ทายาทตระกูล”ธรรมสโรช”นำอัฐิ เป็นพระธาตุ มาทำบุญ และหล่อรูปเหมือน พลตรี พระยาวิบุล อายุรเวท (เสข ธรรมสโรช) ทองสัมฤิทธิ์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬา(ท่านแรก)แต่ไม่ถูกบันทึกไว้ในทำเนียบ ผู้อำนวยการ เพื่อนำไปตั้งที่ ตึกจักรพงษ์ โรงพยาบาลจุฬา ลงกรณ์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงในคุณงามความดีของท่านที่มีต่อวงการแพทย์ไทย….

ทายาทตระกูล”ธรรมสโรช”นำอัฐิ เป็นพระธาตุ มาทำบุญ และ หล่อรูปเหมือน พลตรี พระยาวิบุล อายุรเวท (เสข ธรรมสโรช) ทองสัมฤิทธิ์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬา (ท่านแรก)แต่ไม่ถูกบันทึกไว้ในทำเนียบ ผู้อำนวยการ เพื่อนำไปตั้งที่ ตึกจักรพงษ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงในคุณงามความดีของท่านที่มีต่อวงการแพทย์ไทย..

เมื่อวันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 10 ณ.พิพิธภัณฑ์เทพศรียันตรา อ.บางเลน จ.นครปฐม บริเวณอาคารลานประกอบพิธี เวลา 07.30 น.ทางคณะเจ้าภาพนำโดย คุณ วิบูลศรี ธรรมสโรช อดีตผู้จัดการภาคแหล่งน้ำมัน สิริกิตต์/กรรมการบริหารไทยเชลล์(สมัยนั้น) พร้อมด้วย คุณชัชวลิต ธรรมสโรช ผู้จัดการฝ่ายหน่วยงานบริหารทั่วไป บริษัท พีทีทีโกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และ บรรดาญาติพี่น้อง-ลูกหลาน ร่วมงานมงคลพิธีการเททองหล่อรูปเหมือนท่าน พลตรี พระยาวิบุล อายุรเวท(เสข ธรรมสโรส)ร่วมกันทำบุญถวายภัตตาหารเช้าแด่พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 5 รูป จาก”วัดบางเลน” จังหวัดนครปฐม และ เวลา 08.00 น.ทางคณะพระสงฆ์ จำนวน 5 รูป เริ่มสวดบังสกุล อุทิศส่วนบุญกุศลแด่บรรพบุรุษ์ จนถึงเวลา 09.09 น.ได้ฤกษ์เริ่มพิธีเททอง พระสงฆ์สวดชยันโต จนถึงเวลา 09.09 น.เสร็จพิธี และ ท่านทั้งหลายร่วมกันถ่ายรูปหมู่ไว้เป็นที่ระลึกอีกด้วย

ทั้งนี้”มูลนิธิวิบุลอายุรเวท”จัดตั้ง เมื่อท่าน พลตรี พระยาวิบุล อายุรเวท (เสข ธรรมสโรช) ได้ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2518 ท่านได้ระบุไว้ในพินัย กรรม ให้มอบทรัพย์สินที่ท่านรักมากที่สุดส่วนหนึ่งให้กับการกุศล นั้นก็คือที่ดิน และ”บ้านธรรมสโรช ” ซึ่งตั้งอยู่บ้านเลขที่ 334 ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ซึ่งทางทายาท ได้พิจารณาร่วมกัน และตกลงจัดตั้งมูลนิธิฯขึ้นมา โดยให้ชื่อว่า “มูลนิธิวิบุลอายุรเวท”เพื่อเป็นอนุสรณ ์และ เกียรติคุณให้แด่ท่าน พลตรี พระยาวิบุลอายุรเวท(เสข ธรรมสโรช) ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2519 ทุนจดทะเบียนเริ่มแรกจำนวน 105,038.58 บาท ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ

วัตถุประสงค์ของ”มูลนิธิวิบุลอายุรเวท”
(1.) เพื่อให้ทุนการศึกษาแก่ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์
(2.) เพื่อบำรุงโรงพยาบาลและกิจการแพทย์
(3.) เพื่อช่วยเหลือการกุศลต่างๆ
(4.) เพื่อประสานงานกับสถาบันอื่นที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกัน โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

ผู้ให้กำเนิด”มูลนิธิวิบุลอายุรเวท”
พลตรี พระยาวิบุลอายุรเวท (เสข ธรรมสโรช)ชาตะ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2426มรณะ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2518ทรัพย์สิน และ รายได้ของทาง”มูลนิธิบุลอายุรเวท จากพินัยกรรมของท่าน พลตรี พระยาวิบุลอายุรเวท ท่านได้ยกที่ดิน และ บ้านธรรมสโรชจำนวน 61 ส่วนให้กับการกุศล ในการนี้”คุณละอองศรี สุวงศ์” ได้สมทบทุนมอบกรรมสิทธิ์ทั้งหมดที่ได้รับจากพินัยกรรมจำนวน 5 ส่วนให้กับมูลนิธิฯรวมเป็นกรรมสิทธ์ที่มูลนิธิฯถือครองทั้งสิ้น 66 ส่วน ซึ่งมูลนิธิฯและผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมอื่นๆ จึงได้เปิดให้เช่าบ้านธรรมสโรช เพื่อนำค่าเช่ามาเป็นรายได้หลักให้กับมูลนิธิฯ รวมถึงดอกเบี้ยเงินฝาก ส่วนรายได้รองนั้นได้มาจากการรับบริจาค และจากการหารายได้ทางอื่น ส่วนการคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมจะได้รับทุนจะต้องเป็นผู้ที่บิดา-มารดา มีรายได้น้อย หรือ มีปัญหาขาดแคลนทุนทรัพย์ มีประวัติ นิสัย ความประพฤติ และ จิตใจดี มีความขยันขันแข็ง มานะ บากบั่น มีผลการ เรียนดี พอประมาณ ร่วมทำกิจกรรมกับผู้อื่น ทางมูลนิธิฯจะมอบทุนให้จนจบการศึกษา ถ้าไม่มีเหตุผลที่ต้องทำให้ยกเลิกในการมอบทุน ต้องขึ้นอยู่กับทางมหาวิทยาลัย หรือ วิทยาลัย ซึ่งจะเป็นผู้คัดเลือกและเสนอชื่อนักศึกษา โดยพิจารณาจากความจำเป็น

(สิ่งตอบแทน)ทางมูลนิธิฯไม่ขอสิ่งตอบแทนใดๆ จากนักศึกษาและไม่มีภาระผูกพัน เพียงขอให้จบมาเป็นแพทย์และพยาบาลที่ดี อุทิศตนให้ช่วยกันสร้างสังคมไทยให้ก้าวหน้า น่าอยู่มากกว่านี้ และ รูปหล่อดังกล่าวจะนำไปตั้งที่”ตึกจักรพงษ์”โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อระลึกนึกถึงในคุณงามความดีของท่านที่มีต่อวงการแพทย์ไทย ท่านเป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงพยาบาลสภากาชาดสยาม หรือโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในปัจจุบัน และ เป็น 1 ใน 10 ผู้ก่อตั้งแพทยสมาคมแห่งประเทศ ไทย ท่านเป็นผู้ให้กำเนิดมูลนิธิวิบุลอายุรเวท โดยมูลนิธิฯได้ทำกุศลและช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 40 ปี นอกจากนี้ทายาทได้นำทุนทรัพย์ของท่านบริจาคเพื่อก่อสร้างศูนย์ความเป็นเลิศทางโรคไต จำนวน 47 ล้านบาท ณ อาคารสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 8 และ ชั้น 10 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในส่วนโรงหล่อ”พิพิธภัณฑ์เทพศรียันตรา”ได้รับเกียรติอันสูงส่งจากทายาทของ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาฯท่านแรก(สมัยนั้น)ในการสรรค์สร้างหล่อปั้นองค์บุคคลสำคัญในครั้งนี้ครับ

ผ่านเลนส์ 005~รายงาน

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link