัญหาน้ำแล้งซึ่งเป็นความเดือดร้อนจากพี่น้องประชาชนชาวเกษตรกรปลูกข้าว ม.7 ต.เลิงใต้ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม โดยมีตัวแทนชาวบ้านผู้นำชุมชนมาร้องเรียนถึงปัญหาเนื่องจาก ตอนนี้ข้าวในนาขาดน้ำมากว่า 2 เดือนแล้ว เริ่มแห้งตายไปกว่า 30-40% แล้ว ปกตินาปีเริ่มต้นปลูก พฤษภาคม-ตุลาคม และ พฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ จะเก็บเกี่ยวเสร็จ ของทุกปี ส่วนนาปรัง เริ่ม มกราคม ถึง มิถุนายน จากการตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูล พอสรุปได้ดังนี้ 1.ช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา ฝนจะทิ้งช่วง ปลายเมษายน ถึง สิ้น กรกฏาคม ของทุกปี 2.น้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ฯ ช่วง ปลายเมษายน 2562 มีอยู่ 73% และ ช่วง 20 กรกฏาคม 2562 เหลือ 23% เขื่อนอื่นๆในภาคอีสานจะมีปริมาณน้ำในเขื่อนเหลือน้อยตามลำดับ เนื่องจากฝนขาดช่วง 3.ช่วง สิงหาคม ถึง พฤศจิกายน ของทุกปี จะมีฝนตกชุก พายุเข้า น้ำป่าไหลหลาก เกิดน้ำท่วม น้ำเต็มเขื่อน เป็นปกติธรรมชาติ 4.หลังจากน้ำหลาก ทุกเขื่อนจะปล่อยน้ำออกจากเขื่อนอย่างเต็มที่ ไม่ค่อยกักไว้ใช้ยามน้ำขาด หรือ ปล่อยมากเกินไป อีกอย่าง ห้วย บึง หนอง คลอง ตาม ตำบล อำเภอ จังหวัด ต่างๆ ไม่มีการขุดให้ลึก เกิดการตื้นเขิน หรือ มีงบขุดแต่ทุจริตกันมาก วิธีการแก้ไขระยะยาว ใช้งบประมาณประหยัด ช่วยเหลือประชาชนจนสำเร็จ คือ การทำธนาคารน้ำใต้ดิน แก้ปัญหา น้ำแล้ง-น้ำท่วม สามารถทำสำเร็จที่อำเภอน้ำยืน จ.อุบลราชธานี และ ที่ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จนน้ำลดกระทันหันสามารถช่วย 13 หมู่ป่าออกมาได้ 5.จุดสำคัญ ช่วงฤดูน้ำหลาก เราไม่ควรปล่อยน้ำจนเต็มที่ ควรเก็บน้ำไว้ตามเขื่อนต่างๆสัก 90% ของปริมาณน้ำเต็มเขื่อน น้ำที่ปล่อยออกช่วงน้ำหลากไปควรเก็บไว้ตาม ห้วย หนอง คลอง บึง แต่น้ำก็ยังไม่พอใช้ช่วง 2.5 เดือน ควรทำธนาคารน้ำใต้ดินเก็บน้ำไว้ตามพื้นที่ต่างๆ ไว้ดึงน้ำมาใช้ตอนฝนขาดช่วง 2.5 เดือน ส่วนฝนเทียมนั้นก็เป็นอีกวิธีที่ใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เหมือนปัจจุบันที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังดำเนินการอยู่ แต่ถ้าผ่านถึงช่วง กลางเดือนสิงหาคม 2562 ฝน พายุ น้ำหลาก ก็จะเริ่มเข้าภาคอีสาน พื้นที่เกษตรก็จะเสียหาย ต้องมาจ่ายค่าชดเชยรายไร่อีกก็เป็นงบจากภาษีประชาชนอีก ซึ่งเราสามารถจัดการให้ความเสียหายให้น้อยลงไปได้กว่า 70% ถ้าเราแก้ไขเป็น มองภาพรวม และไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้จากการประกาศภัยพิบัติ น้ำแล้ง-น้ำท่วม ในการทุจริตงบดังกล่าว ปัญหาก็จะน้อยลง จึงเรียนสรุปมาให้ประชาชนทราบเบื้องต้น

จากนั้นคณะทีมงานได้ลงไปยังจุดที่ 2 บึงกุย พื้นที่2,750 ไร่ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคราม ดูภาวะภัยแล้งที่กินเนื้อที่ 4 ตำบล ณ จุดสะดืออีสานโดยมีนายอำเภอสามารถ หมั่นนอก และนายวิเชียร อุทรส นายกเทศมนตรีตำบล โกสุมพิสัยและคณะที่ให้ข้อมูลการปรับปรุงพื้นที่แบบบูรณาการ ในการทำเป็น Landmark ของจังหวัด โดยมีการปลูกดอกบัวแดง หญ้าแฝก รอบสระ มีการขุดลอกคู คลองทำแก้มลิงและกำจัดวัชพืชบริเวณรอบสระ ซึ่งปัจจุบันใช้มือคราด ยก ไม่มีอุปกรณ์ยกอื่น มีการเสนอแนะให้ทำประตูปิดปากห้วยวังเลา ซึ่งกักเก็บน้ำได้เต็มที่ 4 ล้าน ลูกบาศก์เมตร แต่ตอนนี้น้ำมีเหลือแค่ 20% ตอนนี้มีการทำถนนเป็นผนังกั้นน้ำในตัวในการแก้ปัญหาเบื้องต้นซึ่งน้ำตรงจุดนี้ใช้ได้ทั้งหมดสี่ตำบลในการทำเป็นน้ำประปาแต่สามารถทำการขุดเป็นแบบห้วงๆเท่านั้น ซึ่งต้องอาศัยการบูรณาการจากสามหน่วยงานได้แก่ 1. กรมเจ้าท่า 2. กรมชลประทาน 3. กรมโยธาธิการและผังเมือง
ส่วนแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนนั้นตคณะทำงานของ ส.ส.มงคลกิตติ์ มีความเห็นว่าควรจะมีการทำระบบทำธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อการบรรเทาทุกข์ของพี่น้องประชาชนในเรื่องการปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมซึ่งจะเสนอไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อนำเรื่องดังกล่าวเข้าไปพิจารณาต่อไป

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link