ปทุมธานีนักธุรกิจเตือนรัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจเน้นที่รากหญ้า ก่อนสายเกินไป!

ปทุมธานีนักธุรกิจเตือนรัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจเน้นที่รากหญ้า ก่อนสายเกินไป!
ตามที่นายกรัฐมนตรีประกาศจะส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนักธุรกิจ ที่รวยที่สุดในประเทศ 20 รายชื่อแรก เพื่อขอรับบริจาค เงินช่วยเหลือประเทศในวิกฤต ขณะนี้ นายธีรวงศ์ สรรค์พิพัฒน์ นักธุรกิจส่งออกขยะและกรรมการผู้จัดการบริษัทปราบขยะรีไซเคิล จำกัด ขอให้ทบทวนการส่งจดหมายอีกครั้ง เนื่องจากเรื่องการทำบุญการช่วยเหลือ ไม่ใช่เป็นการร้องขอในลักษณะบังคับออกสื่อแต่อย่างใด แต่ควรเป็นความสมัครใจ ซึ่ง มนุษย์เมื่อต้องการจะช่วยใครก็จะช่วยด้วยตัวเอง การร้องขอ ผ่านสื่อ ต่างๆนั้นนอกจากจะ ทำให้การเขียนจดหมายดังกล่าวไม่มีความจำเป็น เพราะนักธุรกิจเหล่านั้นคงรับทราบหมดแล้ว อีกทั้งยังอาจเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน หรืออาจเป็น การแลกเปลี่ยนในบางสิ่งบางอย่าง กับการช่วยเหลือ อีกทั้งยังสร้างความอึดอัดใจให้กับภาพลักษณ์ของผู้ที่ถูกขอ และสังคมไทย เมื่อเกิดวิกฤตรัฐบาลจึงควรทำหน้าที่เป็นแม่ทัพใหญ่ ดูแลคนในประเทศให้เพียงพอก่อนที่จะแจกจ่ายไปยังต่างประเทศ การดูแลคนในประเทศ ต้องมีนโยบายที่ชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้จริงอย่างเร่งด่วน ที่มาจากความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นที่เกิดขึ้น ขณะนี้ในประเทศมีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง หมักหมม เรื้อรังมาอย่างยาวนาน เมื่อมีสัญญาณเศรษฐกิจที่ไม่ไปในทิศทางที่ดีมีการปรับแต่งตัวเลข บางอย่าง ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจ ล้วนมีผลต่อ ภาคธุรกิจโดยตรง เมื่อสัญญาณดังกล่าวเกิดขึ้น ทำให้ ภาคการเงินสถาบันการเงิน แบงค์ต่างๆรัดเข็มขัดในการปล่อยกู้ ซึ่งรัฐบาล ก็มีแนวคิด จะให้แบงค์ชาติ เข้าไปซื้อหุ้นกู้ของบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์โดยตรงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แบงค์ชาติเป็นแบงค์ที่เปรียบเสมือนผู้คุมกฎ เป็นกรรมการไม่ควรลงมาเล่นในสนามที่อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของตัวเองและต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรงในสายตานักธุรกิจ ยังไม่รวมถึงข้อพิพาทที่ตามมาในอนาคต การเพิ่มเติมสภาพคล่องอัดฉีดกระแสเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนั้น จะต้องทำให้ตัวทวีทำงานได้อย่างเต็มที่หรือทำให้เงินหมุนรอบไปได้อย่างเป็นวงกว้าง ไม่ใช่การซื้อหุ้นกู้ การเข้าซื้อหุ้นกู้จากบริษัทรายใหญ่นั้น เมื่อบริษัทหรือเอกชนรายดังกล่าวได้รับเงินจากแบงก์ชาติไป อาจไม่ได้สามารถลงทุนในช่วงระหว่างเวลานี้ได้ ทำให้เงินที่แบงค์ชาติอัดฉีดเข้าสู่ระบบจะตันไม่มีทางออกไปต่อ ทำให้เศรษฐกิจไม่ได้รับการเสริมสภาพคล่องอย่างที่ตั้งใจรวมถึงอาจมีเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่ใช่สิ่งที่แบงค์ชาติควรทำ สิ่งที่รัฐบาลและแบงค์ชาติควรทำในปัจจุบัน
1. เสริมสภาพคล่อง ให้กับธุรกิจ sme ในประเทศ โดยออกมาตรการลดดอกเบี้ยให้รวมถึงลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระ ไม่เกิน6เดือน และยกเว้นค่าปรับ ค่าทวงถาม และดอกเบี้ยที่เกิดจากการผิดนัดนั้น
2. พิจารณาอนุมัติวงเงินปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โดยไม่นำเครดิตบูโรที่ผิดนัดชำระในรอบ 3 เดือนมาคำนวนคะแนนการอนุมัติสินเชื่อ เพราะ SME เป็นหัวใจของความเข้มแข้งของธุรกิจในประเทศ
3. ผ่อนผันการชำระค่าไฟ ให้กับ SME 6 เดือน และภายหลัง 6 เดือนให้ทะยอยจ่ายยอดค้างชำระ6เดือนในอัตรา10 เปอร์เซนต์ของยอดคงค้างบวกรวมกับค่าไฟเดือนที่7ต่อไปจนครบ
4. ยกเว้นภาษีรายได้ให้กับภาคส่งออกจนหมดปีภาษีเพื่อดึงเงินจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ และจูงใจให้เกิดการลงทุนเป็นวงกว้าง ไม่ใช่ต้องลงทุนขนาดใหญ่ผ่าน BOI ในนิคมอุตสาหกรามเท่านั้น ซึ่งแทบเป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน
5. ยกเว้นผังเมืองให้กับธุรกิจที่มีความจำ หรือไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบางประเภท เช่น ธุรกิจผลิตหน้ากากอนามัย อุปกรณ์ทางการแพทย์ ธุรกิจรีไซเคิล
6. ค่าธรรมเนียมแรงงานต่าวด้าวให้คิดตามจำนวนโควต้าหรือสิทธิ์ที่ได้รับ แม้ว่าแรงงานต่างด้าวจะเปลี่ยนคน แต่ก็ไม่คิดเพิ่มถ้าอัตราที่จ้างยังตามโควต้าเท่าเดิม ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับแรงงานต่างด้าวรายใหม่
7. นโยบายแจกเงินควรเข้าถึงทุกคนโดยยึดการคำนวนจากฐานรายได้ (รวมถึงผู้ที่ไม่เคยอยู่ในระบบภาษี) ไม่ใช่ยึดจากสาขาอาชีพ หรือคนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น ยังรวมถึง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้เสมือนไร้ความสามารถ กลุ่มอาชีพอื่นๆ ล้วนได้รับผลกระทบไม่น้อยไปกว่ากัน
8. ลดช่องว่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อให้การลดดอกเบี้ยนโยบายมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ปัญหาโควิดยากที่จะต้องทำให้ระบบเศรษฐกิจเดินต่อไปได้ ไม่ใช่คำนึงแค่ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ลดลงเพียงเท่านั้น SME เป็นภาคธุรกิจที่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่างเร่งด่วน รัฐบาลควรให้ความสำคัญยิ่งกว่า ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกันมีทุนสำรอง มีความแข็งแรงมากกว่ารายย่อยเพราะเมื่อ SME ล้มลงไปแล้วการที่จะกลับมาประกอบธุรกิจนั้น แทบเป็นไปไม่ได้ และเมื่อ สภาพคล่องถูกเสริมให้กับ SME เหล่านั้นจะทำการใช้สภาพคล่องดังกล่าว ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าและเร็วกว่าภาคธุรกิจรายใหญ่เพราะเป็นความจำเป็นที่ต้องใช้เงินสดเพื่อประคองธุรกิจให้อยู่รอด ไม่เหมือนธุรกิจรายใหญ่ที่มีทุนสำรองและไม่มีนโยบายที่จะลงทุนในวิกฤตเช่นนี้
รัฐบาลต้องเห็นความสำคัญของรากหญ้า และภาค SME ที่เป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจอย่างแท้จริง ไม่ใช่ราคาหุ้น หรือธุรกิจรายใหญ่ การอุ้มธุรกิจรายใหญ่สุดท้ายจะทำให้เกิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำมากขึ้น แบงค์ชาติและรัฐบาลจำควรเร่งพิจารณาดำเนินการช่วยเหงืออย่างเร่งด่วน ก่อนที่จะสายเกินไป เช่นการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบายที่ช้าเกินไปทำให้ภาคส่งออกไม่สามารถแข่งขันได้เหมือนในอดีตที่ผ่านมา การทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตจึงควรรดน้ำใส่ปุ๋ยที่รากต้นไม้ทันที ไม่ใช่ที่ใบ หรือที่ดอกผล ถ้ารากตายต้นไม้ก็จะตายตามอนันต์ปทุมธานี

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link