“ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ ประธานคณะกรรมการอำนวยการ ร.พ.สนามท่าเรือคลองเตย นำคณะผู้บริหารแถลงสรุปผลการดำเนินงานศูนย์ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ร.พ.สนามท่าเรือคลองเตย!!

วันพุธที่ 27 ตุลาคม 2564 เวลา 10.30 น.ณ ลานสเตเดียม การท่าเรือแห่งประเทศไทย ที่ตั้งโรงพยาบาลสนามท่าเรือคลองเตย และศูนย์ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้จัดแถลงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยมี ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ ประธานคณะกรรมการอำนวยการ โรงพยาบาลสนามท่าเรือคลองเตย ประธานพิธีฯ พร้อมด้วยครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เลขาธิการมูลนิธิดวงประทีป /กรรมการผู้ก่อตั้ง/ผอ.โรงพยาบาลสนามฯ เป็นผู้กล่าวรายงาน และคุณกันตพร หาญพาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายการตลาด บริษัท บางกอก เชน ฮอสปีทอล จำกัด (มหาชน) หรือ BCH ได้กล่าวถึงผลการดำเนินงานด้านการแพทย์ ร.พ.สนามท่าเรือคลองเตย

นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก คุณเดชา นุชพุ่ม รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการตลาด การท่าเรือแห่งประเทศไทย, คุณศรินทร สนธิศิริกฤตย์ รองผู้อำนวยการ ด้านการแพทย์, ตัวแทนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, คุณสุชัย พงษ์เพียรชอบ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, น.ส.ปียธิดา นิยม ผู้อำนวยการเขตคลองเตย, คุณพรเทพ กอบเกียรติศิริ ตัวแทนมูลนิธิมาดามแป้ง และ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน), นพ.ชุติเดช ตาบ-องครักษ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รามคำแหง, พญ.ฐิติพร วงศ์ชัยสุริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาล เกษมราษฎร์ รามคำแหง, ตัวแทน ส.ส.กรณิศ คุณณัฐชัย จงอุดมฤกษ์, คุณปนัดดา รักษาแก้ว ประธานบริษัท ยูซีไอ มีเดีย และ Police TV, คุณนิตยา พร้อมพอชื่นบุญ รองประธานสภาองค์กรชุมชน เขตคลองเตย, คุณวิรัช สมภพศุภนาถ ประธานสหกรณ์เคหะสถานชุมชนคลองเตย, คุณรับฎาพร บุตรงาม ผู้แทนกลุ่มคลองเตยดีจัง, ทีมอาสาไทยสร้างไทย, ผู้แทนโรงพยาบาลนวเวช อินเตอร์เนชั่นแนล, คุณธนิภา พุ่มเรือง, คุณทัตต์ดนัย นวมะชิติ รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ และผู้มีส่วนร่วมจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน รวมทั้ง ผู้ให้การสนับสนุนจากองค์กรต่างๆได้ให้เกียรติเข้าร่วมการแถลงผลการดำเนินงานดังกล่าว

สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อกระจายเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะประชาชนในชุมชนแออัด เช่น ชุมชนคลองเตย ที่เกิดการระบาดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ประกอบกับเตียงในโรงพยาบาลเข้าขั้นวิกฤตไม่เพียงพอในการรองรับผู้ป่วย องค์กรชุมชนเขตคลองเตย โดยสภาองค์กรชุมชนเขตคลองเตย และสหกรณ์เคหะสถานชุมชนคลองเตย ประธานเครือข่ายชุมชนแออัดคลองเตย กลุ่มคลองเตยดีจัง สภาเขตคลองเตย และ มูลนิธิดวงประทีป ได้เล็งเห็นความเดือดร้อนของชาวชุมชนคลองเตย จึงได้รวมตัวกันยื่นหนังสือไปยัง พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านได้กรุณามอบหมายให้ ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ ประสานให้ คุณศรินทร สนธิศิริกฤตย์ (กรมควบคุมโรค) มาช่วยประสานการดำเนินงาน ทั้งการสร้างรพ.สนาม โดยการท่าเรือแห่งประเทศไทย การจัดหาโรงพยาบาลเข้ามาดูแลผู้ป่วย

การดำเนินการเหล่านี้ เป็นต้นแบบการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่าง ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ตั้งแต่ระดับประเทศ ดังนี้ กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้านครหลวง การประปาเขตคลองเตย และระดับกระทรวง เช่น กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค และกรมอนามัย รวมถึงกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จนถึงระดับเขตคือ สำนักงานเขตคลองเตย และระดับชุมชน ทำให้เกิดเป็นภาพความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และภาคประชาชน (Public Private Partnership)

การดำเนินงานด้านการแพทย์ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจาก ผู้บริหารโรงพยาบาล 2 แห่งได้แก่ คุณณพ ณรงค์เดช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท นวเวช อินเตอร์เนชั่นแนล จากัด (มหาชน) ผู้บริหารโรงพยาบาลนวเวช อินเตอร์เนชั่นแนล ที่กรุณา มอบให้ รพ.มาดำเนินการในส่วน Community Isolation หรือ ศูนย์พักคอย และ คุณกันตพร หาญพาณิชย์ กรรมการบริหารและรองกรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาด เครือบางกอกเชน มอบให้ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รามคำแหง เข้ามารับดำเนินการ โรงพยาบาลสนาม

นอกจากโรงพยาบาลทั้ง 2 แล้ว ยังมี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่เตรียมพร้อมรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก (สีแดง) พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนชุดตรวจ ATK การดำเนินการรักษาพยาบาลนี้ บรรลุผล โดยการมีส่วนร่วมในภาคเอกชน ดังนี้

  • มูลนิธิมาดามแป้ง
  • บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
  • มูลนิธิสยามโซลเวย์
  • มูลนิธิบุญยะจินดา
  • บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท UCI GROUP
  • บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท รักษาความปลอดภัย จีจีไอ กรุ๊ป จำกัด
  • บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
  • Evergreen Line
  • กลุ่มจุดเล็กๆ Body&Mind by Parn
  • คุณปองกูล สืบซึ้ง
  • คุณปรัชญนันท์ แจงวาณิชย์ บริษัท DLT
  • ดร.บุญชัย โต๊ะสุวรรณวณิช บริษัท AIA

ส่วนภาคประชาชนโดยมี กลุ่มประชาชนชาวคลองเตย และมูลนิธิดวงประทีป ที่กรุณาเป็นผู้อำนวยการในเรื่องของการบริการขั้นพื้นฐานโดยทั่วไป ทีมวิศวะอาสา ช่วยออกแบบโครงสร้างศูนย์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในศูนย์ คุณสุชัย พงษ์เพียรชอบ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ส.ส.กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา และมูลนิธิดวงประทีป ช่วยจัดรถพยาบาล ประจำศูนย์ รวม 4 คัน เพื่อ รับ-ส่งผู้ติดเชื้อ

นอกจากนี้ยังมีการประสานกับ กลุ่มของ ส.ส.กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา กลุ่มกระต่ายคลองเตย กลุ่มคลองเตยดีจัง และ กลุ่มอาสาไทยสร้างไทย ในการตรวจเชิงรุกในชุมชนแออัดและนอกชุมชน ทั้งในเขตคลองเตยและเขตใกล้เคียง และกลุ่มบัณฑิตอาสา ในการตรวจเชิงรุกกับกลุ่มคนงานในแค้มป์แรงงานเล็กๆ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อรับผู้ติดเชื้อ ที่ประสงค์จะเข้ารับการรักษา มีการจัดบริการรถรับ-ส่งผู้ติดเชื้อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ศูนย์ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ โรงพยาบาลสนามท่าเรือคลองเตย แห่งนี้ มีจุดเด่นแตกต่างจากโรงพยาบาลสนามที่อื่น เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลสนามที่ดำเนินการโดยหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และภาคประชาชน ที่นี่จึงสามารถช่วยเหลือผู้เดือดร้อนที่อาจจะไม่สามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐได้ โดยเฉพาะผู้ติดเชื้อต่างชาติ ทั้งที่มีบัตรประชาชน มีพาสปอร์ต หรือไม่มี
ผู้ป่วยที่มารักษาที่ รพ.สนามคลองเตย จะได้รับการดูแลจากทีมแพทย์ พยาบาล พร้อมทั้งบริการอาหาร 3 มื้อ เครื่องดื่ม ขนม ภายในเต็นท์ ฟรีตลอด 24 ชม.รวมถึงการจัดหาเสื้อผ้าแก่ผู้ติดเชื้อในกรณีที่ผู้ติดเชื้อมีเสื้อผ้ามาไม่พอใช้ 14 วัน และเครื่องใช้ส่วนตัวที่จำเป็น เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ของเล่นเด็กตามวัยเมื่อผู้ติดเชื้อรักษาหายแล้ว จะได้รับถุงยังชีพจากผู้บริจาคและเงินสงเคราะห์จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มอบให้ครอบครัวละ 2,000 บาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ติดเชื้อและครอบครัว

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link