สทนช. เสนอร่างผลการศึกษาผังน้ำลุ่มน้ำน่าน ให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนพิจารณาให้ความคิดเห็น
ก่อน ชง กนช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ แล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 เวลา 10.00 น.ณ โรงแรมเทวราช อำเภอเมืองน่าน จ.น่าน นายนิวัฒน์ งามธุระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานเปิดการประชุมเสนอร่างผลการศึกษาผังน้ำลุ่มน้ำน่าน ให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนพิจารณาให้ความคิดเห็น ก่อน ชง กนช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ แล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมีนางสาวสุมาลี พึ่งคำ ผู้อำนวยการกลุ่มอุตุและอุทกวิทยาประยุกต์ ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กล่าวรายงานเปิดเผยภายหลังการประชุมผังน้ำ ครั้งที่ 4 (ปัจฉิมนิเทศ) พื้นที่ลุ่มน้ำน่าน เวทีที่ 1 โครงการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน เพื่อนำเสนอร่างผลการศึกษาโครงการ และให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูล พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ก่อนนำเสนอ กนช. ได้พิจารณาและให้ความเห็นชอบ แล้วให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อทราบโดยทั่วกัน ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย คณะกรรมการลุ่มน้ำ หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนที่เกี่ยวข้อง ราว 100 คน ผลการศึกษาผังน้ำ นอกจากแสดงในรูปแผนที่และแผนผังแล้ว ยังจัดทำเป็นเอกสารและคู่มือเพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์ อาทิเช่น ข้อเสนอแนะการเตรียมความพร้อมในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินในระบบทางน้ำของผังน้ำ เพื่อช่วยลดความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สินจากภาวะน้ำท่วม ข้อเสนอแนะการใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับหน่วยงานผู้มีอำนาจอนุญาตการใช้ประโยชน์ที่ดิน คู่มือการบริหารจัดการน้ำท่วม-น้ำแล้ง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเกิดเอกภาพและเป็นระบบ โดยผังน้ำลุ่มน้ำน่านมีพื้นที่น้ำหลาก รหัสโซน “ล” ประมาณ 1.49 ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่น้ำหลากหมายถึง ทางน้ำธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อรองรับน้ำหลากหรือน้ำขึ้นและน้ำลง และให้น้ำสามารถระบายหรือไหลผ่านได้ และพื้นที่ริมตลิ่งที่ออกแบบไว้ให้เป็นทางระบายน้ำท่วม รวมทั้งพื้นที่ราบหรือลาดบริเวณริมทางน้ำ ควรใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ทางน้ำหลาก เป็นพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร มิให้เกิดการพัฒนาที่อาจก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนทางน้ำหรือกระแสน้ำ หรือกีดขวางการไหลของน้ำในระบบทางน้ำ เว้นแต่การใช้ประโยชน์ที่ดินที่กำหนดไว้เป็นเขตชุมชน เขตอุตสาหกรรม และเขตพื้นที่ป้องกันน้ำท่วมตามผังเมืองรวม ส่วนพื้นที่น้ำหลากริมลำน้ำควรมีระยะถอยร่นริมน้ำตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร และพื้นที่น้ำนอง รหัสโซน “น” ประมาณ 1.28 ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่น้ำนองหมายถึงพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเป็นประจำในฤดูน้ำหลากหรือพื้นที่ที่มีศักยภาพเพื่อใช้เป็นที่ชะลอน้ำ โดยมีอาคารบังคับน้ำสำหรับบริหารจัดการน้ำเข้าออก ควรใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นเขตชนบทและเกษตรกรรม และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร มิให้เกิดการพัฒนาที่อาจก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนทางน้ำหรือกระแสน้ำ หรือ กีดขวางการไหลของน้ำในระบบทางน้ำ เว้นแต่การใช้ประโยชน์ที่ดินที่กำหนดไว้เป็นเขตชุมชน เขตอุตสาหกรรม และเขตพื้นที่ป้องกันน้ำท่วมตามผังเมืองรวม“ผังน้ำเป็นข้อมูลให้ประชาชนทราบว่าพื้นที่ของตนอยู่ในจุดเสี่ยงหรือไม่ คณะกรรมการลุ่มน้ำมีข้อมูลประกอบในการจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดวางโครงการเพื่อการป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง/น้ำท่วม ตลอดจนการอนุมัติ/อนุญาตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่จะไม่ก่อให้เกิด
การเบี่ยงเบนหรือกีดขวางการไหลของน้ำ”
นางสาวสุมาลี พึ่งคำ ผู้อำนวยการกลุ่มอุตุและอุทกวิทยาประยุกต์ ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กล่าวว่า
ในส่วนของที่มีการ ศึกษาการจัดทำผังน้ำลุ่มน้ำน่าน ในส่วนนี้ ก็จะมีการจัดทำแผนผัง ในส่วนที่จะไปทำประกาศราชกิจจานุเบกษา ซึ่งในผังน้ำ ก็จะมีการศึกษาในเรื่องทางน้ำ องค์ประกอบทางน้ำ ขอบเขตทางน้ำต่างๆ ตรงนี้ ก็จะเป็นส่วนสำคัญที่ในการพัฒนาแหล่งน้ำต่างๆ มีทั้งองค์ประกอบทางน้ำ และแนวทางต่างๆ รวมถึงการศึกษาแผนน้ำท่วม ตรงนี้ก็จะเป็นบริบทสำคัญให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปวางแผนในการบริหารจัดหารน้ำได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม รวมถึงประชาชนก็มีส่วนร่วม ในการเข้ามาส่วนร่วมในการศึกษาตัวผันน้ำ หากน้ำหลากตรงไหน มีความเสี่ยงอย่างไร และหน่วยงานทุกหน่วยงานจะได้นำแนวทางและข้อเสนอแนะการใช้ประโยชน์ ที่ดีไปบังคับใช้หรือเสนอแนะให้ประชาชน นำไปปรับแผนใช้
นายนิคม ถาน้อย ผอ.กลุ่มนโยบายและแผนลุ่มน้ำนักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ กล่าวว่า เรื่องการผังน้ำ ก็มีเป็นไปตาม พรบ.ทรัพยากรน้ำ ในมาตรา 4 ในการบริหารจัดการน้ำประเทศไทยมี 22 ลุ่มน้ำหลัก ได้ประกาศเป็นพระราชกิจฎีกา กำหนุดลุ่มน้ำ พ.ศ. 2564 แต่เดิมที่บริหารอยู่ที่ 25 ลุ่มน้ำ แต่ก็ไม่มีกฎหมายที่รองรับแต่ตอนนี้ได้มีพระราชกฤษฏีกา กำหนดขึ้นลุ่มน้ำ เป็น 22 ลุ่มน้ำหลัก แต่ตอนนี้ มี สนช.มีหน้าที่จัดทำผังน้ำ ซึ่งในวันนี้ มาในส่วนของลุ่มน้ำน่าน แต่ตัวโครงการตัวนี้ จะเป็นลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน ที่ทำปิง วัง ยม น่าน ตามแผนที่นั้น ก็จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดทั้งเรื่องของแหล่งน้ำ และเรื่องของทางน้ำ หลักๆก็จะมีตัวย่อหลายตัว เรื่องผังน้ำหลาก เช่นพื่นที่ลุ่มต่ำ แต่ซึ่งจริงๆแล้ว จะมีประกาศในราชกฤษฎีกา เพื่อน้ำไปใช้ประกอบการจัดทำผังเมือง เวลาทำอะไร เราต้องมาดูพระราชกฤษฎีกาตัวนี้ด้วย
ประสิทธิ์ สองเมืองแก่น จ.น่าน
โทร 084-8084888
Leave a Reply