อดีตผู้ว่าฯสงขลา ห่วงการขุดลอกคลองอาทิตย์ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าด้วยตนเอง

อดีตผู้ว่าฯสงขลา ห่วงการขุดลอกคลองอาทิตย์ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าด้วยตนเอง
เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ 15 ก.ย.61 นายธำรง เจริญกุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ซึ่งในครั้งที่เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ระหว่าง ปี 2557-2558 เป็นผู้ดำเนินการโอนคลองพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ที่อยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัดสงขลา ให้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่พร้อมด้วย พ.จ.ท.อนันต์ บุญสำราญ นายอำเภอสทิงพระ และผู้นำท้องที่ เพื่อติดตามความคืบหน้าของการขุดลอกคลอง และพูดคุยกับชาวบ้านเจ้าของที่ดิน เพื่อทราบถึงความก้าวหน้าของการขุดลอก และการเวนคืนที่ดิน
โดยนายธำรง ได้กล่าวว่า ในอดีตคลองพลเอกอาทิตย์ อยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัดสงขลา ทำให้ขาดงบประมาณในการดำเนินการ ขุดลอก และขยายให้กว้างกว่าเดิม เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรใน 4 อำเภอ คือ อ.สิงหนคร,อำเภอสทิงพระ , อ.ระโนด ซึ่งมีปัญหาในเรื่องน้ำเพื่อใช้ในการทำการเกษตร และคลองที่ขุดขึ้นแต่เดิม มีปัญหาไม่มีน้ำที่จะใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึง
ในขณะที่ตนเอง ก็ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา จึงได้ทำการโอนคลองพลเอกอาทิตย์ ให้กับกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เป็นผู้รับผิดชอบ พร้อมทั้งของบประมาณเพื่อการ ขยายคลองแห่งนี้ให้กว้าง และลึกเพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตรได้อย่างแท้จริง ซึ่งนายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประธานในขณะนี้ ให้ความเห็นชอบ และผ่านการผลักดันของนายไพเจน มากสุวรรณ์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาใน อ.สิงหคร จ.สงขลา จนทำให้มีการตั้งงบประมาณ 2559-2565 จำนวน 5,527,759,648 บาท เพื่อการขยายและการขุดลอก รวมทั้งค่าเวนคืนที่ดินของประชาชนบริเวณริมคลอง

โดยขณะนี้ กรมชลประทานได้นำเครื่องจักรกล เข้าดำเนินการ ขุดขยายคันคลองในจุดที่มีการจ่ายค่าเวนคืนไปแล้ว ในบริเวณบ้านคลองหนัง รอยต่อ ต.สนามชัย และ ต.คลองรี และในพื้นที่ ต.ชุมพล อ.สทิงพระ ซึ่งทั้ง 2 จุด ได้มีการทำประชาคม โดยชาวบ้านเห็นชอบกับการขุดลอกคลองอาทิตย์ ตามโครงการบริหารการจัดการน้ำคาบสมุทรสทิงพระ
สำหรับการขุดลอกคลองอาทิตย์ ตามโครงการบริหารจัดการน้ำคาบสมุทรสทิงพระของกรมชลประทานคือ จะมีการขยายจากเดิม 15 เมตร เป็น 30 เมตร และจากเดิมลึก 3 เมตร เป็น 5 เมตร เพื่อให้สามารถรองรับน้ำจากทะเลสาบสงขลาได้ ในส่วนของค่าเวนคืนนั้น จะมีการการเวนคืนที่ดินให้กับเจ้าของที่ดิน ไร่ละ 18,000 บาท ไม่รวมค่าอาสิน ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาที่มีการซื้อ ขายกันในปัจจุบัน
นายธำรง กล่าวว่า หากโครงการนี้ลุล่วงในปี 2565 หรืออย่างช้า 2567 นอกจากจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและเพื่อบริโภคใน 4 อำเภอของจังหวัดสงขลาแล้ว ยังจะช่วยแก้ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นทุกปี ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก เพราะจะสามารถรับน้ำได้เป็นจำนวนมาก และระบายน้ำลงสู่ทะเลได้อย่างรวดเร็ว
ปัญหาที่ยังต้องทำความเข้ากับประชาชนในขณะนี้คือ ชาวบ้านส่วนหนึ่ง ยังไม่เข้าใจโครงการ การบริหารจัดการน้ำคาบสมุทรสทิงพระ เพราะขาดข้อมูลของโครงการที่ครบถ้วน โดยเฉพาะเรื่องของค่าเวนคืนที่ดิน การขาดความร่วมมือจากชาวบ้านทั้งที่เป็นที่เป็นสิทธิและเป็นประโยชน์ในการยกคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ ผู้นำท้องถิ่นไม่ติดตามโครงการเพื่อทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ซึ่งขณะนี้กรมชลประทานกำลังดำเนินการทำเอกสารของโครงการ และเอกสารการจ่ายค่าเวนคืนที่ดิน และอาสิน เพื่อให้ชาวบ้านได้มีการศึกษา และตรวจสอบโครงการ เพื่อให้เห็นถึงความโปร่งใสของการดำเนินการ

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link