สภา กทม.แลกเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการน้ำฝน # การเยือนสาธารณรัฐเกาหลี ตามโครงการขยายความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง # การบริหารจัดการน้ำฝน# สภามหานคร กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

สภากทม.แลกเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการน้ำฝน # การเยือนสาธารณรัฐเกาหลี ตามโครงการขยายความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง
# การบริหารจัดการน้ำฝน# สภามหานครกรุงโซลที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

วันจันทร์ที่ 25 พ.ย.62 เวลา 14.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น : นายนิรันดร์ ประดิษฐกุล รองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่สอง ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนจากสภากรุงเทพ มหานคร นำคณะฯเข้าประชุมหารือข้อราช การกับสถานีระบายน้ำฝน (Rain Water Pump Station) ซึ่งทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำฝน ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ในโอกาสเยือนโครงการสภาบ้านพี่เมืองน้อง และขยายความสัมพันธ์กับสภาเมืองต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 25 – 29 พ.ย.2562
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่สภามหานครกรุงโซล ได้บรรยายเกี่ยวกับ กระบวนการบริหารจัดการน้ำฝน ซึ่งกรุงโซลมีการวางท่อระบายน้ำโดยแยกระหว่างน้ำฝนและน้ำทิ้งจากการใช้ในครัวเรือนของประชาชนออกจากกัน ทำให้กรุงโซลสามารถบริหารจัดการน้ำฝนได้อย่างรวดเร็ว น้ำทิ้งจากครัวเรือนของประชาชนจะต้องผ่านการบำบัดน้ำเสียก่อนเข้าสู่กระบวน การระบายน้ำ ในขณะที่น้ำฝนสามารถไหลเข้าสู่ธนาคารน้ำใต้ดิน (Water Bank) เพื่อแยกขยะมูลฝอยออกจากน้ำฝนและเข้าสู่ขั้นตอนการระบายน้ำเพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมขัง หรือสามารถเข้าสู่ขั้นตอนการระบายน้ำได้ทันทีโดยไม่ผ่านธนาคารน้ำใต้ดินก็ได้

สำหรับ วิธีการระบายน้ำฝน สถานีระบายน้ำฝนใช้เครื่องปั๊มน้ำจำนวน 8 ตัว ซึ่งจะเริ่มทำงานโดยอัตโนมัติหลังจากฝนตกและระดับปริมาณน้ำฝนขึ้นมาที่ 0.3 เมตร จำนวนเครื่องปั๊มน้ำที่จะจะเปิดใช้งานเป็นไปตามระดับปริมาณน้ำฝน โดยเริ่มต้นที่ 3 เครื่อง 5 และ 8 เครื่องตามระดับบริมาณน้ำฝน เครื่องปั๊มน้ำจะหยุดการทำงานอัตโนมัติเมื่อฝนหยุดตกและระดับปริมาณน้ำฝนกลับสู่ปกติ ธนาคารน้ำใต้ดินของสถานีระบายน้ำฝนสามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 15,500 ตัน และมีความสามารถในการระบายน้ำอยู่ที่ 2,265 ตันต่อวินาที

อย่างไรก็ตาม ทางด้านกฎหมาย กรุงโซลมีความจำเป็นต้องแบ่งแยกท่อระบายน้ำทิ้งจากครัวเรือนประชาชนและน้ำฝนออกจากกัน เนื่องจากภาษีค่าบำบัดน้ำเสียถูกรวมอยู่ในค่าน้ำเป็นจำนวนเงิน 10 เปอร์เซ็นจากจำนวนปริมาณน้ำที่ใช้ ส่วน ในการแยกน้ำฝน ออกจากน้ำใช้ กทม. ยังไม่มีการแยก รวมเป็นน้ำทิ้ง น้ำไปบำบัด ทำให้ปริมาณน้ำเสียมีมาก เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง ส่วนการคิดค่าธรรมเนียม ที่กรุงโซล มีการคิดค่าบำบัดมานานแล้ว ในส่วนของกรุงเทพมหานคร เพิ่งจะคิดจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสียจากผู้ใช้น้ำ โดยจะมีการบังคับใช้ในสมัยหน้า

………………………
เครดิต…ภาพ/ข่าว : วัฒนา…
ผ่านเลนส์ 005~รายงาน

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link