ผลวิจัยปลดล็อคส่งออกมะม่วงไป USA

ผลวิจัยปลดล็อคส่งออกมะม่วงไป USA

วช.ร่วมหลายหน่วยงาน เผยผลวิจัยปลดล็อคส่งออกมะม่วง ไปอเมริกา หลังต่อสู้การแก้ปัญหา ยาวนานกว่า 12 ปี

ในวันพุธที่ 11 กันยายน 2562 ณ ห้องวิภาวดี C โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 สหรัฐอเมริกาได้อนุญาตให้นำเข้าผลไม้สด (Fresh Fruit) ของไทย 6 ชนิด ได้แก่ มะม่วง ลำไย มังคุด ลิ้นจี่ เงาะ และสับปะรด โดยจะต้องได้รับการฉายรังสีก่อนส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา นับเป็นการเปิดตลาดผลไม้ไทยที่สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ประเทศชาติ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองแม้เป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ทำรายได้ให้กับประเทศไทย สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศ โดยมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเป็นสายพันธุ์ที่มีความต้องการของตลาดสูง เนื่องจากมีลักษณะเด่น คือ เมื่อผลสุกผิวของเปลือกมีสีเหลืองนวลถึงเหลืองทอง เนื้อสีเหลืองมีกลิ่นหอม จึงเป็นที่ต้องการของตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา แต่ปรากฏว่านับตั้งแต่เริ่มส่งออกในปี พ.ศ. 2551 การส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง หลังฉายรังสีและส่งออกไปถึงปลายทางที่สหรัฐอเมริกา ได้ประสบปัญหาด้านคุณภาพ และพบปัญหาการเกิดเส้นดำบริเวณผิวเปลือก และเกิดเนื้อสีน้ำตาล ส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณส่วนแก้มของผล ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถส่งออกผลมะม่วงสดไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาได้จนถึงปัจจุบัน

ศาสตราจารย์นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้แถลงถึงผลการศึกษา“วิจัยปลดล็อคส่งออกมะม่วงไปสหรัฐอเมริกา” โดยระบุว่า สิ่ง ที่เกิดขึ้นนี้ จึงเป็นการสร้างความเข้าใจ และ องค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและเพื่อต่อยอดให้กับกลุ่มธุรกิจและผู้ประกอบการที่ต้องการขยายตลาดการค้าผลไม้สดของไทยสู่สหรัฐอเมริกา และ ตลาดต่างประเทศอื่นๆต่อไป

จากปัญหาดังกล่าว นักวิจัย จึงได้ทำโครงการศึกษาวิจัยมะม่วงให้ได้คุณภาพ มาตรฐานส่งออก เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพหลังการฉายรังสีแกมมา และการลดความเสียหายของมะม่วงฉายรีงสีแกมมา ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ,สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) BEDO ,มหาวิทยาลัยนเรศวร และ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ งานวิจัยประสบผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2562 การส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองสามารถส่งออกสู่ตลาดสหรัฐอเมริกาได้อย่างเต็มความภาคภูมิ และ ได้รับการรับรองจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link