ภาวะคลื่นความร้อน หรือ ฮีทเวฟ (Heat wave) แบ่งเป็น 2 ประเภท

ภาวะคลื่นความร้อน หรือ ฮีทเวฟ (Heat wave) แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
– แบบสะสมความร้อน เกิดในพื้นที่ซึ่งสะสมความร้อนเป็นเวลานาน อากาศแห้ง ลมนิ่ง ทำให้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ไม่เคลื่อนที่ เมื่ออุณหภูมิร้อนสะสมหลายวันจะเกิดคลื่นความร้อนมากขึ้น เช่น หากพื้นที่ไหนมีอุณหภูมิ 38-41 องศาเซลเซียส แล้วไม่มีลมพัดต่อเนื่อง 3-6 วัน ไอร้อนจะสะสมจนกลายเป็นคลื่นความร้อน
– แบบพัดพาความร้อน ซึ่งคลื่นความร้อนชนิดนี้เกิดจากลมแรงหอบความร้อนจากทะเลทราย ขึ้นไปในเขตหนาวซึ่งมักเกิดในยุโรป
.
วิธีป้องกันและแก้ไข Heat wave
1. บ้านหรือรถยนต์ควรติดฟิล์มกรองแสงที่มีเคลือบสารป้องกันรังสีอุลต้าไวโอเลท เรียกกว่า “สปัทเตอร์ฟิล์ม” (Sputter-Coated Metallized films) ซึ่งสามารถนำเอาโลหะชนิดต่าง ๆ มาเคลือบเป็นเนื้อเดียวกับฟิล์ม ทำให้ฟิล์มมีความคงทนและกันความร้อนได้อย่างดีเยี่ยม หรือฟิล์มที่เคลือบผิวด้วย Polyester จะมีคุณสมบัติที่เหนือชั้นในการ ป้องกันคลื่นความร้อน (IR) และรังสี UV ได้สูงสุด โดยสามารถกัน รังสี IR ได้กว่า 90% และรังสี UV 100%
2. หากออกนอกบ้านควรป้องกันด้วยการโพกผ้า ทาครีม ใส่เสื้อผ้า กางร่ม ใส่แว่นตาเพื่อป้องกันอันตรายจากคลื่นความร้อน
3. การอาบน้ำ ก็จะช่วยลดอุณหภูมิของคลื่นความร้อนได้วิธีหนึ่ง
4. ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link