กรุงโซล ถ่ายทอดวิธีการป้องกันอุบัติภัยทางน้ำให้กับสภากทม.

กรุงโซล ถ่ายทอดวิธีการป้องกันอุบัติภัยทางน้ำให้กับสภากทม

ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 62 เวลา 14.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น :นายนิรันดร์ ประดิษฐกุล รองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่สอง ในฐานะประธานคณะเดินทางเยือนสภากรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ในโอกาสเยือนโครงการสภาบ้านพี่เมืองน้อง และขยายความสัมพันธ์กับสภาเมืองต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 25 – 29 พ.ย.2562 นำคณะผู้แทนจากสภากรุงเทพมหานครเข้าประชุมหารือข้อราชการ เรื่อง การป้องกันอุบัติภัยทางน้ำ กับสำนักงานควบคุมความปลอดภัยและการหมุนเวียนน้ำ ซึ่งทำหน้าที่บริหารจัดการการป้องกันอุบัติภัยทางน้ำของกรุงโซล ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

สำหรับกระบวนการป้องกันอุบัติภัยทางน้ำของกรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลีให้ความสำคัญกับการป้องกันอุบัติภัยทางน้ำเป็นอย่างมากและได้ทุ่มงบประมาณกว่า 5 แสนล้านวอนต่อปีตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา สำนักงานควบคุมความปลอดภัยและการหมุนเวียนน้ำพยายามพยากรณ์การเกิดฝนในปริมาณมาก ปรับปรุงระบบการระบายน้ำ ท่อน้ำทิ้ง และธนาคารน้ำใต้ดินสำหรับกักเก็บน้ำฝน พร้อมทั้งให้ความรู้ประชาชนเพื่อรับมือกับอุบัติภัยทางน้ำ มีการจัดการฝึกอบรมการปิดประตูน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม มีการสร้างมาสคอตและจัดทำเว็บไซต์เพื่อเสริมสร้างความน่าสนใจและเส้นทางการเข้าถึงของประชาชน ซี่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุบัติภัยทางน้ำ ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอุบัติภัยทางน้ำของโซลมี 2 ปัจจัย คือ น้ำฝนและพายุ ในหน้ามรสุมสาธารณรัฐเกาหลีสามารถมีพายุพัดผ่านได้ถึง 7 ลูกภายในระยะเวลา 1 เดือน โดยที่พายุส่วนมากพัดมาจากไต้หวันและประเทศฟิลิปปินส์ในขณะที่กรุงเทพมหานครนั้น นอกนากน้ำฝนและพายุแล้ว ยังมีน้ำไหลบ่าจากทางตอนเหนือของประเทศไทยและน้ำทะเลหนุนเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอุบัติภัยทางน้ำด้วย
ทั้งนี้ สภาพทางภูมิศาสตร์ พื้นดินของกรุงโซลมีความสูงประมาณ 10 เมตรจากระดับน้ำทะเล ใช้ระบบธนาคารน้ำใต้ดิน (Water Bank) ในการกักเก็บน้ำ มีสถานที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยทางน้ำ 44 จุด ปรับปรุงพื้นที่เสร็จแล้ว 27 จุด และอยู่ระหว่างดำเนินการ 7 จุด มีเป้าหมายที่จะทำให้แล้วเสร็จภายในปี 2020 ในขณะที่กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ พื้นดินมีความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 1 เมตร ใช้ระบบเขื่อนในการกักเก็บน้ำ ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระราชดำริเขื่อนกักเก็บน้ำแบบแก้มลิง เพื่อกักเก็บน้ำไม่ให้ท่วมกรุงเทพมหานคร และระบายน้ำลงไปยังบริเวณพื้นที่เกษตรกรรมที่ต้องการน้ำรอบกรุงเทพมหานคร

…………….

ผ่านเลนส์ 005~รายงาน
วัฒนา รายงาน

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link