ครูพี่โอ๊ะ ปักหมุด สร้างโอกาสทางการศึกษาเพื่อคนพิการและผู้ด้อยโอกาส ระนอง Model

ครูพี่โอ๊ะ ปักหมุด สร้างโอกาสทางการศึกษาเพื่อคนพิการและผู้ด้อยโอกาส ระนอง Model

(14 พฤศจิกายน 2564) นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ลงพื้นที่ติดตามผลการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ณ กศน.ตำบลกะเปอร์ อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ในการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางกนกวรรณ วิลาวัลย์) ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2564 ระหว่างวันที่ 13-16 พฤศจิกายน 2564 ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล) พร้อมด้วย นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศธ. (ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการ รมช.ศธ.) นายพะโยม ชิณวงศ์ ประธานคณะทำงาน รมช.ศธ. นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง นายสุทิน แก้วพนา รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายสุรศักดิ์ อินศรีไกร เลขาธิการ กศน. นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. นางสาวเจริญวรรณ หนูนาค รองเลขาธิการ ก.ค.ศ. นายประพัทธ์ รัตนอรุณ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (รองเลขาธิการ กช.) นายภูมิพัธท เรืองแหล่ รองเลขาธิการ กศน. และคณะทำงานรวบรวมข้อมูลการลงพื้นที่ของรัฐมนตรี (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป.) และมี นายโชตินรินทร์ เกิดสม รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ผู้อำนวยการ กศน. 6 จังหวัด (กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล) และบุคลากรของสำนักงาน กศน.จังหวัดระนองร่วมให้การตอนรับ

นางกนกวรรณ กล่าวว่า สำนักงาน กศน.จังหวัดระนอง ได้มีการขับเคลื่อนงานตาม นโยบายของนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในการสร้าง โอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กด้อยโอกาส และนโยบายของ นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ด้านการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อให้ คนพิการสามารถเข้าถึงการศึกษาที่เหมาะสมและมีคุณภาพ อีกทั้งได้ขับเคลื่อนงาน ตามนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ด้านการสร้างสมรรถนะและทักษะคุณภาพ ด้วยการจัดการศึกษาที่พัฒนาทักษะที่จาเป็น สำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เช่น ผู้พิการ ออทิสติก และผู้ด้อยโอกาสซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่มี หลักฐานทางทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในจังหวัดระนอง โดยมี เป้าหมายเพื่อให้คนพิการและผู้ด้อยโอกาสกลุ่มนี้ ได้รับบริการทางการศึกษาในรูปแบบ การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษา ตามอัธยาศัย ที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง เป็นไปตามบริบท สภาพปัญหา ความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย และของแต่ละบุคคล

ในการนี้ สำนักงาน กศน.จังหวัดระนอง เป็นพื้นที่นำร่องของกลุ่มจังหวัด ภาคใต้ฝั่งอันดามัน ในการดำเนินการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในรูปแบบ Ranong Model จึงได้มีการประสานความร่วมมือกับศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดระนอง ลงพื้นที่เพื่อสำรวจ ติดตาม คัดกรอง และปักหมุดคนพิการที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ข้อมูลจากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 จังหวัดระนองมีผู้พิการที่มี อายุ 18 ปีขึ้นไป ผู้พิการรวมทั้งสิ้น 106 คน อยู่ในระบบการศึกษาของ กศน. แล้ว จำนวน 24 คน

สำหรับผู้พิการจังหวัดระนอง รวมทั้งสิ้น 106 คน อยู่ในระบบการศึกษาของ กศน. แล้ว จำนวน 24 คน แบ่งเป็นอำเภอเมือง 63 คน อำเภอกระบุรี 20 คน อำเภอละอุ่น 5 คน อำเภอกะเปอร์ 5 คน และอำเภอสุขสำราญ 13 คน โดยมีประเภทของความพิการ ดังนี้ บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น 7 คน บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 13 คน บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา 33 คน บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย 26 คน บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 1 คน บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา 3 คน บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านพฤติกรรม 4 คน บุคคลออทิสติก 5 คน พิการซ้อน 14 คน ซึ่งผู้พิการเหล่านี้สำนักงาน กศน.จังหวัดระนอง จะนำข้อมูลมาใช้ในการ วางแผนเพื่อจัดการศึกษาตามความต้องการในโอกาสต่อไป

โดยสำนักงาน กศน.จังหวัดระนอง ได้นำนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างเป็น รูปธรรมและมุ่งสู่ความสาเร็จ ภายใต้หลักการ “กศน. เพื่อประชาชน : ก้าวใหม่ ก้าวแห่ง คุณภาพ” นางกนกวรรณ กล่าวทิ้งท้าย

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link