ส.ส.ชูวิทย์ แจง สถานการณ์ปัญหาราคาปาล์มตกต่ำ

ส.ส.ชูวิทย์ แจง สถานการณ์ปัญหาราคาปาล์มตกต่ำ
วันนี้ ( 4 ส.ค.62 ) นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ ส.ส. อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย ประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) เพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาเรื่องปาล์มและยางพารา ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า จากการประชุมของคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) เมื่อเร็วๆนี้ เพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาเรื่องปาล์มและยางพารา โดยได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงและให้ความเห็นต่อการใช้ยางพาราเพื่อสร้างถนนยางพารา และ ใช้น้ำมันปาล์มเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยมี ตัวแทนสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย เข้าชี้แจงด้วย
นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ กล่าวว่า สถานการณ์ปัญหาราคาปาล์มตกต่ำ (คุยกับโรงงานสกัด)
1. น้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ปลายทาง (โรงกลั่น) กก. ละ 14.00 บาท ในขณะที่ ราคาประกาศ/รายงานของ คน. กก.ละ 18.00 บาท ส่งผลทำให้
1.1) โรงสกัดส่วนใหญ่ที่ ซื้อ ผลปาล์ม ราคา กกละ 3.30-3.70 บาท ในช่วงที่ผ่านมาทำให้มีต้นทุนการผลิต CPO ที่สูงกว่ากก. ละ 14 บาท ไม่สามารถขายน้ำมันได้
1.2) โรงกลั่นที่มีคำสั่งซื้อไว้ล่วงหน้าที่สูงกว่า กก.ละ 14.00 บาท จากโรงสกัด ปฏิเสธ การรับน้ำมัน โดยอ้างว่า สต๊อกเต็ม (เริ่มมีการฟ้องร้องกันแล้ว) ทำให้ ปริมาณสต๊อก CPO ที่อยู่ที่โรงสกัดเพิ่มขึ้น (ในขณะที่ผลปาล์มเข้าโรงงานไม่ได้เพิ่มขึ้น)
1.3) ความต้องการใช้ น้ำมันปาล์มดิบ หรือ CPO ของโรงงานไบโอดีเซล ทรงตัว (ไม่เพิ่มขึ้น) แม้ว่าราคา CPO จะลดลงเหลือ กก.ละ 14.00 บาท เพราะโครงสร้างต้นทุน ไบโอดีเซลใช้ราคาอ้างอิง คน. ของ สป.ที่ผ่านมา ซึ่งราคายังสูงอยู่ กก. ละ 18-19 บาท)
2. โรงสกัดมีสต๊อก CPO เพิ่มขึ้น และไม่มั่นใจในราคา CPO ที่จะได้รับ จากผู้ซื้อปลายทาง + ถ่วงน้ำหนักกับสต๊อกน้ำมันในแท็งค์ที่มีต้นทุน CPO สูงกว่า กก.ละ 14 แล้ว จึงต้องปรับราคารับซื้อผลปาล์ม ลดต่ำลง (ต้องทำให้สต็อกน้ำมันในแท็งค์ต่ำกว่า กก. ละ 14 บาท เพื่อให้ขายกับผู้ซื้อปลายทางได้)
3. ราคา by product (เมล็ดใน) ลดลง ต่ำกว่ากก.ละ 8 บาท ทำให้ มีรายได้ไปแบ่งปันกลับไปให้เกษตรกรน้อยลง

กิตติภณ เรืองแสน / ข่าว.

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link