นักวิจัยม.อุบลฯหนุนชุมชนย่านเมืองเก่าสร้างมูลค่าเพิ่มจากภูมิปัญญาการทำเทียน

นักวิจัย ม.อุบลฯ หนุนชุมชนย่านเมืองเก่า สร้างมูลค่าเพิ่มจากภูมิปัญญาการทำเทียน
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จัดจัดเวทีถ่ายทอดผลงานวิจัยและแนวทางการสร้างเครือข่ายในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ สืบสานและสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มแก่ทุนทางวัฒนธรรมด้านภูมิปัญญาการทำเทียนของจังหวัดอุบลราชธานี โดยมี นายสมเจตน์ เต็งมงคล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวรายงาน พร้อมนำทีมนักวิจัยและกลุ่มชุมชนย่านเมืองเก่า 5 ชุมชน ผู้ผลิตที่ร่วมโครงการวิจัยนำเสนอข้อมูลและโชว์ผลิตภัณฑ์และบริการ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยฯ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ เปิดเผยว่า จากผลการดำเนินโครงการวิจัยได้เกิดการออกแบบและพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์และบริการทางวัฒนธรรม จากการนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาการทำเทียนจังหวัดอุบลราชธานี มาประยุกต์ใช้จำนวน 20 ต้นแบบผลิตภัณฑ์และบริการ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทผ้า ผลิตภัณฑ์เทียนสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์เทียนกินได้ ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากภูมิปัญญาการทำเทียน และการรำ 4 แสง เป็นต้น โดยบูรณาการการทำงานระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชนย่านเมืองเก่า 5 ชุมชน ในจังหวัดอุบลราชธานี นำไปสู่การยกระดับ สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม ยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม และสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางวัฒนธรรม สำหรับทุนทางวัฒนธรรมด้านภูมิปัญญาการทำเทียนของจังหวัดอุบลราชธานี สร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างมูลค่าใหม่บนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ย่านเมืองเก่า สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม ยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม และสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางวัฒนธรรม
ในส่วนของการดำเนินการโครงการ ทีมวิจัยมุ่งเน้นการบูรณาการทำงานระหว่างภาครัฐ เอกชนและชุมชนย่านเมืองเก่า 5 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนวัดกลาง ชุมชนวัดบูรพา ชุมชนวัดศรีประดู่ ชุมชนวัดทุ่งศรีเมือง และชุมชนวัดป่าใหญ่ มีกิจกรรมหลักของโครงการ ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การวิเคราะห์และสกัดคุณค่าอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของภูมิปัญญาการทำเทียนในพื้นที่ย่านเมืองเก่า กิจกรรมที่ 2 การยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการและนวัตกรทางวัฒนธรรมในพื้นที่ย่านเมืองเก่า กิจกรรมที่ 3 การสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางวัฒนธรรม และ กิจกรรมที่ 4 การยกระดับทุนทางวัฒนธรรมด้านภูมิปัญญาการทำเทียนในพื้นที่ย่านเมืองเก่า
ผลการดำเนินโครงการวิจัยฯ พบว่าชุมชนย่านเมืองเก่ามีความเข้มแข็ง สามารถรออกแบบและพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์และบริการทางวัฒนธรรม นำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาการทำเทียนมาประยุกต์ใช้ จำนวน 20 ต้นแบบผลิตภัณฑ์และบริการ เชื่อมต่อองค์ความรู้เรื่องทุนทางวัฒนธรรม แปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมใหม่ๆเพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มหรือมิติเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กระจายการรับรู้กระจายความสำนึกรักในทุนเดิมที่คนในพื้นที่มีอยู่ให้มากขึ้นต่อไป
////////////////////////////////////// ศูนย์ข่าวเฉพาะกิจจังหวัดอุบลราชธานี / ข่าว.

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link