ร้อยเอ็ด!!!!! นายนิทัศน์ เทศสวัสดิ์ นายอำเภอโพธิ์ชัย มาเป็นประธาน กิจกรรมการขับเคลื่อน ตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และลงนามความร่วมมือ MOU

ร้อยเอ็ด!!!!!
นายนิทัศน์ เทศสวัสดิ์ นายอำเภอโพธิ์ชัย มาเป็นประธาน กิจกรรมการขับเคลื่อน ตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และลงนามความร่วมมือ MOU
วันที่ 31 มกราคาม 2566 เวลา 10.00น. นายนิทัศน์ เทศสวัสดิ์ นายอำเภอโพธิ์ชัย เดินทางมาเป็นประธาน ทำกิจกรรมการขับเคลื่อน ตำบลเข่มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรฐกิจพอเพียง ณ ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตาไก้ อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด ด้วยกรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดทิศทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนในระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570 )ภายใต้วิสัยทัศน์”เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีเป้าหมายสำคัญคือ ชุมชนมีศักยภาพในการบริหารจัดการและพัฒนาตนเองสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง คนในชุมชนมีงาน มีอาชีพ มีรายได้และคุณภาพของชีวิตที่ดีขึ้นด้วยหลักปรัชญาของเซรษกิจพอเพียงมีการนำเทคโนโลยี่มาปรับใช้ในการทำงานพัฒนาในด้านต่างๆเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรมและสามารถตอบสนองการแก้ไขปัญหาและความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริงจึงได้กำหนด change for Good Flagship policy คือ “โครงการตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้พื้นที่ตำบลเป็นฐานการพัฒนาภายใต้กลไกเครือข่ายผู้นำเปลี่ยนแปลงระดับตำบลและกลไก 7 ภาคีเครือข่าย ซึ่งประกอบไปด้วยภาคราชการ ภาควิชาการ ภาคศาสนา ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อสารมวลชน
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้นำกลุ่ม/องค์กร ภาคีเครือข่ายและประชาชนได้เรียนรู้และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตและนำมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้มีความเข้มแข็งทั้ง 3 มิติ ได้แก่ มิติด้านความมั่นคง มิติด้านความมั่งคั่ง และมิติด้านความยั่งยืน สร้างขีดความสามารถในการบริหารจัดการตำบลสู่ตำบลจัดการตนเอง อำเภอโพธิ์ชัยได้กำหนดพื้นที่เป้าหมาย คือตำบลหนองตาไก้ มีภาคีเครือข่ายการพัฒนา7 ภาคีระดับอำเภอและคณะทำงานขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกิจกรรมการขับเคลื่อน
– การลงนามความร่วมมือ(MOU) การขับเคลื่อนกิจกรรมกับภาคีเครือข่าย7 ภาคส่วน
– การประกาศวาระเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
– ตำบลมีการบริหารจัดการชุมชนโดยชุมชนมีความมั่นคงทางอาหารมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและอยู่ร่วมกันอย่างรู้รัก สามัคคี มีส่วนร่วมตามหลักประชาธิปไตย
– เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งทุนธรรมมา_ิบาล และไดรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
– บูรณาการคงามร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้ง 7 ภาคีเครือข่ายในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถี ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน

!!!!!!!
ภาพ:ข่าว ผ่านเลนส์ 21102

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link