ศรีสะเกษ !! ผู้ว่าฯศรีสะเกษเปิดงานเทศกาลข้าวโพดหวานและของดีศริรัตนะ ประจำปี 2566

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 ที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ นายสำรวย เกษกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานงานเทศกาลข้าวโพดหวานและของดีศริรัตนะ ประจำปี 2566 ในระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคม 2566 โดยมีนายสุรพล ศรีพนมธนากร นายอำเภอศรีรัตนะ ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าส่วนราชการอำเภอศรีรัตนะ และประชาชนชาวอำเภอศรีรัตนะ ร่วมเปิดงานเทศกาลข้าวโพดหวานและของดีศรีรัตนะ ประจำปี 2566 เป็นจำนวนมาก ภายในงานมีกิจกรรมประกอบด้วยการแห่ขบวนวัฒนธรรมท้องที่ท้องถิ่น ขบวนฟ้อนรำศรีรัตนะร่วมใจโดยนางรำจิตอาสา 400 คน การประกวดผลผลิตทางการเกษตร การแสดงนิทรรศการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การออกร้านจำหน่ายสินค้า ผลไม้ ข้าวโพดหวานและผลผลิตทางการเกษตร การประกวดธิดาข้าวโพดหวาน การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง การแข่งขันกีฬาเซปักตะกร้อ การแข่งขันกีฬาเปตอง การแข่งขันกินข้าวโพด การแข่งขันส้มตำลีลา การจัดซุ้มจุดเช็คอินและการจัดแสดงรถตกแต่งผลไม้ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เกษตร์กรมีความสนใจในการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการของตลาด ส่งเสริมให้เกษตรกรสร้างผลผลิตโดยอาศัยตลาดนำการผลิต กระตุ้นให้เกิดการผลิต การตลาดหมุนเวียนอย่างครบวงจร ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลผลิต ผลิตภัณฑ์ของชุมชนและอำเภอให้ปรากฏแก่สายตาและความรับรู้ของมหาชน เป็นการสร้างงานและสร้างรายได้ให้มีศักยภาพมากขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์การส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นต่อไป

นายสุรพล ศรีพนมธนากร นายอำเภอศรีรัตนะ กล่าวว่า อำเภอศรีรัตนะ มี 7 ตำบล 90 หมู่บ้าน 8 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีพื้นที่ทั้งหมด 144,439 ไร่ พื้นที่การเกษตร 130,343 ไร่ และอำเภอศรีรัตนะเป็นหนึ่งในกลุ่มอำเภอที่มีศักยภาพ การผลิตข้าว พืชสวน พืชไร่ โดยเฉพาะข้าวโพดหวาน และทุเรียนภูเขาไฟ ซึ่งเป็นเป็นพืชที่สำคัญ และคิดเป็นมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรรวมของอำเภอศรีรัตนะโดยประมาณกว่า 60 ล้านบาท มีผลผลิตออกสู่ตลาดตลอดปีสร้างเงิน สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้และสร้างชื่อเสียงให้แก่อำเภอศรีรัตนะเป็นอย่างดี อำเภอศรีรัตนะ จึงได้จัดงานเทศกาลวันข้าวโพดหวาน และของดีศรีรัตนะประจำปี 2566 ขึ้น ในระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคม 2566 เพื่อสงเสริมให้เกษตรกรมีความสนใจปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการของตลาดกระตุ้นให้เกิดการผลิต และการตลาดหมุนเวียนอย่างครบวงจร เกิดการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า รวมทั้งประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้ปรากฏแก่สายตาและความรับรู้ของมหาชน และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นต่อไป

ข่าว/ภาพ …… บุญทัน-ปฐมพงษ์ ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link