กรมทรัพย์สินทางปัญญายกระดับกล้วยตากเขมราฐเป็นสินค้าคุ้มครองบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์(GI)

กรมทรัพย์สินทางปัญญายกระดับกล้วยตากเขมราฐเป็นสินค้าคุ้มครองบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์(GI)
วันนี้(26พ.ย.63) นายประโยชน์ เพ็ญสุด รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ประธานการประชุมส่งเสริมการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ปีงบประมาณ 2564 ณ ห้องประชุม POC ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อคุ้มครองสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ของจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ ข้าวหอมมะลิอุบลราชธานี เส้นไหมไทยพื้นบ้านอีสาน และมีเป้าหมาย นำกล้วยตากเขมราฐ เพื่อส่งเสริมให้มีการขึ้นทะเบียนสิ่งบงชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงปัญหาอุปสรรคในการจัดทำคำขอขึ้นทะเบียน เพื่อหาแนวทางแก้ไข และการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนขึ้นทะเบียน เพื่อให้ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐที่ครอบคลุมพื้นที่ ที่มีการผลิตสินค้าสิ้งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งบงชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงการจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานของสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
กล้วยตากเขมราฐ เป็นกล้วยตาก ที่ประชาชนปลูกในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงโดยใช้นวัตกรรมแบบธรรมชาติ แหล่งปลูก อยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง กระบวนการแปรรูปใช้แสงอาทิตย์ ช่วงเวลา 7:00 น ถึง 8:00 น ในการตาก ซึ่งเชื่อว่าได้รับพลังงานแสงอาทิตย์แสงแรกแห่งสยาม และใช้เวลาตาก 6 วันในภาคเช้าทุกวัน นอกจากนั้น การบ่มทำให้กล้วยสุกใช้การบ่มแบบธรรมชาติ ไม่ได้ใช้แก๊สแตาอย่างใด ซึ่งปัจจุบัน เป็นความต้องการของตลาดจำนวนมาก คาดว่าจะเป็นแหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ซึ่งดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงจะสามารถปลูกกล้วยได้อย่างธรรมชาติและเติบโตได้สวยงามโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีใดๆ ได้แก่อำเภอเขมราฐอำเภอโพธิ์ไทรอำเภอนาตาลและอำเภอโขงเจียม และได้มอบให้พาณิชย์จังหวัดอุบลราชธานีและนายกเทศบาลตำบลเขมราฐเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการขอจดทะเบียนกล้วยตากเขมราฐเป็นสินค้าที่ได้รับความคุ้มครอง บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์พื้นที่ GI ต่อไป

กิตติภณ เรืองแสน / ข่าว.

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link