กรมศุลกากรทำลายบุหรี่ไฟฟ้าและของกลางอื่นที่คดีถึงที่สุดแล้ว มูลค่ากว่า 72 ล้าน และตรวจยึดสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 150 ล้านบาท

กรมศุลกากรทำลายบุหรี่ไฟฟ้าและของกลางอื่นที่คดีถึงที่สุดแล้ว
มูลค่ากว่า 72 ล้าน และตรวจยึดสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 150 ล้านบาท

วันนี้(23 ก.พ.66) นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ รองอธิบดีกรมศุลกากร รักษาราชการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนา และบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร พร้อมด้วยพล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ คล้ายคลึง ผู้บังคับการ สอท. ได้ร่วมกันแถลงผลการระกวาดล้างใน2คดี

คดีแรกคือการระดมการกวาดล้างบุหรี่ไฟฟ้า และทำลายของกลางในในความผิดตามกฎหมายศุลกากรที่คดีสิ้นสุดแล้ว มูลค่ากว่า72ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้กรมศุลกากรทำงานร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ และกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้จับกุมและตรวจยึดสินค้าจากห้างร้าน ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมไปถึงโกดัง ซึ่งประกอบไปด้วย เครื่องบุหรี่ไฟฟ้า น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า หัวบุหรี่ไฟฟ้าที่ใช้สำหรับดูด และอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีการลักลอบนำเข้ามาในประเทศไทยมาโดยตลอด และมีการดำเนินคดีจนถึงที่สุด ซึ่งของกลางดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินและรอการทำลาย โดยข้องกลางที่จะนำไปทำลายในครั้งนี้ก็จะประกอบไปด้วย เครื่องบุหรี่ไฟฟ้า น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า หัวบุหรี่ไฟฟ้าที่ใช้สำหรับดูด และอุปกรณ์อื่นๆ รวมทั้งสิ้น 874,535ชิ้น มูลค่าความเสียหาย 72,019,523.46บาท ทั้งนี้ต้องบอกว่าบุหรีไฟฟ้าเป็นสิ่งต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร เจ้าของหรือผู้ครอบครองมีความผิดตามกฎหมายศุลกากร ในฐานความผิดซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ จำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งสิ่งของอันรู้ว่าเป็นของที่ยังมิได้ผ่านพีธีการคุลกากร หรือเคลื่อนย้ายของออกจากยานพาหนะ คลังสินค้าทัณฑ์บนโรงพักสินค้า ที่มั่นคง ท่าเรือรับอนุญาต หรือเขตปลอดอากร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากการพนักงานศุลกากร

โดยข้องกลางทั้งหมดจะถูดนำไปทำลายด้วยวิธีการทุบทำลายโดยรถบด ณ บริษัท โกลเด้นดีพ(ประเทศไทย)
จำกัด ต.ตาเสา อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยาในวันพรุ่งนี้

นายพันธ์ทอง ยังเปิดเผยถึงกรณีที่ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ได้ออกมาแฉ และยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีไม่ให้มีการจับปรับสำหรับผู้ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ว่า หลังจากที่ตำรวจทำการตรวจยึดจากผู้ที่ใช้หรือครอบครอง ตามกระบวนการก็จะต้องส่งของกลางให้กรมศุลกากร เมื่อผู้ใช้ยังรับและประสงค์ตกลงจะระงับคดีก็สามารถทำได้ทันที่ในชั้นกรมศุลการกร ไม่ต้องมีการส่งฟ้องศาลเมือคดีอาญาทั่วไป จากนั้นของกลางจะตกเป็นของแผ่นดี และเข้าสู่กระบวนการรอทำลายต่อไป ส่วนเรื่องการระงับหรือกวดขันการลักลอบนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า อย่างที่เคยพูดไก่อหน้าที่เวลาตรวจจะต้องคำนึงถึงการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าด้วย เราจึงไม่สามารถตรวจได้ทุกตู้คอนเทนเนอร์ ได้แต่ซุ่มตรวจ จึงการจะมีการเล็ดลอดลักรอบเข้ามาได้บางส่วน ซึ่งเราก็จะใช้วิธีการหาข่าวและกวาดล้างตามโกดังแทน

ส่วนคดีที่2คือการตรวจยึดสินค้าลักลอบหนีศุลกากรซึ่งเป็นสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา อาทิเสื้อผ้า กระเป๋า และรองเท้าจากแบรนด์ดัง มูลค่าความเสียหายกว่า 150ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้กองสืบสวนและปราบปราม กรมศุลกากร ได้รับแจ้งว่ามีการเก็บสินค้าที่มีถิ่นกำเนิดต่างประเทศไว้ในโกดังสินค้า ในพื้นที่พันท้ายนรสิงห์ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร จึงนำกำลังเข้าตรวจค้น พบสินค้าประเภท กระเป๋า รองเท้า ที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ และไม่พบเอกสารผ่านพิธีการศุลกากรมาสำแดงจำนวนมาก ถึงถือว่ามีความผิดในฐานความผิด มาตรา242 และมาตรา246 ประกอบมาตร166 และมาตรา167 แห่ง พรบ.ศุลกากร พ.ศ.2560 จึงได้ทำการตรวจยึดเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย

ทั้งนี้ทางกรมศุลกากรเล็งเห็นและให้ความสำคัญกับการป้องกัร และปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ตามความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการยอมรับในระดับสากล ร่วมถึงการสร้างมาตรฐานการป้องกันสังคม เพื่อประโยชน์ทางการค้าของผู้ประกอบการที่สุจริตและประชาชนทั่วไป

ทีมข่าวฝั่งธนฯ

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link