ศอ.บต.ขับเคลื่อน เขตอุตสาหกรรมแห่งอนาคต นำผู้แทนภาคประชาชน ดูการพัฒนา ครบวงจรที่มาเลเซีย


รายงานพิเศษ
ศอ.บต.ขับเคลื่อน เขตอุตสาหกรรมแห่งอนาคต นำผู้แทนภาคประชาชน ดูการพัฒนา ครบวงจรที่มาเลเซีย
ปัจจัยหนึ่ง ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ที่ทำให้การลงทุน ในพื้นที่ของภาคใต้ตอนล่าง ไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร สืบเนื่องจาก ผู้ประกอบการ หรือ”นักลงทุน” ยกขึ้นมาเป็น”ข้ออ้าง” ในทุกครั้ง ที่มีการ นำเสนอเรื่องการ”ลงทุน” ในพื้นที่ คือเรื่องของ”โลจิสติส” หรือเรื่องของการ”ขนส่ง”สินค้าออกไปยังต่างประเทศ
เพราะปัจจุบัน การ”ส่งออก”ของประเทศยังต้องพึ่งพาประตูจากตอนบน นั้นคือ “ท่าเรือแหลมฉบัง” และอีกทางเลือกของ สินค้าในภาคใต้คือ”ท่าเรือปีนัง” ประเทศมาเลเซีย เป็นเหตุให้นักลงทุน หรือผู้ประกอบการ ลดความสามารถในการแข่งขัน เพราะค่าขนส่งที่สูงขึ้น ทำให้ ราคาสินค้าสูงขึ้น สู้กับประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้
ดังนั้น นักลงทุน ผู้ประกอบการทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคเอกชนที่พร้อมที่จะลงทุนในพื้นที่ จ.สงขลา และ ใกล้เคียง จึงเสนอผ่าน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ให้ทำการ”ขับเคลื่อน” เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ที่ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เพื่อเป็นประตูทางออกที่ 3 หรือ เกตเวย์ แห่งที่ 3 ของประเทศไทย
นั่นคือที่มา ของ สามเหลี่ยม มั่นคง มั่นคั่ง แห่งที่ 4 ที่ ผลักดันโดย ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในชื่อว่า”เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมในอนาคต” ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุด สำหรับเมืองต้นแบบที่ 4 คือการ ผลักดันให้เกิดขึ้นของ ท่าเรือน้ำลึก แห่งที่ 2 ของ จังหวัดสงขลา เพื่อเป็น ประตูทางออกที่ 3 ของประเทศไทย


ซึ่ง การ ผลักดัน ให้เกิดท่าเรือน้ำลึกแห่งที่ 2 ของ จังหวัดสงขลานั้น ภาคเอกชน ทั้ง นักลงทุน ผู้ประกอบการ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า ต่างพยายาม ผลักดัน มาแล้วในหลายรัฐบาล แต่ไม่ประสพความสำเร็จ ซึ่งอาจจะเกิดจากความ”อ่อนด้อย” ของ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ตั้งแต่ ผู้มีหน้าที่ในระดับจังหวัด จนถึง กรมเจ้าท่า กระทรวง คมนาคมซึ่งเป็น”เจ้าภาพ” ที่ยังไม่สามารถ ทำความเข้าใจ กับคนในพื้นที่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ “ท่าเรือน้ำลึก” แห่งที่ 2 ของ จังหวัดสงขลา และประตูการส่งออกแห่งที่ 3 ของประเทศ
เพราะทุกครั้ง ที่ภาครัฐ หรือภาคเอกชน ออกมา”ขับเคลื่อน” เรื่องการสร้างท่าเรือน้ำลึก เพื่อการส่งออก ที่ อำเภอจะนะ หรือที่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา องค์กรพัฒนาเอกชน หรือ เอ็นจีโอ ก็จะ ชิง ออกมา”ขับเคลื่อน” โดยอาศัย มวลชน”จัดตั้ง” คัดค้านไม่เห็นด้วย โดยอ้างในเรื่องการทำลาย สิ่งแวดล้อม และเรื่อง มลภาวะ สุภาพ อนามัย ที่คนในพื้นที่จะได้รับ จนทำให้การ “ขับเคลื่อน” เพื่อสร้าง ท่าเรือ ถูก”แช่แข็ง” เอาไว้ จนเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ นักลงทุน ผู้ประกอบต้อง”เบนเข็ม” ไปลงทุนในพื้นที่อื่น หรือไม่ก็”กัดฟัน” ในการ ส่งออก สินค้าไปทาง ท่าเรือ ปีนัง โดยยกผลประโยชน์ให้กับ ประเทศมาเลเซีย เพราะไม่มีทางออก ที่ดีกว่า นั่นเอง


พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่ง ณ วันนี้ คือ”เจ้าภาพ” ตัวจริง ในการที่ต้อง”ขับเคลื่อน” เมืองต้นแบบที่ 4 ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า การพัฒนาในพื้นที่ จะเกิดขึ้นได้ ปัจจัย สำคัญคือ ต้องมีการสร้างท่าเรือน้ำลึก ที่ อำเภอจะนะ จ.สงขลา ให้เกิดขึ้นก่อน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับ นักลงทุน ให้เขามีพื้นที่ในการแข่งขัน นั่นคือการลดลงของค่าขนส่งสินค้าเพื่อการ”ส่งออก” เมื่อมีท่าเรือเกิดขึ้นจริง อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เป็น อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก็จะตามมา
อย่าลืมว่า ปัจจุบันมีสินค้ากว่า 300,000 ตู้ ที่ถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ ด้วยท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือปีนัง ประเทศมาเลเซีย และในอนาคตจะมีสินค้าจากนิคมอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น 500,000 ตู้ต่อปี ซึ่งรวมกันเป็น 800,000 ตู้ ดังนั้นถ้า จ.สงขลา มีท่าเรือน้ำลึกแห่งที่ 2 และเป็น ประตูเพื่อส่งออกแห่งที่ 3 ของประเทศ ก็จะมองเห็น อนาคต ของเห็น”ศักยภาพ” ของพื้นที่อย่างชัดเจน
วันนี้ สิ่งที่ ศอ.บต. ได้ดำเนินการ”ขับเคลื่อน” เพื่อการ สนับสนุนให้เกิดท่าเรือน้ำลง เพื่อเป็นประตูส่งออกที่ 3 ของประเทศ คือ ขบวนการสร้างความรับรู้ สร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะในกลุ่ม”ผู้นำ” เพื่อให้ เข้าใจ และ รับรู้ ร่วมคิด ร่วมคุย ในโครงการที่ ศอ.บต. กำลังขับเคลื่อน อย่างจริงจัง
โดยการนำ ผู้นำ ประชาชน ผู้นำองค์กรภาคเอกชน ในพื้นที่ ไปศึกษาดูงาน ในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซีย เพื่อให้เขาเห็นของจริง เห็นตู้คอนเทนเนอร์ จากประเทศไทย เป็นจำนวนมาก ที่ต้องอาศัยการส่งออกจากท่าเรือปีนัง ซึ่งเป็นการเสียโอกาสในการพัฒนาของประเทศไทย


ให้เขาไปเห็น นิคมอุตสาหกรรม ในเขตนิคมอุตสาหกรรมในประเทศมาเลเซียที่ใหญ่ที่สุดในรัฐมะละกา การพัฒนาพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในรัฐเปรัค การพัฒนาศูนย์กลางโลจิสติกส์ ด้านการขนส่งทางน้ำ ควบคู่กับการพัฒนาและการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่เกาะปีนัง รวมทั้งการพัฒนาศูนย์การค้า การบริหารการท่องเที่ยวของแต่ละรัฐในประเทศมาเลเซีย เพื่อได้สัมผัสกับ บรรยากาศ ที่เป็นจริง พบกับประชาชนที่อาศัยอยู่ รอบๆ นิคมอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในรัฐมะละกา ว่าความเป็นอยู่ของเขาเป็นอย่างไร ก่อนที่จะมี นิคมอุตสาหกรรม ชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร สิ่งแวดล้อม มีผลกระทบหรือไม่ มี มลภาวะ เกิดขึ้น ที่กระทบกับ สุขภาพ อนามัย อย่างไรบ้าง ให้ ตัวแทนจากท้องถิ่น ได้มีโอกาส”พูดคุย” กับคนในชุมชน ที่อยู่ร่วมกับ นิคมอุตสาหกรรม ให้เขามีโอกาส”สื่อสาร” กันเอง เพื่อที่จะได้ รับรู้ข้อเท็จจริง โดยที่ไม่มีการ “จัดฉาก” แต่อย่างใด
สถานที่ ซึ่ง ศอ.บต. นำผู้นำชาวบ้าน ผู้นำองค์กรภาคประชาชนไป ดูของจริงในประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ท่าเรือส่งออก ท่าเรือท่องเที่ยว นิคมอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าถ่านหิน และอื่นๆ ซึ่งนอกจากได้”สื่อสาร” จาก ผู้คนในพื้นที่ ที่เป็นที่ตั้ง ของ นิคมอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าถ่านหิน และ ท่าเรือต่างๆ แล้ว ยังมีการ บรรยายจาก หน่วยงานเหล่านั้น ถึงการ บริหารจัดการ ในเรื่องของ มลภาวะ ในเรื่องของ สิ่งแวดล้อม ว่า ในยุคสมัยปัจจุบัน ซึ่งมีเทคโนโลยีทันสมัย ในการ ป้องกัน และ จัดการ อย่างไร เพื่อให้เห็นถึง การพัฒนา ที่เดินไปพร้อมกันในทุกด้าน และที่สำคัญ คนในพื้นที่ ได้รับประโยชน์ จากการพัฒนาอย่างไร
ซึ่ง ศอ.บต. เชื่อว่า การนำตัวแทนประชาชน ตัวแทนภาคเอกชน ไปสัมผัสกับของจริง ที่ประเทศเพื่อนบ้าน ในครั้งนี้ และในครั้งต่อๆไป จะเป็นประโยชน์ต่อการ”ขับเคลื่อน” เมืองต้นแบบที่ 4 เมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ของอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เพื่อเป็น ปากเสียง ของ ศอ.บต. ในการ บอกเล่า กับคนในพื้นที่ และสามารถที่จะ เห็นด้วย ในการ ยกระดับ พื้นที่ และ คุณภาพชีวิต ให้ไปสู่หนทางแห่งความ”มั่นคง” ของ ตนเอง และ ครอบครัว

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link