สกสว. พร้อมเสิร์ฟงานวิจัยสู่นโยบายรัฐ
“ค้ามนุษย์ : ภัยที่ไทยต้องแก้ไขเร่งด่วน”
หวังไทยขยับขึ้นเทียร์ 1

สกสว. พร้อมเสิร์ฟงานวิจัยสู่นโยบายรัฐ
“ค้ามนุษย์ : ภัยที่ไทยต้องแก้ไขเร่งด่วน”
หวังไทยขยับขึ้นเทียร์ 1

โครงการกระบวนการยุติธรรม – ตำรวจ สกสว. เสิร์ฟข้อมูลบทวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวทางแก้ปัญหา “ค้ามนุษย์” ให้รัฐบาลและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตั้งเป้าไทยขยับขึ้น “เทียร์ 1” สู่การเป็นประเทศที่ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำอย่างเต็มที่

26 กุมภาพันธ์ 2563
รศ.ดร.เรณู สุขารมณ์ ผู้อำนวยการภารกิจการจัดการโครงการที่กำลังดำเนินการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นประธานเปิดงาน งานสัมมนาวิชาการประเด็น “ค้ามนุษย์ : ภัยที่ไทยต้องแก้ไขเร่งด่วน” ที่จัดขึ้นโดย สกสว. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เพื่อสื่อสารข้อมูลและองค์ความรู้จากผลงานวิจัยที่ช่วยแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย ภายใต้ชุดโครงการวิจัย “การพัฒนาศักยภาพและกระบวนการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทยอย่างรอบด้านและยั่งยืน” โดยมีหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยโดยตรงเข้าร่วม อาทิ กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ฯลฯ
พล.ต.ท.ดร.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ ผู้ประสานงานชุดโครงการกระบวนการยุติธรรม-ตำรวจ สกสว. กล่าวว่า นับตั้งแต่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองผู้ตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์เมื่อปี พ.ศ.2543 โดยประเมินสถานการณ์แก้ไขปัญหาตามมาตรฐานขั้นต่ำเพื่อยุติการค้ามนุษย์ของประเทศต่างๆ และจัดระดับ ( TIER ) ไว้ 3 ระดับ คือระดับที่ 1 ( TIER 1 )ระดับ 2 ( TIER 2 ) และ ระดับ 3 ( TIER 3 ) ขณะนั้น ประเทศไทยในถูกจัดลำดับให้อยู่ในระดับ 3 (TIER 3) คือประเทศที่ยังไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำอย่างเต็มที่ และไม่มีความพยายามใดๆในการที่จะปฏิบัติตาม ดังนั้น ในปี พ.ศ.2559 – 2560 สกสว. จึงได้สนับสนุนการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจำนวน 7 โครงการ คือ 1.การวิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ 2.ปัญหาอุปสรรคในกระบวนการยุติธรรมการดำเนินคดีอาญาการค้ามนุษย์ 3.ปัญหาอุปสรรคด้านความร่วมมือขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมกับการจัดการปัญหาการค้ามนุษย์ 4.แนวทางพัฒนากฎหมายและมาตรการเพื่อดำเนินการกับทรัพย์สินขององค์กรอาชญากรรมค้ามนุษย์ 5. การพัฒนากลไกการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ทางเพศในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนประเทศไทย 6. การป้องกันการค้ามนุษย์ในกลุ่มเด็กต่างชาติในพื้นที่ชายแดน และ 7. การพัฒนากฎหมายและมาตรการในการคุ้มครองพยานในคดีค้ามนุษย์ ปัจจุบัน โดยในปี 2561 ข้อมูลจากผลงานวิจัยยังผลไปสู่การที่ประเทศไทยถูกจัดลำดับไปอยู่ในระดับ “TIER 2 WATCH LIST”คือ ประเทศที่ยังไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำอย่างเต็มที่ แต่มีความพยายามที่จะปฏิบัติ ปัจจุบัน ทีมวิจัยได้ทำการวิเคราะห์สังเคราะห์งานวิจัยทั้ง 7 โครงการ เพื่อส่งมอบให้รัฐบาล ร่วมถึงหน่วยงานภาคนโยบายต่างๆ เพื่อหนุนเสริมการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของไทยให้เกิดศักยภาพมากขึ้นจนขยับไปสู่เทียร์ 1 นั่นคือการประเทศที่ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำอย่างเต็มที่
โดย รศ.ดร. ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หัวหน้าทีมวิจัย วิเคราะห์สังเคราะห์ งานวิจัยการค้ามนุษย์ทั้ง 8 โครงการ เปิดเผยข้อมูลว่า ปัญหาการค้ามนุษย์ที่ค้นพบในไทยหลักๆคือ ความไม่ชัดเจนของกฎหมาย ปัญหาในเรื่องระยะเวลาในการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดี ปัญหาการคุ้มครองเหยื่อจากการถูกทำร้ายทั้งตนเองและบุคคลในครอบครัว การขาดความต่อเนื่องเชื่อมโยงของกระบวนการดำเนินคดีการค้ามนุษย์จากขั้นตอนหนึ่งไปยังอีกขั้นตอนหนึ่ง ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น การร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐในกระบวนการก่อการร้าย การขาดกฎหมายที่มีประสิทธิภาพในการยึด อายัดทรัพย์สินของผู้กระทำความผิด โดยข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลและภาคนโยบายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ 8 ประเด็นคือ 1. ควรมีการยกร่างประมวลกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ทั้งในส่วนสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติสำหรับประเทศไทย เนื่องจากการที่ผ่านมา ไทยมี พ.ร.บ. ต่างๆมากมายหลายฉบับ ที่ทับซ้อนในบางกรณี ขาดกระบวนการที่ต่อเนื่องจากกลไกหนึ่งภายใต้กฎหมายหนึ่งไปยังกลไกหนึ่งของกฎหมายอีกฉบับหนึ่งทำให้ยากแก่การดำเนินการอย่างเป็นระบบ

  • ควรจัดทำความร่วมมือในระดับอาเซียนเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เช่น การส่งหมาย การส่งพยานวัตถุ พยานเอกสาร พยานบุคคล การคุ้มครองพยาน การส่งตัวผู้ต้องหา การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การแลกเปลี่ยนนักโทษ การสืบพยาน มาตรการในการให้ความช่วยเหลือเหยื่อจากการค้ามนุษย์ การลงโทษเจ้าหน้าที่ ที่ทุจริตคอร์รัปชั่น และให้ความร่มมือกับกระบวนการค้ามนุษย์ เป็นต้น
  • สร้างความร่วมมือในการให้ข้อมูลเชิงลึก และข้อกฎหมายระหว่างประเทศสมาชิก รวมทั้งการเผยแพร่กฎหมายของแต่ละประเทศ การอธิบายหลักกฎหมาย ระเบียบวิธีปฏิบัติ และแนวทางในการบังคับใช้กฎหมาย
  • จัดประชุมในระดับผู้ปฏิบัติการของกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อฝึกอบรม เตรียมความพร้อมทั้งองค์ความรู้และประสบการณ์การแก้ไขปัญหาดังกล่าว
  • จัดทำคู่มือว่าด้วยกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ อธิบายหลักกฎหมายเพื่อทำความเข้าใจแก่ทั้งผู้ปฏิบัติการและประชาชนโดยทั่วไป รวมทั้งอธิบายถึงสิทธิ หน้าที่ของทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คู่มือโดยปฏิบัติการดังกล่าวจะต้องดำเนินการไปในแบบบูรณาการที่สามารถสอบทานการปฏิบัติได้ทั้งระบบ และแต่ละหน่วยงานจะสามารถประสานงานกันตามกรอบปฏิบัติการนี้ได้
  • จัดการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและทุกๆหน่วยงานทราบถึงกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พร้อมทั้ง ความเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  • จัดส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการเข้าร่วมประชุม สัมมนา ในระดับระหว่างประเทศ และระดับอาเซียน อีกทั้งให้เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการจัดตั้งเครือข่ายผู้ปฏิบัติการระดับระหว่างประเทศ
  • ส่งเสริมให้ภาคประชาสังคม เข้าใจบทบาทของตนเองในการป้องกันการค้ามนุษย์ การชี้เบาะแส การให้ความร่วมมือกับภาครัฐและเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้ามนุษย์เป็นหน่วยงานโดยเฉพาะที่จะสามารถประสานงานอย่างรวดเร็วกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    และ 10. จัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์ให้สามารถดำรง ชีพและช่วยครอบครัวในระหว่างการดำเนินคดี หรือให้เหยื่อสามารถกลับไปอยู่ภูมิลำเนาโดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือและคุ้มครองตามสมควร รวมทั้งการมีมาตรการคุ้มครองเหยื่ออย่างมีประสิทธิภาพ
Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link