ราชบุรี ข่าว – ผู้ว่าฯเข้าตรวจสอบที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า หลังมีข่าวเรื่องเสือตายเยอะ

ราชบุรี ข่าว – ผู้ว่าฯเข้าตรวจสอบที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า หลังมีข่าวเรื่องเสือตายเยอะ

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 16 ก.ย. 62 นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี พร้อมด้วย นางวรรณี วัฒนพงษ์ชาติ ปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี นายประยงค์ จันทเต็ง นายอำเภอจอมบึง และ พ.ต.อ.พายัพ สมบูรณ์ ผกก.สภ.จอมบึง ได้เดินทางเข้าไปที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประช้าง ต.ปากช่อง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี หลังมีข่าวเรื่องเสือโคร่งซึ่งเป็นสัตว์ป่าของกลางที่มีการขนย้ายมาจากวัดป่าหลวงตาบัวฯ จ.กาญจนบุรี เพื่อนำมาเก็บรักษาไว้ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า เขาประทับช้าง และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน ต.รางบัว อ.จอมบึง รวม 147 ตัว ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2559 และได้ทยอยตายไปแล้วจำนวน 86 ตัว โดยที่สถานีเพาะเลี้ยงเขาสนตาย 54 ตัว ส่วนที่สถานีเพาะเลี้ยงเขาประทับช้างตาย 32 ตัว เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงและสอบถามสาเหตุการตายของเสือจำนวนมากด้วย

โดยได้พบกับนายบรรพต มาลีหวล หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง ได้ให้ข้อมูลว่า เสือที่ถูกนำมาเก็บรักษาที่นี่เป็นเสือโคร่งสายพันธุ์ไซบีเรีย ที่เกิดจากการเพาะพันธุ์ในครอบครัวเดียวกันจนเลือดชิดที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ได้ทยอยตายไปตั้งแต่เริ่มขนย้ายมา ซึ่งทางสถานีได้มีการนำซากเสือที่ตายไปทำการตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุของการตาย ก็พบว่าสาเหตุที่ทำให้เสือตายนั้นเนื่องจากมีอาการเครียดจากการขนย้าย ทำให้สุขภาพของสัตว์อ่อนแอ ทำให้ลิ้นกล่องเสียงบวม และเสือก็จะหายใจไม่สะดวกจนสุดท้ายก็ตายได้ และมีอาการของโรคหัดสุนัขในกลุ่มเสือ ที่สามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหลังจากที่เสือของกลางตายได้ไปแจ้งความ ลงบันทึกประจำวันที่ สภ.จอมบึงไว้แล้ว และเก็บรักษาซากเพื่อการตรวจสอบ และบางส่วนก็ทำการฝังตามหลักวิชาการแล้ว ในเสือตัวที่ยังอยู่ก็ได้มีการฉีดวัคซีนและให้ยาบรรเทาอาการไปแล้ว โดยจะพยายามยื้อเวลาให้นานที่สุด หลังจากนำมาดูแลเสือได้ทยอยล้มตายทั้ง 2 แห่งรวมแล้วจำนวน 86 ตัว ทางสัตวแพทย์จากกรมอุทยานแห่งชาติฯจะเข้าไปประเมินสุขภาพเบื้องต้นก่อน พร้อมกับเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสุขภาพของเสือแต่ละตัวว่ามีความสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน โดยหลังจากขนย้ายเสร็จแล้วก็จะให้สัตวแพทย์ที่ขนย้ายกับสัตวบาลประจำสถานีเฝ้าสังเกตพฤติกรรมและสุขภาพของเสือที่มาอยู่ใหม่เป็นเวลา 30 วัน พบว่าเสือโคร่งจำนวน 40 ตัว มี อาการหอบ หายใจดังติดขัด มีอุจจาระเหลว สีคล้ำจนถึงดำถือว่ายังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสาเหตุใด เรื่องการหายใจเสียงดังหอบเป็นภาวะทางระบบทางเดินหายใจ ส่วนเรื่องอึเหลวถึงดำอาจจะเป็นภาวะความเครียดได้ดูพฤติกรรมอาการไปครบ 30 วัน สามารถปรับพฤติกรรมการอยู่ในกรงเลี้ยงได้ เริ่มเข้ากับคนเลี้ยงและกรงใหม่ได้ หลังจากนั้นมีการดูแลอย่างต่อเนื่องตามหลักวิชาการโดยมีสัตวแพทย์คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและส่วนที่เกี่ยวข้อง สาเหตุ หลักๆที่ตายก็เป็นเรื่องลิ้นกล่องเสียงบวม หรือจะเรียกว่าอัมพาตลิ้นกล่องเสียง เป็นอาการที่เกิดขึ้นในภาวะอากาศร้อนหรือมีความเครียดสูง เวลามีอากาศร้อนตัวลิ้นกล่องเสียงจะบวมแล้วจะปิดแล้วทำให้สัตว์หายใจลำบาก จะมีอาการชัก ทุรนทุรายและตายในที่สุดเป็นเสือตัวแรกที่ตาย มีการส่งตัวอย่างไปตรวจที่ศูนย์พัฒนาการสัตวแพทย์ตะวันตก อ.โพธาราม ช่วงนั้นยังไม่ได้สงสัยอะไรมากนัก แค่ตรวจว่ามีเชื้อระบาดหรือไม่ จนมาทยอยตายได้ประมาณ 1 ปี โดยช่วง 1 ปี จะตายติดต่อกัน 2 ตัว เลยสงสัยเนื่องจากมีอาการตายเหมือนกัน จึงปรึกษาทีมแพทย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อขอนำซากทั้งตัวไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการที่มหาวิทยาลัยมหิดล ผลการตรวจออกมาแจ้งมาว่า นอกจากอาการของอัมพาตลิ้นกล่องเสียง ยังได้พบไข้หัดสุนัขอยู่ประมาณจำนวน 11 ตัว แต่ระหว่างที่ทางมหาวิทยาลัยมหิดลมาตรวจพบเชื้อตัวแรกทางทีมงานศูนย์เฝ้าระวังระบาดโรคของมหาวิทยาลัยมหิดลลงพื้นที่เพื่อสุ่มตรวจโรคว่ามีสาเหตุมาจากอะไร พร้อมได้ให้คำแนะนำวิธีการดูแลรักษา ช่วงนี้จึงมีการรักษาอย่างต่อเนื่องของเสือ 11 ตัวนี้ประมาณ 1 ปี ซึ่งได้ดูแลรักษาให้ยาสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวสัตว์ได้ เพราะโรคภาวะติดเชื้อไวรัสนี้ไม่มีทางรักษา อาการเกิดโรคจะไม่หายทำอย่างไรให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันที่สามารถต้านเชื้อไวรัสตรงนี้ได้ เราจะต้องพยายามสร้างภูมิคุ้มกัน และปัจจัยเรื่องอากาศร้อนหรือความเครียดต่างๆ ได้พยายามป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ กรณีเรื่องความร้อนได้พยายามติดสปริงเกอร์ พร้อมไอพ่นหมอกให้บริเวณกรง และพยายามให้คนเข้าไปน้อยที่สุด เพื่อลดความเครียดของสัตว์ สามารถที่จะช่วยชีวิตสัตว์นี้ได้

สุจินต์ นฤภัย(เต้)

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link