ราชบุรี – ผู้เลี้ยงสุกรไม่หวั่นแม้จะมีคำสั่งประกาศให้ราชบุรี เป็นเขตที่เสี่ยงต่อโรคอหิวาในหมู


วันที่ 24 ก.ย.62 จากที่องค์การสุขภาพสัตว์โลก ได้รายงานการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ซึ่งนับวันจะเพิ่มการระบาดมากขึ้น และประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาดของโรคอหิตวาห์แอฟริกาในสุกร เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายสัตว์ ซากสัตว์ รวมถึงมีโอกาสที่เชื้อจะปนเปื้อนกับคนและอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากสุกรที่ไม่ผ่านการปรุงสุก หากมีการระบาดเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคระบาดในสุกรที่มีความรุนแรงและก่อให้เกิดความเสียหายต่อสุกรทุกกลุ่มอายุ และในปัจจุบันก็ยังไม่มีวัคซีนหรือยาที่ใช้ในการป้องกันและรักษาโรค

นอกจากนี้ทางกรมปศุสัตว์ยังมีผลจากการประเมินความเสี่ยงของพื้นที่ที่อาจจะเกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ซึ่งพบว่าจ.ราชบุรี ก็เป็นจังหวัดที่มีการเลี้ยงสุกรเป็นอันดับ 1 ของประเทศ และมีพื้นที่ที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาดของโรคได้ ทางจังหวัดราชบุรี โดยนายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 ประกาศให้ จ.ราชบุรี เป็นเขตเฝ้าระวังโรคระบาด และห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ เข้า ออก ผ่านหรือภายในเขตเฝ้าระวังโรคระบาด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบประจำเขตนั้น ในทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้าย หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงสุกร

ด้านนางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ส.ส.ราชบุรี เขต 2 ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า จากกรณีที่มีประกาศจากจังหวัดราชบุรี ได้ประกาศเกี่ยวกับเรื่องการห้ามขนย้ายสุกรในจังหวัดราชบุรี ซึ่งมองว่าเป็นสิ่งที่ดี ส่วนมากสุกรจากฟาร์มในจังหวัดราชบุรีส่นวใหญ่จะเป็นฟาร์มมาตรฐาน ถ้ามีการขนย้ายทุกครั้งก็จะมีใบอนุญาติที่ถูกต้อง ส่วนการนำเข้ามาก็มีใบอนุญาติที่ถูกต้องเช่นกัน ซึ่งการออกประกาศในครั้งนี้มองว่าท่านผู้ว่าราชการจังหวัดท่านคงมีความเป็นห่วงเกี่ยวกับเรื่อง ในพื้นที่จังหวัดราชบุรีติดกับชายแดนอาจมีการติดต่อแพร่ระบาดได้ ซึ่งในการออกประกาศนี้ไม่ได้ทำความหนักใจให้กับฟาร์มสุกร เพราะว่าทุกๆฟาร์มในจังหวัดราชบุรี ได้เตรียมการเตรียมความพร้อมในการป้องกันโรค AFS อย่างเต็มระบบอยู่แล้ว ซึ่งในแต่ละฟาร์มมีเครื่องมือและเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการอบรมในการดูแลเรื่องโรค AFS นี้อยู่แล้ว แต่ที่ผู้ว่าฯท่านยังคงเป็นห่วงคือจังหวัดราชบุรี มีการเลี้ยงสุกรเป็นจำนวนมาก ถือเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ซึ่งถือเป็นเศรษฐกิจที่ต้องช่วยกันดูแล ถ้าธุระกิจต้องนี้มีปัญหาอาจโยนไปถึงเศรษฐกิจของพืชไร่ด้วย ส่วนการเคลื่อนย้ายสุกร เรายังมีการเคลื่อนย้ายตามปกติแต่ต้องมีการขอใบอนุญาติ ซึ่งที่ผ่านมาการเคลื่อนย้ายสุกรนำเข้าจากประเทศต่างๆ หรือจะเคลื่อนย้ายไปจำหน่ายเราก็มีการขอใบอนุญาติอยู่แล้ว ประกาศที่ทางจังหวัดออกมานี้ จึงไม่ทำผลกระทบให้กับฟาร์มสุกร

สุจินต์ นฤภัย(เต้)

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link