ศรีสะเกษ !! ชป.ศรีสะเกษ ร่วมกับ ปภ.ศรีสะเกษ เร่งแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 ที่ห้องประชุมศูนย์บริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ(SWOC) โครงการชลประทานศรีสะเกษ นายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ และนายพีระพงศ์ หมื่นผ่อง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดศรีสะเกษ ได้ร่วกันประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้กับราษฎรในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีหัวหน้าหน่วยงาน ชป.ศรีสะเกษ ร่วมกับ ปภ.ศรีสะเกษ ร่วมในการปรึกษาและหาแนวทางในการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ให้ได้ผลกระทบจากปัญหาภัยล้งในปี2566 นี้
นายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ กล่าวว่า เนื่องจากมีราษฎรในบางพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษได้ขาดแคลนแหล่งน้ำในการผลิตน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค ทำให้มีผลกระทบด้านน้ำกินน้ำใช้ต่อราษฎร ซึ่งอาจจะทวีความรุนแรงด้านภัยแล้งมากยิ่งขึ้นหากไม่ดำเนินการแก้ไขเร่งด่วน โครงการชลประทานศรีสะเกษ ได้ดำเนินการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในจังหวัดศรีสะเกษทั้งระบบและเสนอแนวทางและเทคนิคในการผันน้ำจากบริเวณแหล่งน้ำที่มีน้ำต้นทุนสูง มายังบริเวณพื้นที่ผลิตน้ำประปาที่ได้รับผลกระทบ ให้สามารถเป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการผลิตน้ำประปาให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบได้ ซึ่งโครงการชลประทานศรีสะเกษจะได้บริหารจัดการน้ำอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดสถานการณ์ภัยแล้ง และให้มีผลกระทบกับราษฎรด้านภัยแล้งน้อยที่สุด
ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ กล่าวต่อไปว่า สถานการณ์น้ำในจังหวัดศรีสะเกษนั้น ได้วิเคราะห์สถานการณ์น้ำปัจจุบันและวิเคราะห์ปริมาณน้ำฝนจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าสถานการณ์น้ำในจังหวัดศรีสะเกษนั้น จังหวัดศรีสะเกษมีเขื่อนขนาดใหญ่จำนวน 2 เขื่อน สามารถเก็บกักน้ำได้ 139.44 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันเก็บกักได้ 114.19 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 81.90% มีอ่างเก็บน้ำขนาดกลางจำนวน 16 แห่ง สามารถเก็บกักน้ำได้ 208.34 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันเก็บกักได้ 84.56 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 40.59% และจากการวิเคราะห์ปริมาณน้ำฝนจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่าในจังหวัดศรีสะเกษนั้นมีปริมาณน้ำฝนตกในรอบ 30 ปีเฉลี่ย 1445.8 มิลลิเมตร ในปี 2565 มีปริมาณน้ำฝนตก 1692.6 มิลลิเมตร ซึ่งมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยรอบ 30 ปี และในปี 2566 นี้ มีปริมาณน้ำฝนตกสะสมแล้ว 164.9 มิลลิเมตร (เดือนพฤษภาคมฝนตก 40 มิลลิเมตรแล้ว) และจากการวิเคราะห์ฝนตกรายเดือนในรอบ 30 ปีพบว่าในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน จะมีฝนตกเฉลี่ยเดือนละประมาณ 225 มิลลิเมตร
นายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ กล่าวในตอนท้ายว่า จากการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำและจากการวิเคราะห์ปริมาณน้ำฝนจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาดังกล่าวข้างต้น จึงคาดว่าในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้จะมีฝนตกอีกประมาณ 185 มิลลิเมตร ซึ่งจะเริ่มมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนทั้ง 2 แห่งและอ่างเก็บน้ำขนาดกลางทั้ง 16 แห่งต่อไป

ข่าว/ภาพ…… บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link