กรมการขนส่งทางบก เร่งเสริมมาตรการด้านความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตราย เรียกประชุมผู้ประกอบการขนส่งวัตถุอันตรายทั่วประเทศ

กรมการขนส่งทางบก เร่งเสริมมาตรการด้านความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตราย เรียกประชุมผู้ประกอบการขนส่งวัตถุอันตรายทั่วประเทศ กำชับการขนส่งให้เป็นไปตามข้อกำหนดตามกฎหมาย ซักซ้อมเส้นทาง จุดเสี่ยงอันตราย เทคนิคการขับรถผ่านจุดเสี่ยงอย่างปลอดภัยนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า จากกรณีเกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงที่จังหวัดบุรีรัมย์ และที่เขาขุนตาน จังหวัดลำพูน ได้ให้ทีมวิเคราะห์อุบัติเหตุเชิงลึกลงพื้นที่ตรวจสอบและวิเคราะห์สาเหตุของทั้ง 2 เหตุการณ์ และพิจารณาแนวทาง มาตรการป้องกันที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และเพิ่มเติมมาตรการอื่นๆ เพื่อให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยมีมาตรการระยะสั้น ให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบสถานประกอบการในทันที เพื่อตรวจสอบพนักงานขับรถและรถในประกอบการทั้งหมด และในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 ได้เรียกประชุมผู้ประกอบการขนส่งวัตถุอันตรายทั่วประเทศ เพื่อกำชับการดำเนินการขนส่งวัตถุอันตรายให้เป็นไปตามข้อกำหนดตามกฎหมาย มาตรฐานการตรวจสภาพความพร้อมของรถก่อนการใช้งาน การใช้ความเร็วที่เหมาะสมและให้ความสำคัญกับชั่วโมงการทำงานให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากกรมทางหลวงร่วมให้ข้อมูลถนนและลักษณะทางกายภาพของถนน จุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ควบคู่กับการให้ความรู้และเทคนิคการขับขี่อย่างปลอดภัยเมื่อต้องผ่านเส้นทางที่มีจุดเสี่ยงอันตราย ซึ่งหลังจากนี้จะได้ประสานกับกรมทางหลวงเพื่อติดตั้งป้ายเตือนการใช้ความเร็วของรถแต่ละประเภท ตามเส้นทางที่มีจุดเสี่ยงให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตั้งด่านตรวจสอบสภาพความพร้อมของรถและผู้ขับรถวัตถุอันตรายบนถนนสายหลักอย่างต่อเนื่องอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวต่อไปว่า สำหรับมาตรการระยะกลางและระยะยาว เพื่อพัฒนาไปสู่การขนส่งวัตถุอันตรายตามมาตรฐานสากล (ADR) โดยพิจารณาศึกษามาตรการป้องกันอุบัติเหตุที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การติดตั้งป้ายจำกัดความเร็วท้ายรถบรรทุกวัตถุอันตราย (Speed Sign) ระบบหน่วงความเร็วของรถ(Retarder) ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก (ABS) และกำหนดแนวทางการติดตั้งอุปกรณ์จำกัดความเร็วของรถ (Speed Limiter) การกำหนดให้ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องจัดให้มีผู้จัดการด้านความปลอดภัย (Transport Safety Manager: TSM) เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบความพร้อมก่อนออกเดินทาง การวางแผนจัดการเดินรถ บริหารจัดการเหตุฉุกเฉิน การตรวจสอบติดตามการเดินรถผ่านระบบ GPS Tracking เพื่อควบคุมการใช้ความเร็ว ชั่วโมงการขับรถตลอดการเดินรถ เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการ และตรวจสอบความปลอดภัยด้านการขนส่งทางถนนที่มีประสิทธิภาพ และการกำหนดข้อบังคับให้ผู้ขับรถวัตถุอันตรายต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการขับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายเป็นการเพิ่มเติม ทั้งนี้ ทุกๆ มาตรการที่เพิ่มเติมเข้ามานั้นจะช่วยเสริมประสิทธิภาพมาตรการด้านปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายที่ผู้ประกอบการต้องดำเนินการในปัจจุบันอย่างเคร่งครัดด้วยเช่นกัน เช่น การติดตั้งระบบ GPS Tracking, ติดตั้งป้ายอักษรภาพ เครื่องหมายของรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตราย, ติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสงและแผ่นสะท้อนแสง, ติดตั้งอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ได้มาตรฐาน, จัดให้มีเครื่องหมายแสดงเมื่อจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทาง เช่น ป้ายสามเหลี่ยมสะท้อนแสง กรวยสะท้อนแสง โคมไฟสัญญาณ, ต้องมีเครื่องดับเพลิง, ต้องผ่านการตรวจสภาพประจำปี อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวในที่สุด

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link