“กมธ.ตำรวจ/รอง ผบ.ตร./ผบช.น.ร่วมชมทดลองการตั้งจุดตรวจ ตามแนวทางของ ผบ.ตร.เน้นความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีมาตรฐานในการปฏิบัติ”

“กมธ.ตำรวจ/รอง ผบ.ตร./ผบช.น.ร่วมชมทดลองการตั้งจุดตรวจ ตามแนวทางของ ผบ.ตร.เน้นความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีมาตรฐานในการปฏิบัติ”ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร.ได้มอบนโยบายให้แก่ข้าราชการตำรวจระดับนายพลตำรวจทั่ว ประเทศ จำนวน 496 นาย เมื่อวันที่ 2 ต.ค.2563 ที่ผ่านมา โดยให้ระงับการตั้งจุดตรวจไว้ก่อน เพื่อปรับปรุงแนวทางการ ปฏิบัติให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีมาตรฐานสากลในการปฏิบัติ นั้นเมื่อคืนวันพุธที่ 4 พ.ย.63 เวลา 22.00 น.ที่สน.ทองหล่อ พล.ต.อ.มนู เมฆหมอก รอง ผบ. ตร.พร้อมด้วย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร.,พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผบช. น.,พล.ต.ต. ปิยะ ต๊ะวิชัย รอง ผบช.น.,พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รองผบช.น.,พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รอง ผบช.น.,พล.ต.ต.สหรัฐ ศักดิ์ศิลปชัย รอง ผบช.น.,พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ ผบก.น.5พร้อมด้วยคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฏร โดยมี นายนิโรธ สุนทรเลขา ประธานคณะกรรมาธิการฯ พร้อมด้วย นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม รองประธานคณะกรรมาธิการฯ คนที่ 1, นายสัญญา นิลสุพรรณ รองประธานคณะกรรมาธิการฯ คนที่ 2,พ.ต.ท.ฐนภัทร กิตติวงศา รองประธานคณะกรรมาธิการฯ คนที่ 3, น.ส.จิตภัสร์ กฤดากร รองประธานคณะกรรมาธิการฯ คนที่ 5, นายมนตรี ตั้งเจริญถาวร กรรมาธการ,ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการฯ,นายนราชัย ยิ่งเจริญ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการฯ,นายสากล จูศิริวงค์ เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการฯ และที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการฯมีนายสุชาติ ศรีบุศกร ส.ส.จังหวัดพิจิตร เขต 3, นายมานัส อ่อนคล้าย ส.ส.จังหวัดพิษณุโลก เขต 5 รวมทั้งหน่วยงานต่างๆร่วมชมการทดลองการตั้งจุดตรวจ ตามแนวทางของ ผบ.ตร.เน้นความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีมาตรฐานในการปฏิบัติ” ณ บริเวณด้านหน้า สน.ทองหล่อ โดยมอบหมายให้กองบังคับการตำรวจนครบาล 5 ควบคุมการปฏิบัติ โดยมี พ.ต.อ.สัมพันธ์ เหลืองสัจจกุล ผกก สน.ทองหล่อ พร้อมด้วย พ.ต.ท.สาธิต สมานภาพ รอง ผกก. จร.สน.ทองหล่อ,พ.ต.ท.ณัฐกิตติ์ จอกโคกสูง รอง ผกก.สส.สน.ทองหล่อ, พ.ต.ท.ธนากร งามเย็น สวป.สน.ทองหล่อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้การต้อนรับด้านพล.ต.อ.มนู เปิดเผยว่า ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร.ได้มีคำสั่งระงับการตั้งจุดตรวจ เพื่อปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติให้มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ มีมาตรฐานสากลนั้น วันนี้ทางตำรวจจึงได้มีการทดสอบการตั้งจุดตรวจโดยมีการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับนโยบายของ ผบ.ตร.สำหรับหลักการและการตั้งจุดตรวจในครั้งนี้ เป็นด่านขนาดใหญ่ มีความยาวทั้งสิ้น 20 เมตร เจ้าหน้าที่ 12 คน และประกอบด้วย ป้ายไฟแจ้งว่าข้างหน้ามีการตั้งจุดตรวจ ก่อนถึงตัวด่านประมาณ 150 เมตร ป้ายไฟ “หยุดตรวจ” กรวยจราจร,แท่งไฟ, กล้องวงจรปิด จำนวน 4 ตัว เพื่อบันทึกข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ก่อนเข้าจุดตรวจจนถึงโต๊ะตรวจวัดแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตามขนาดของด่านตรวจ จะมีตั้งแต่ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยขนาดกลางจะใช้ตำรวจ 9 คน ส่วนขนาดเล็กจะมีตำรวจ 7 คน แต่ด่านตรวจทุกขนาด จะต้องมีกล้องวงจรปิดบันทึกเหตุการณ์เพื่อความโปร่งใสตลอดเวลา ทั้งนี้ขนาดของด่านตรวจขึ้นอยู่กับพื้นที่ และ สถานีตำรวจที่รับผิดชอบจะนำไปปรับใช้พล.ต.อ.มนู กล่าวต่อว่า การตั้งกล้องวงจรปิดนั้นตำรวจสามารถตรวจสอบประชาชนได้ และประชาชนก็สามารถตรวจสอบการทำงานของตำรวจได้เช่นกัน อีกทั้งประชาชนก็มีสิทธิที่จะใช้มือถือบันทึกภาพการตรวจค้นได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามการบันทึกภาพสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ 3 วัน เพื่อความโปร่งใสในการทำหน้าที่ และหากประชาชนรู้สึกไม่ได้รับความเป็นสามารถโทรร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1559ทั้งนี้การสาธิตการตั้งจุดตรวจครั้งนี้มีการจำลอง 4 สถานการณ์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนของตำรวจในการดำเนินการ คือ
1.กรณีที่มีรถขับเข้ามาในจุดตรวจตามปกติ ตำรวจจะเรียกให้หยุดและสอบถามพร้อมตรวจใบขับขี่ หากไม่พบพิรุธก็จะปล่อยไป
2.กรณีที่รถขับเข้าด่านตรวจและมีอาการมึนเมา ตำรวจจะสังเกตด้วยสายตา หากเข้าข่ายมึนเมาจะให้นำรถเข้าจุดตรวจ พร้อมแจ้งสิทธิหากผู้ขับขี่ไม่ยอมเป่าก็จะมีความผิด สันนิษฐานว่ามีการดื่มสุรา และใช้การเจรจาพร้อมบันทึกภาพตลอดเวลา จากนั้นจะนำผู้ขับขี่ไปตรวจวัดแอลกอฮอล์โดยจะต้องเปลี่ยนเข็มเป่าต่อหน้าผู้ขับขี่ตลอดทุกครั้งที่ตรวจวัด
3.กรณีที่มีรถขับเข้ามาที่ด่านตรวจ ซึ่งคนขับมีอาการมึนเมาและก่อความวุ่นวาย ทางตำรวจประจำด่านจะดำเนินการพาผู้ขับขี่ตรวจค้นรถ และตรวจประวัติอาชญากรรม หากพบว่ามีก็จะจับกุมก่อนทำการพาไปตรวจค้นรถ และ
4.กรณีที่มีสายลับแจ้งว่ารถต้องสงสัยขนยาเสพติดเข้ามาในพื้นที่จะมีการปิดกั้นกันหลบหนีและเรียกตรวจ โดยจะตรวจสอบแผ่นป้ายทะเบียนและตรวจประวัติอาชญากรรมก่อนดำเนินการตามขั้นตอนสำหรับรูปแบบการตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ของสถานีตำรวจขนาดใหญ่ ซึ่งใช้กำลังตำรวจ 12 นาย จะประกอบด้วย หัวหน้าชุด 1 นาย, ชุดคัดเลือกรถเพื่อมาตรวจสอบ 1 นาย ,ชุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ 3 นาย ,ชุดป้องกันการหลบหนี 4 นาย ,ชุดคุ้มกันเจ้าหน้าที่ตรวจวัดแอลกอฮอล์ 1 นาย และชุดควบคุมผู้ต้องหา 1 นายด้านแนวทางการปฏิบัติที่สำคัญในการตั้งจุดตรวจมีดังนี้
1.การตั้งจุดตรวจต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ระดับ ผบก.ขึ้นไป,การตั้งจุดตรวจต้องมีแผนการปฏิบัติที่ชัดเจน ,จุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ต้องมีป้ายแสดงถึงมาตรฐานการตรวจวัดแอลกอฮอล์ ตั้งไว้ตรงบริเวณใกล้โต๊ะตรวจวัดแอลกอฮอล์ ในลักษณะที่ผู้รับการตรวจวัดมองเห็นได้ชัดเจน,
2.การกำหนดสถานที่ตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ ต้องกำหนดมาจากข้อมูลผู้กระทำความผิดเมาแล้วขับในเขตพื้นที่ ,สถิติการเกิดอุบัติหตุ สาเหตุมาจากเมาแล้วขับ ,สภาพพื้นที่มีความเสี่ยงต่อการกระทำความผิดเมาแล้วขับ การมีสถานบริการ สถานที่จำหน่ายสุรา โดยรอบบริเวณจุดตรวจสำหรับจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ต้องมีแผงกั้นที่มีเครื่องหมายการจราจรว่า “หยุดตรวจ” โดยให้เป็นไปตาม มาตรฐานที่จุดตรวจ และในเวลากลางคืนจะต้องมีแสไฟส่องสว่างให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร และก่อนถึงจุดตรวจให้มีแผ่นป้ายแสดงยศ ชื่อ นามสกุล และตำแหน่ง ของหัวหน้าด่านตรวจ หรือจุดตรวจดังกล่าว ,ตำรวจจะมีการสื่อสารกับประชาชนในการบังคับใช้กฎหมาย ต้องมีการอธิบายข้อกฎหมายให้ผู้กระทำผิดเข้าใจข้อกล่าวหา โดยใช้กิริยาวาจาที่สุภาพ ,การตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอลให้ปฏิบัติตามมาตรการการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจและจุดสกัด ตามที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เคยสั่งการไว้อย่างเคร่งครัด พล.ต.อ.มนู รอง ผบ.ตร.กล่าวทิ้งท้าย!!

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link