ราชบุรี – อจน. เตรียมเซ็นสัญญา ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองราชบุรี

เมื่อวันที่11 ต.ค.62 นายประกอบ วงศ์มณีรุ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี พร้อมด้วยนางสาวกุลวลี นพอมรบดี ส.ส.เขต 1 ราชบุรี นายมานิต นพอมรบดี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายสุชัย เจนพจารถ รองผู้อำนวยการวิชาและแผน ปฏิบัติการแทนผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย และนายภูวนารถ สุภาพเพชร ปลัดเทศบาล ปฎิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่บริเวณจุดปล่อยน้ำเสียของชุมชนวัดช่องลม และจุดบำบัดน้ำเสียของชุมชนบริเวณสะพานราชานุเคราะห์ ซึ่งมีเครื่องบำบัดน้ำเสียแต่ไม่สามารถใช้การได้ และบริเวณบ่อบำบัดน้ำเสีย เทศบาลเมืองราชบุรี เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหามลภาวะน้ำเสียของชุมชนอย่างยั่นยื่น โดย องค์การจัดการน้ำเสีย หรือ อจน. เข้ามาทำแผนบริหารจัดการระยะยาวเพื่อวางรากฐานที่ยั่งยืนในการบำบัดน้ำเสีย ตั้งแต่การประเมินงบประมาณในการซ่อมแซมปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่แต่เดิมให้สามารถใช้การได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทาง อนจ. จะจัดทำข้อตกลงกับทางเทศบาลเมืองราชบุรี การให้บริการรับบริหารและจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อเข้าบริหารจัดการระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียของเทศบาล โดยทาง อนจ.จะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหางบประมาณในการซ่อมแซมปรับปรุงระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียให้มามารถเดินระบบได้อย่างมีประสิทธภาพ

สำหรับข้อตกลงนั้นทาง อจน.จะบริหารจัดการอย่างเต็มรูปแบบ ระยะเวลา 15 ปี โดยมีข้อผูกพันงบประมาณให้กับเทศบาลต้องสมทบค่าใช้จ่ายแก่ อจน. ในกรณีที่เทศบาลยังไม่สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมน้ำเสียได้ เนื่องจากยังไม่มีเทศบัญญัติจัดเก็บฉบับใหม่ หรือจัดเก็บได้แต่ไม่เพียงพอ โดยในปีแรกค่าใช้จ่ายทั้งหมดทาง อจน.เป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนปีที่ 2 ถึงปีที่ 4 เทศบาลต้องจ่ายเงินสมทบให้ อจน.ตามค่าใช้จ่ายที่จ่ายจริง “หลังจากปีที่ 5 กรณีที่ไม่สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมบริหารจัดการน้ำเสีย หรือจัดเก็บได้แต่ไม่เพียงพอนั้น ค่าใช้จ่ายส่วนที่ไม่เพียงพอทางเทศบาลจะร่วมรับผิดชอบกับ อจน.ในสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน โดยเทศบาลจะจ่ายเงินสมทบของแต่ละปีให้ในปีถัดไป”

นายประกอบ วงศ์มณีรุ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี กล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัด ให้มาร่วมกับคณะ โดยท่าน ส.ส.กุลวลี นพอมรบดี ทางท่านได้นำ อจน. องการน้ำเสีย ต้องการจัดการน้ำเสีย เข้ามาในพื้นที่มาดูเรื่องระบบน้ำเสียจังหวัดราชบุรีซึ่งตอนนี้น้ำเสียจะคุมพื้นที่ในเขตเทศบาล เราก็จะมาดูว่าน้ำเสียที่ลงแม่น้ำแม่กลองมีจุดไหนบ้าง ก็ได้ไปดูที่แถวคลองวัดช่องลม และมาดูที่คลองฝรั่ง และเข้ามาดูระบบบำบัดน้ำเสีย มาตรวจดูว่าการดำเนินการน้ำเสียที่ได้มีการบำบัดมีผลเป็นอย่างไร ซึ่งจริงๆแล้วก็ได้ข้อมูลมาว่าในการดำเนินการน้ำเสียในระบบจริงๆแล้วในปัจจุบันในช่วงหน้าแล้งจะมีน้ำเสียที่เข้าระบบประมาณ6,000ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และจากระบบจริงๆจะรับน้ำเสียได้ถึง20,000ลูกบาศก์เมตรต่อวัน จริงๆแล้วในเรื่องน้ำเสียที่มีการล้นออกไป ก็จะเห็นได้จากคลองวันช่องลม เนื่องจากว่าน้ำเสียมีการเพิ่มมากขึ้น แทบจะเห็นได้เลยว่ามีเรื่องของน้ำเสียที่เพิ่มมากขึ้นพอเข้าระบบก็อาจมีการล้นออกไป ก็ต้องมาดูวิธีการแก้ไข โดยขอให้อจน. องค์การจัดการน้ำเสียมาช่วยในการดีไซน์แก้ไขเพิ่มเติมระบบว่าจะทำอย่างไรให้น้ำเสียในเขตเทศบาลเมืองราชบุรีให้เข้ามาในระบบทั้งหมด และทางท่านส.ส.ท่านก็มาดูว่าพื้นที่ในซอยบ้านไร่ที่เป็นคลองเปิดเพื่อรับน้ำเสีย จากคลองบ้านไร่ก็มาลงสู่ระบบบำบัดนี้จะทำอย่างไร ปิดได้ไหมเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวจราจรเนื่องจากว่าที่ผ่านมาก็มีรถที่ตกลงไปและเสียชีวิต ก็อยากให้ทางจังหวัดช่วยแก้ไขโดยทำเป็นโครงสร้างและขยายถนน อันนี้ก็จะรับเรื่องไว้และจะได้นำประสานกับทางกรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อให้มาช่วยในการออกแบบและแก้ไขปัญหาตรงนี้

ด้านนางสาวกุลวลี นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี เขต 1 กล่าวว่า เบื้องต้นทางบ่อบำบัดน้ำเสียตรงนี้สร้างมาเป็นสิบปี สร้างโดยกรมโยธาธิการ และมีการส่งมอบมาให้ท้องถิ่นประมาณปี2543เนื่องจากตอนนั้นกรมโยธาธิการมีการยุบกรม และตั้งมาเป็นกรมโยธาธิการและผังเมือง ดังนั้นท้องถิ่นจึงต้องมาดูแล เทศบาลเมืองจึงต้องมาดูแล แต่ตอนที่รับมอบมาก็เป็นสภาพที่ไม่สามารถดำเนินการได้ 100 % เมื่อไม่เกิดประสิทธิภาพ จึงเล็งเห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นองค์การจัดการน้ำเสีย น่าจะสามารถที่จะมาดูแลตรงนี้ได้ จึงได้ติดต่อประสานงานไปให้ทาง อจน. ลงพื้นที่มาดูพร้อมกับทางจังหวัด ท่านรองประกอบ วงศ์มณีรุ่ง ก็ได้รับมอบหมายมาจากท่านผู้ว่า มาดูพร้อมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง พลังงานจังหวัด การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเทศบาล สท.สมาชิกในพื้นที่ เรื่องน้ำเสียภายในเมืองที่จะต้องมีการบำบัดเพื่อที่จะปล่อยสู่แม่น้ำแม่กลอง เพราะถ้าหากว่าไม่ทำตรงนี้ก็จะเป็นอนุสรณ์ ก็ยังใช้งานไม่ได้สักที วันนี้ก็ลงมาดูพื้นที่และทางอจน.ก็ยินดีที่จะมีงบประมาณมาดูแลและฟื้นฟูระบบซึ่งคงต้องมีการทำ MOA กับทางท้องถิ่น ว่าท้องถิ่นจะมีการช่วยเหลือตัวเองเท่าไหร่เป็นระยะเวลากี่ปีทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องดูว่าในส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศเขาทำกันยังไง ก็เอาตัวอย่างมาทำจะได้ไม่ผิดระเบียบ ก็มีระเบียบคร่าวๆของทางเทศบาลบ้านโป่งก็ทำแล้วเหมือนกัน ตอนนี้ประสิทธิภาพมันใช้ไม่ได้เลย

สุจินต์ นฤภัย(เต้)

ลิ้งค์วีดีโอข่าว https://drive.google.com/file/d/1yAm_n0gwlbwAQUhploq6uMJSiir4h4NK/view?usp=sharing

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link