มรส.ต่อยอดแนวคิดบรรพบุรุษ ส่งเสริมยกระดับ ภูมิปัญญาอาหารถิ่นใต้ แปรรูปวัตถุดิบเกษตร ประมงสูการสร้างอาชีพการขายระบบ Online deliverry

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เดินหน้าแผนงานยุทธศาสตร์ โครงการการส่งเสริมและยกระดับการแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรและประมงในท้องถิ่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี สู่การสร้างอาชีพ นำภูมิปัญญาบรรพบุรุษ พร้อมดึงวัตถุดิบชุมชนต่อยอดองค์ความรู้ผสมผสานเทคโนโลยีแปรรูปพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นอาหารถิ่นใต้ ทั้งมองเห็นวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมเน้นการอยู่บ้าน คว้าวิกฤตเป็นโอกาสสร้างการขายระบบ Online delivery ส่งตรงถึงมือผู้บริโภค

ดร.ชลิดา เลื่อมใสสุข อาจารย์ประจำสาขาวิชาธุรกิจอาหาร คณะวิทยาการจัดการ และเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินโครงการการส่งเสริมและยกระดับการแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรและประมงในท้องถิ่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี สู่การสร้างอาชีพ เปิดเผยว่า ที่มาแนวความคิดของโครงการ คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งในด้านอาหาร และภูมิปัญญาในการทำอาหาร มีอาหารหลายชนิดที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวสุราษฎร์ธานีและควรค่าอย่างยิ่งในการอนุรักษ์ ส่งเสริม ต่อยอด สู่การสร้างอาชีพที่อาจเป็นได้ทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม ทั้งอาหารคาวหวาน ขนมท้องถิ่น ที่มีศักยภาพเพียงพอในการเป็นจุดเด่นของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เช่น การแปรรูปเป็นน้ำปรุงผัดไทยไชยาสำเร็จรูปบรรจุขวด น้ำพริกปูม้าบรรจุถ้วย น้ำพริกกากหมูบรรจุขวด ข้าวฟ่างกวน คุกกี้สอดไส้เงาะกวน เป็นต้น สำหรับเป็นของฝากหรือของที่ระลึกที่น่ารับประทานและดึงดูดใจแก่ผู้บริโภค เพื่อจัดจำหน่ายทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ หรือแม้กระทั่งการจัดเมนูเป็นสำรับอาหารคาวหวานสำหรับนักท่องเที่ยวหรือจำหน่ายแบบจัดส่งถึงที่ (delivery)

ดร.ชลิดา กล่าวต่อไปอีกว่า กอรปกับในปัจจุบันภาวะการณ์ตกงานมีมากขึ้น การใช้ชีวิตภายในบ้านและในชุมชนท้องถิ่นจึงมีมากขึ้นด้วย จึงมีความเป็นไปได้ในการร่วมกันถ่ายทอดภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกับการใช้แนวความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาอาหารท้องถิ่นให้สามารถขายได้ นอกจากนี้ ความปลอดภัยในอาหารคือสิ่งสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ ดังนั้น เพื่อให้การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาสาขาวิชาธุรกิจอาหารของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผ่านกระบวนการเรียนสอน วิจัย บริการวิชาการ และส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม โครงการนี้จึงมุ่งเน้นการส่งเสริมให้ชุมชนเกิดแนวทางในการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษร่วมกับการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่น ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร (GHP) และหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารอย่างปลอดภัย (GMP) เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง และเป็นการยกระดับการแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรและประมงในท้องถิ่นสู่การสร้างอาชีพ ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน ลดปัญหาการตกงาน ส่งเสริมให้ประชาชนอยู่บ้านมากขึ้นสร้างความอบอุ่นในครอบครัว และอนุรักษ์ภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นก่อนที่จะสูญหายไป

สำหรับกิจกรรมที่ดำเนินภายใต้ของโครงการ ประกอบด้วย การรวบรวมภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นของจังหวัดสุราษฎร์ธานี กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านมาตรฐานสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร (GHP) หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารอย่างปลอดภัย (GMP) กิจกรรมการพัฒนาและการแปรรูปอาหารท้องถิ่น การออกแบบฉลาก โลโก้และบรรจุภัณฑ์ การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) เพื่อใช้ในการเผยแพร่ และกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์

หัวหน้า​ศูนย์ข่าว​ เรื่อง​จริง​ผ่าน​เลนส์​ สุราษฎร์​ธานี​ / รายงาน

คุณ​ณรงค์​ชัย​ ช​ลา​ลักษ์

สื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คุณ​กนกรัตน์ ศรียาภัย

โครงการการส่งเสริมและยกระดับการแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรและประมงในท้องถิ่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี สู่การสร้างอาชีพ

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link