สุรินทร์ – กกล.สุรนารี โดย ฉก.ทพ.26 สร้างโมเดลนวัตกรรม “ธนาคารน้ำ (ระบบปิด)” แก้ปัญหาน้ำแล้ง-ท่วมตามแผนงานของ “ ศูนย์บริหารจัดการน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ” สนองตอบนโยบายแม่ทัพภาคที่ 2

สุรินทร์ – กกล.สุรนารี โดย ฉก.ทพ.26 สร้างโมเดลนวัตกรรม “ธนาคารน้ำ (ระบบปิด)” แก้ปัญหาน้ำแล้ง-ท่วมตามแผนงานของ “ ศูนย์บริหารจัดการน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ” สนองตอบนโยบายแม่ทัพภาคที่ 2ที่หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 26 ได้ตอบสนองนโยบายของ พลโท ธัญญา เกียรติสาร แม่ทัพภาคที่ 2/ประธาน ศูนย์บริหารจัดการน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้การดำเนินการผ่านแนวคิด “ น้ำ คือ ชีวิต ” “ น้ำ คือ ความมั่นคง ” ตามคำสั่ง กองทัพภาค ที่ 2 / กองอำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ที่ 29 / 2561 ลงวันที่ 16 ก.พ. 2561 หน่วยได้แสวงประโยชน์จากการตั้งฐานปฏิบัติการตามแนวชายแดนเพื่อป้องกันประเทศ โดยให้กำลังพลในแต่ละฐานปฏิบัติการสร้างธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด ต้นแบบการจัดการน้ำตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ธนาคารน้ำใต้ดิน)โดยมีความลึก 1 1/2 เมตร ความกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำและใช้สำหรับกักเก็บน้ำนำมาใช้ในพื้นที่ของฐานปฏิบัติการโดยนำร่องต้นแบบจากฐานปฏิบัติการซับหัวช้าง ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์พันเอกบุญส่ง พรมนิล ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ 26 กล่าวว่าธนาคารน้ำใต้ดิน (ระบบปิด) นอกจากจะช่วยให้มีน้ำใช้ได้ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้ช่วงแห้งแล้งที่สุดอย่างเดือนเมษายน ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยบริหารน้ำไม่ให้เกิดการท่วมในยามฝนตกหนักอีกด้วย การสร้างธนาคารน้ำใต้ดินในฐานปฏิบัติการ ของหน่วยโดยเล็งเห็นประโยชน์ของธนาคารน้ำใต้ดินโดยรูปแบบการทำธนาคารน้ำแบบปิดมีข้อดีคือสามารถทำให้น้ำไหลลงบ่อใต้ดินได้รวดเร็วมาก ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน และสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง โดยในช่วงฤดูฝนนั้น ความสามารถของธนาคารน้ำคือสามารถรีชาร์จน้ำลงบ่อได้รวดเร็ว ลดการท่วมขังในพื้นที่ ส่วนหน้าแล้งก็สามารถนำน้ำที่กักเก็บไว้มาใช้ได้ อีกทั้งการทำธนาคารยังช่วยทำให้ดินชุ่มน้ำและอุ้มน้ำมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ดินบริเวณที่ทำธนาคารเกิดตาน้ำ (ทางน้ำเล็กๆ ที่อยู่ใต้ดิน มีน้ำไหลตลอดไม่ขาดสาย) และหลังจากนั้นกำลังพลของหน่วยก็จะสามารถขุดน้ำบาดาลและน้ำประปาขึ้นมาใช้ได้
1.ธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบปิดใช้หลักการขุดบ่อเพื่อส่งน้ำไปเก็บไว้ที่ชั้นน้ำบาดาล ขนาดและความลึกของบ่อขึ้นอยู่กับสภาพ และชั้นดินของแต่ละพื้นที่ ส่วนขั้นตอนการทำแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้
1.1 สำรวจจุดรวมน้ำหรือจุดที่พบน้ำท่วมขัง โดยขุดบ่อให้ทะลุชั้นดินเหนียว ขนาดแล้วแต่ธรณีวิทยาของแต่ละพื้นที่ ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร ลึก 1 1/2 เมตร (ตามความเหมาะสมแต่ละพื้นที่)
1.2 ตั้งท่อ PVC (ท่ออากาศ) ตรงกลางบ่อ 90 องศา พร้อมนำวัสดุ ขวดน้ำ เศษอิฐ หิน หรือเศษวัสดุที่ไม่ย่อยสลายขนาดพอเหมาะใส่ลงในบ่อ (เศษวัสดุต้องไม่ปนเปื้อนสารเคมี) สูงประมาณ 1.30 เมตร
1.3 นำผ้าตาข่ายมุ้งเขียว หรือผ้าสแลน ปูทับด้านวัสดุหยาบ (เป็นการกรองวัสดุที่ไหลมากับน้ำไม่ให้ลงไปในบ่อธนาคารน้ำใต้ดิน และป้องกันไม่ให้หินเกล็ดหล่นในช่องว่างของวัสดุหยาบ)
1.4 นำหินขนาดเบอร์ 1 (3/4) โรยทับบนผ้ามุ้งหรือผ้าสแลนจนเสมอปากบ่อ หนา 10-20 เซนติเมตร (ป้องกันเศษใบไม้ ใบหญ้า ตะกอนดิน ไม่ให้ลงไปอุดตันวัสดุหยาบ)ภาพ/ข่าว : ไทบ้าน นิวส์ (พรพิพัฒน์ เพ็ชรสังหาร)

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link