พิธีเปิดโครงการปรับปรุงและพัฒนาระบบตรวจจับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรใหม่


กองบัญชาการตำรวจนครบาลศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02)เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการปรับปรุงและพัฒนาระบบตรวจจับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรใหม่
(Red Light Camera System)

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2562 เวลา 10.30 น.
ณ ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) ชั้น 1 ถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพมหานครกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดย พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รอง ผบช.น. เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการปรับปรุงและพัฒนาระบบตรวจจับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรใหม่ (Red Light Camera System) พร้อมด้วย พล.ต.ต.นิธิธร จินตกานนท์ ผบก.จร., พ.ต.อ.กิตติ อริยานนท์ รอง ผบก.จร. และบริษัท จักรวาลคอมมิวนิเคชั่น ซีสเท็ม จำกัด เข้าร่วมพิธีแถลงข่าว ในวันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2562 เวลา 10.30 น. หัวข้อ “บก.จร. พัฒนาระบบตรวจจับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรใหม่ (Red Light Camera System) ดีเดย์ ตรวจจับจริง เริ่มวันที่ 1 กันยายน 2562 เป็นต้นไป” จึงขอประชาสัมพันธ์ข่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการจราจร ในการพัฒนาระบบตรวจจับรถฝ่าฝืน
สัญญาณไฟจราจรใหม่ (Red Light Camera System) นี้ ให้ทราบโดยทั่วกัน ปัจจุบันเกิดปัญหาอุบัติเหตุในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะมีผู้ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร เป็นจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรได้พยายามกวดขันจับกุมผู้ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรอย่างเต็มที่ จากสถิติการจับกุมเดือนกรกฏาคม 2562 ได้จำนวน 1,932 ราย แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีผู้ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรเป็นจำนวนมาก ส่งผลทำให้เกิดอุบัติเหตุและปัญหาการจราจรติดขัดเป็นอย่างมาก ตามนโยบายของรัฐบาลไทยแลนด์ 4.0 ได้สั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเพิ่มความเข้มในมาตรการความปลอดภัยบนท้องถนน และมีนโยบายให้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับลดปัญหาการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และการโต้แย้งเผชิญหน้าระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับประชาชน รวมทั้งป้องกันการทุจริตของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ดังนั้น กองบัญชาการตำรวจนครบาล โดย กองบังคับการตำรวจจราจร จึงได้มีการจัดทำโครงการปรับปรุงและพัฒนาระบบตรวจจับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร (Red Light Camera System) เพื่อเป็นการบังคับใช้กฎหมาย ป้องกันการกระทำความผิด ลดอุบัติเหตุ และลดปัญหาการจราจรติดขัดจากพฤติกรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งในการพัฒนาระบบในครั้งนี้
ได้ดำเนินการย้ายจุดติดตั้งใหม่ จำนวน 7 จุด เนื่องจากจุดเดิม มีการก่อสร้างสาธารณูปโภคและเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ โดยที่ยังคงจุดติดตั้งเก่าไว้ จำนวน 23 จุด ทำให้มีจุดติดตั้งในปัจจุบัน ทั้งหมด
30 จุด รวมทั้งมีการพัฒนาระบบปฏิบัติการให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น สามารถตรวจจับรถฝ่าฝืนด้วยระบบอัตโนมัติ ตรวจจับรถได้ทุกประเภท ทั้งในกลางวันและกลางคืน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรุงเทพมหานคร ในการปรับปรุงและพัฒนาระบบตรวจจับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรใหม่ (Red Light Camera System) มีจุดติดตั้งทั้งหมด 30 จุด ได้แก่

  • แยกซังฮี้
  • แยกพญาไท ขาเข้า
  • แยกพญาไท ขาออก
  • แยกอุรุพงษ์
  • แยกเหม่งจ๋าย
  • แยกอโศกเพชร
  • แยกประชานุกูล
  • แยกรัชดา – ลาดพร้าว
  • แยกร่มเกล้า
  • แยกโชคชัย4 ขาเข้า
  • แยกโชคชัย4 ขาออก
  • แยกนิด้า
  • แยกประเวศ
  • แยกโพธิ์แก้ว
  • แยกคลองตัน
  • แยกรัชดา – พระราม 4
  • แยกศุลกากร
  • แยกวิทยุ – เพลินจิต
  • แยกอโศก – สุขมุวิท
  • แยกอังรีดูนังต์
  • แยกตากสิน
  • แยกบ้านแขก
  • แยกหน้าห้างพาราไดซ์
  • แยกประดิพัทธ์ ขาเข้า
  • แยกประดิพัทธ์ ขาออก
  • แยกศรีนครินทร์ – พัฒนาการ
  • แยกนรินทร ขาเข้า
  • แยกนรินทร ขาออก
  • แยกสาทร ขาเข้า
  • แยกสาทร ขาออก
    โดยก่อนถึงจุดตรวจจับจะมีป้ายแจ้งเตือน 2 ระยะ คือ ในระยะ 100 เมตร และ 50 เมตร ก่อนถึงจุดตรวจจับ ในส่วนของระบบการตรวจจับในแต่ละจุด ประกอบไปด้วยกล้อง 2 – 3 ตัว
    ทำงานอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง มีความคมชัดและความละเอียดสูง ประกอบด้วยกล้อง Overview ความละเอียด 4K หรือ 12 ล้านเมกกะพิกเซลล์ และกล้องตรวจจับ ความละเอียด 2 ล้านเมกกะพิกเซลล์ รวมทั้งติดตั้งอินฟาเรด (Inferred) สามารถตรวจจับได้ทั้งในกลางวัน กลางคืน และทุกสภาพอากาศ สามารถบันทึกข้อมูลเก็บไว้ได้ไม่น้อยกว่า 2 เดือน ระบบจะดำเนินการตรวจจับ เมื่อพบการกระทำความผิด กล้องจะทำการบันทึกข้อมูลทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ผ่านระบบส่วนหน้า RLC (Red Light Camera Analytic) จากนั้นส่งภาพทั้งหมด และข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งกลับมายังศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) ซึ่งเป็นระบบส่วนหลัง RLCT (Red Light Camera Ticket) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของทะเบียนรถ, ยี่ห้อ, รุ่น และสีของรถ หากถูกต้องครบถ้วน
    จะดำเนินการออกใบสั่งและส่งไปยังระบบ PTM (Police Ticket Management) ของธนาคารกรุงไทย เพื่อออกใบสั่งแบบอัตโนมัติ จากนั้นจะยืนยันความถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชา
    เพื่อส่งไปยังผู้ครอบครองหรือเจ้าของรถภายใน 7 วัน นอกจากนี้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรถสามารถตรวจสอบความผิดย้อนหลังผ่านเว็ปไซท์ URL หรือทาง เวปไซท์ บก.จร. WWW.trafficpolice.go.th ด้วยรหัสผ่านที่ระบุท้ายใบสั่งได้ โดยสามารถบันทึกข้อมูลของผู้กระทำผิดเก็บไว้ได้ไม่น้อยกว่า 1 ปี จากสถิติการทดลองตรวจจับตั้งแต่วันที่ 1 – 25 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา พบผู้ฝ่าฝืนจำนวนทั้งสิ้น 22,260 รายต่อเดือน เฉลี่ย 890 รายต่อวัน ส่วนใหญ่ฝ่าฝืนในช่วงเวลากลางวันมากที่สุด 15,728 ราย (70%) รองลงมาช่วงเวลากลางคืน 6,532 ราย (30%) พบว่าแยกรัชดา – พระรามสี่มีผู้ฝ่าฝืนมากที่สุด จำนวน 3,082 ราย (13.84%) รองลงมาแยกนรินทร (ขาออก) จำนวน 2,534 ราย (11.38%) และแยกตากสิน จำนวน 2,163 ราย (9.71%) ตามลำดับ ส่วนในช่วงเวลากลางคืน พบว่าแยกรัชดา – พระรามสี่ มีผู้ฝ่าฝืนมากที่สุด จำนวน 1,288 ราย (19.71%) รองลงมาแยกอโศกเพชร จำนวน 972 ราย (14.88%) และแยกนรินทร (ขาออก) จำนวน 939 ราย (14.37%) ตามลำดับ สำหรับความผิดดังกล่าวเป็นข้อหาฝ่าฝืนสัญญาไฟจราจร ตาม พรบ.จราจรทางบก
  • พ.ศ.2522 มาตรา 22(2) ประกอบมาตรา 152 มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ในเบื้องต้น บก.จร. จะทำการเปรียบเทียบปรับ 500 บาท โดยสามารถชำระค่าปรับผ่านเคาน์เตอร์และตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศ หรือผ่านบริการ KTB netBank หรือสถานที่ที่ระบุไว้ในใบสั่ง นอกจากนี้ยังอาจถูกตัดคะแนนอีกด้วย ดังนั้น บก.จร. จะดำเนินการตรวจจับรถฝ่าฝืนฯ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 เป็นต้นไป และขอประชาสัมพันธ์ หากเข้าพื้นที่ดังกล่าวขอให้พี่น้องประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด บก.จร. คาดหวังว่า หลังจากมีการบังคับใช้กฎหมายแล้ว สถิติการฝ่าฝืนจะลดลง ก็จะทำให้ลดอุบัติเหตุและปัญหาการจราจรได้ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม แจ้งอุบัติเหตุ และแจ้งปัญหาการจราจร สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) ทางเวปไซท์ http://www.trafficpolice.go.th และ สายด่วนจราจร โทรศัพท์ 1197 และแอพพริเคชั่น M-Help Me

จตุรอาชารายงาน

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link