บึงกาฬ มรภ.อุดรธานีจับมือสถานศึกษาผลิตสื่อส่งเสริม นร.อ่านออกเขียนได้

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศูนย์การศึกษา ร่วมกับ สพป.และสพม.บึงกาฬ ลงนามบันทึกข้อตกลง MOU จัดทำ“ โครงการส่งเสริมชุมชนรักการอ่านเพื่อการอ่านออก เขียนได้ วิเคราะห์เป็น”เพื่อสนับสนุนการผลิตสื่อส่งเสริมการอ่านให้แก่โรงเรียนในโครงการ
วันที่ (25 พฤศจิกายน 2565) เวลา 09.00 น.ณ ห้องประชุม 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศูนย์การศึกษาบึงกาฬ ว่าที่ ร.ต.พูนศักดิ์ พระรัตภูมี ศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานในพิธีการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศูนย์การศึกษาบึงกาฬ ระหว่างเครือข่ายสถานศึกษาจังหวัดบึงกาฬ โดย ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุทรสกุล อธิการบดี กับนายปิยะพงษ์ ผลาจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ และดร.กษมา ปกป้อง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ พร้อมทั้งหน่วยงาน 13 แห่ง ได้แก่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 11 โรงเรียน ประกอบด้วย 1.โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 51 2.โรงเรียนบ้านห้วยสามยอดเทวกุล 3.โรงเรียนบึงของหลงวิทยา 4.โรงเรียนบ้านโนนเสถียร 5.โรงเรียนบ้านไร่โนนสำราญ 6.โรงเรียนอนุบาลบึงกาฬวิศิษฐ์อำนวยศิลป์ 7.โรงเรียนบ้านโคกสวาง 8.โรงเรียนบ้านหนองพันทา 9.โรงเรียนบ้านไร่สุขสันต์ 10.โรงเรียนบ้านนาแสง11.โรงเรียนบ้านหนองชัยวาน ตามโครงการส่งเสริมชุมชนรักการอ่านเพื่อการอ่านออก เขียนได้ และวิเคราะห์เป็น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน ที่ส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ในวัยเรียน ผลิตสื่อส่งเสริมการอ่านจากวรรณกรรมพื้นถิ่นและส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมรักการอ่าน และเพื่อสร้างความร่วมมือกับโรงเรียนในโครงการ ในการให้บริการทางวิชาการ โดยการใช้สื่อส่งเสริมการอ่าน เพื่อพัฒนาทักษะสู่นิสัยรักการอ่าน และร่วมมือจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านตามที่ได้ทำข้อตกลงกันเอาไว้ ตลอดจนการพัฒนาสื่อส่งเสริมการอ่านในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อมุ่งเน้นทักษะและประสบการณ์ตามระยะเวลาและรูปแบบที่ตกลงกัน โดยได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่าน โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
ก่อนพิธีลงนามข้อตกลงได้มีการแสดงชุดวงโปงลางและนาฏศิลป์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงกาฬวิศิษฐ์อำนวยศิลป์ และชมนิทรรศการโครงการส่งเสริมชุมชนรักการอ่านเพื่อการอ่านออกเขียนได้และวิเคราะห์เป็น จากนั้น ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล ได้ให้สัมภาษณ์และตอบข้อซักถามของสื่อมวลชน เกี่ยวกับประเด็นคำถาม “ก่อนทำโครงการนี้มีเด็ก นร.ที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ประมาณกี่เปอร์เซ็นต์และหลังจากนี้คาดว่าจะใช้เวลานานหรือไม่ที่จะทำให้ นร.อ่านออกเขียนได้และวิเคราะห์เป็น? ว่า โครงการนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีต้องการพัฒนาในเรื่องของนิสัยและวิธีการการอ่านนักเรียนเป็นสำคัญ ถ้าเด็กได้สร้างหนังสือที่เขาอยากอ่านทักษะอื่น ๆ จะพัฒนาตามมา จะนำไปสู่การเขียนได้ การวิเคราะห์ได้ เพราะฉะนั้นคำตอบที่ถาม คือ การพัฒนาศักยภาพของเยาวชน ของนักเรียนจะเป็นพัฒนาการที่ต่อเนื่อง จึงให้ความสำคัญในเรื่องของสร้างนิสัยในการรักการอ่าน ส่วนค่าสถิติ NT สาระวิชาภาษาไทย ปี2564 ของจังหวัดบึงกาฬ อยู่ที่ ร้อยละ 55.26 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ของประเทศแต่ไม่มาก ในขณะเดียวกันคะแนน O-NET อยู่ที่ ร้อยละ 47 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ แต่ที่สำคัญคะแนน O-NET หรือคะแนน NT มีหลายปัจจัยไม่ได้เปิดจากปัจจัยนักเรียนเพียงอย่างเดียว ส่วนในการพัฒนาเรื่องของนิสัยรักการอ่านนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีมาแก้ปัญหาและขับเคลื่อนระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาในพื้นที่ และโรงเรียนน่าจะเกิดเป็นผลสัมฤทธิ์มากกว่าและจะนำมาซึ่งการพัฒนาคะแนนต่าง ๆ”
ส่วนคำถามที่ว่าหากโครงการนี้ประสบผลสำเร็จจะขยายผลไปยังโรงเรียนอื่นๆ อีกหรือใม่ ท่านอธิการบดีได้ตอบว่าในปีแรกนี้จะเน้นโรงเรียนเครือข่าย 11 แห่งให้ได้ผลสัมฤทธิ์ในเชิงคุณภาพตามเป้าหมายเสียก่อน แต่ถ้าเราหาแนวทางร่วมกันชัดเจนระหว่างหน่วยงานการศึกษาและโรงเรียน ก็จะได้ขยายผลไปสู่โรงเรียนอื่นแน่นอน แต่ถ้าจะยกระดับการศึกษาก็ต้องยกทั้งจังหวัด แต่การขยับการขับเคลื่อนต้องค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ในโครงการนี้เน้นในการติดตามผลด้วย อยากให้ครูได้วิเคราะห์ในการอ่านการเขียนของนักเรียนเป็นรายบุคคลด้วย จึงต้องใช้เวลายาวนานในการเดินทางอยู่ สัญญาว่า ม.ราชภัฏอุดรธานีทำโครงการนี้ที่บึงกาฬไม่ทำแค่ปีเดียวโดยจะทำไปอย่างต่อเนื่องทุกปี.

เกรียงไกร พรมจันทร์//ข่าวบึงกาฬ ..

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link