งานโครงการแข่งขัน โอลิมปิกหุ่นยนต์ 2566
วันที่ 8-9-2566 องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การ
มหาชน) ร่วมกับ บริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีร่วมเป็นเจ้าภาพใน
การจัดการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ระดับชิงชนะเลิศประเทศไทย ประจำปี 2566 เพื่อเป็นเวทีให้เยาวชนไทย
ได้แสดงศักยภาพด้านการออกแบบและเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ โดยหัวข้อการแข่งขันประเภทหุ่นยนต์อัตโนมัติ
(ROBOMISSION) คือ Connecting The World
การจัดการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ระดับชิงชนะเลิศประเทศไทย ในครั้งนี้มี 2 ประเภท คือ การ
แข่งขันประเภท ROBOMISSION หรือหุ่นยนต์อัตโนมัติ และการแข่งขันประเภท Future Innovators หรือ
ประเภทโครงงาน
การแข่งขันประเภท ROBOMISSION แบ่งเป็น 3 รุ่น การแข่งขัน ดังนี้ รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี จำนวน
96 ทีม รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปีจำนวน 69 ทีม รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี จำนวน 91 ทีม และ การแข่งขันประเภท
Future Innovators จำนวน 18 ทีม รวมทั้งสิ้นกว่า 274 ทีม จากทั่วประเทศไทย โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วม
กิจกรรม และร่วมชมการแข่งขัน ฯ กว่า 2,500 คน ต่อวัน
ในการจัดการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเขียนโปรแกรมและออกแบบหุ่นยนต์ เพื่อ
ทำภารกิจที่กำหนดในสนาม ผู้ชนะการแข่งขันฯ จะได้ตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขัน ฯ ระดับ
นานาชาติ ณ สาธารณรัฐปานามา ในวันที่ 7 – 9 พฤศจิกายน 2566 ในลำดับต่อไป
สำหรับโครงการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ (WRO 2023: World Robot Olympiad 2023) ในครั้งนี้
ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐฯ และเอกชนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีบริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด
(มหาชน) และ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด การแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ ระดับชิงชนะเลิศประเทศ
ไทย จัดขึ้นในวันที่ 8 – 10 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ BANGKOKTHONBUTI HALL มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
โดย ได้รับเกียรติจาก คุณวันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีโดย ดร. นวลวรรณ
ชะอุ่ม ประธานโครงจัดการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อ
เป็นเวทีแข่งขันการเขียนโปรแกรม และ เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงจุดประกายความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทยให้ก้าวไกลต่อไปในอนาคตตามนโยบาย ประเทศไทย
4.0 ในการพัฒนาวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการวิจัย
ผู้ที่สนใจสามารถร่วมเป็นกำลังใจให้กับผู้แข่งขัน และชมการแข่งขันฯ ได้ในวันที่ 8 – 10 กันยายน
พ.ศ. 2566 ณ BANGKOKTHONBUTI HALL มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
Leave a Reply