“สามารถ”มั่นใจ คดีแตงโม จะมีความชัดเจนมากขึ้น หลังผู้ใหญ่ ได้ส่งตำรวจ ระดับมือ1ในด้านสืบสวนมาทำคดี ร่วมกับ ตำรวจภูธรภาค 1 !!

“สามารถ”มั่นใจ คดีแตงโม จะมีความชัดเจนมากขึ้น หลังผู้ใหญ่ ได้ส่งตำรวจ ระดับมือ1ในด้านสืบสวนมาทำคดี ร่วมกับ ตำรวจภูธรภาค 1 !!


วันนี้ นาย สามารถ เจนชัยจิตรวนิช อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คว่า

คดี แตงโม หลังจากวันนี้เป็นต้นไป จะมีความชัดเจนมากขึ้น หลังผู้ใหญ่ ได้ส่งตำรวจ ระดับมือ1ในด้านสืบสวนมาทำคดี ร่วมกับ ตำรวจภูธรภาค 1ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวจึงสอบถาม นายสามารถ ถึงโพสต์ดังกล่าว นายสามารถ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า”หลังจากที่มีคนพยายามดิสเครดิตว่าคดีนี้ มีนายพล น มาขายข้อมูลนั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด แต่ข้อเท็จจริงคือ มีนายพล ยศระดับพลตำรวจตรี มาทำคดีเพิ่มจริง โดยคนนี้เป็นมือสืบสวนคดีระดับประเทศ ที่ผู้ใหญ่ใช้ลงมาให้ร่วมสืบสวนกับตำรวจภูธรภาค1 ผมจึงค่อนข้างมั่นใจว่าคดีนี้จะคลี่คลายลงได้อย่างแน่นอน แต่การให้การของจำเลย จะเป็นอย่างไรก็ได้ ตำรวจไม่จำเป็นต้องเชื่อ เพราะ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 วางหลักไว้ว่าผู้ต้องหาจะให้การอย่างใดหรือไม่ให้การเลยก็ได้ เป็นสิทธิของผู้ต้องหาที่จะให้การอย่างใดก็ได้ แม้คำให้การของผู้ต้องหาจะไม่เป็นความจริง ก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ดังนั้นเจ้าหน้าที่เพียงแค่ต้องรวบรวมพยานหลักฐานให้ชัดเจน ตามข้อหาที่แจ้ง เพื่อให้พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องต่อไป ดังนั้น การที่ผู้ต้องหาจะให้การว่าแตงโมไปปัสสาวะ ก็เป็นสิทธิของผู้ต้องหา ตามป วิอาญามาตรา 134 เพียงแต่พนักงานสอบสวนืต้องทำงานร่วมกับชุดสืบสวน ในการหาวัตถุพยาน ทั้งพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ ที่รวบรวมโดยหลักนิติวิทยาศาสตร์ ก็จะทำให้พยานมีความครบถ้วนและน่าเชื่อถือ สิ้นความสงสัยก็จพไม่ถูกทนายจำเลยซักค้านให้ศาลไปลง ป วิ อาญามาตรา 227 ที่วางหลักไว้ว่า ให้ ศาล ใช้ดุลพินิจ วินิจฉัย ชั่งน้ำหนัก พยานหลักฐาน ทั้งปวง อย่า พิพากษาลงโทษ จนกว่าจะแน่ใจว่า มีการกระทำผิดจริง และ จำเลย เป็นผู้กระทำ ความผิดนั้น เมื่อ มีความสงสัย ตามสมควรว่า จำเลย ได้กระทำผิด หรือไม่ ให้ยกประโยชน์ แห่งความสงสัยนั้น ให้แก่ จำเลย ดังนั้นผมจึงมั่นใจว่าคดีนี้ ตำรวจจะพิสูจน์ความจริงให้สังคมได้เข้าใจและสิ้นกระแสความสงสัย ผมขอหยิบยกคดีระเบิดราชประสงค์ตำรวจยังตามได้เลย คดีนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงแต่มีคนบางกลุ่มพยายามเบี่ยงเบนประเด็นิก็เท่านั้น แต่หลังจากมีมือสืบสวนที่เป็นระดับนายพล ลงมาผมจึงมั่นใจว่าไม่น่าเกิดรอสังคมจะได้รับทราบความจริงในเร็วๆนี้อย่างแน่นอน

ถึงอย่างไรก็ตามผมขออนุญาต นำเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของจำเลยมาบอกพ่อแม่พี่น้องสื่อมวลชนช่วยประชาสัมพันธ์ต่อด้วยนะครับ


ความหมายของคำว่า “ผู้ต้องหา”

คือ บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดอาญา แต่ไม่ได้ถูกฟ้องต่อศาล ในระหว่างนี้ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนี้…

สิทธิขั้นพื้นฐานของ “ผู้ต้องหา”

1. สิทธิที่จะไม่ถูกจับกุมโดยไม่มีเหตุอันสมควร

2. สิทธิที่จะได้รับแจ้งให้ทราบว่าถ้อยคำที่ผู้ต้องหากล่าวนั้นอาจเป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาได้

3. สิทธิที่จะไม่ตอบคำถามของเจ้าพนักงานสอบสวนเว้นแต่คำถามที่ถามชื่อหรือที่อยู่ของบุคคลนั้นเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือตอบคำถามที่เป็นผลเสียแก่ตนเอง หรือให้การในชั้นสอบสวน

4. สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็วต่อเนื่องและเป็นธรรม

5. สิทธิพบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายความสองต่อสอง

6. สิทธิที่จะให้ทนายความหรือคนที่ไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำของตนได้

7. สิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมตามสมควร

8. สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับ ขู่เข็ญ ทรมาน หรือใช้วิธีหลอกลวงให้รับสารภาพ

9. สิทธิที่จะได้รับการพยาบาลโดยเร็วเมื่อเจ็บป่วย

10. สิทธิในการขอประกันต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วกรณีไม่ได้ประกันต้องได้รับแจ้งเหตุผลให้ทราบโดยเร็ว

ความหมายของคำว่า “จำเลย”

คือ บุคคลที่ถูกฟ้องคดี โดยข้อหากระทำความผิดอาญา มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนี้…

สิทธิขั้นพื้นฐานของ “จำเลย”

1. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็วต่อเนื่องและเป็นธรรม

2. สิทธิในการขอประกันต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วกรณีไม่ให้ประกันต้องแจ้งเหตุผลให้จำเลยทราบโดยเร็ว

3. สิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านการไม่ให้ประกัน

4. สิทธิที่จะพบทนายความเป็นการส่วนตัว

5. สิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมตามสมควร

6. สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐด้วยการจัดหาทนายความให้

7. สิทธิที่จะแต่งตั้งทนายความเพื่อสู้คดี

8. สิทธิที่จะตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตนเมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว

9. สิทธิที่จะตรวจดูสำนวนของศาลและขอคัดสำเนาโดยเสียค่าธรรมเนียม

10. สิทธิที่จะตรวจดูสิ่งของที่ยื่นเป็นพยานหลักฐานและคัดสำเนาหรือถ่ายรูปสิ่งนั้น ๆ ได้

11. สิทธิที่จะได้รับสำเนาคำฟ้อง

12. สิทธิที่จะได้รับการอ่านและอธิบายคำฟ้องให้ฟังและการสอบถามคำให้การจากศาล

13. สิทธิที่จะให้การต่อสู้คดี

14. สิทธิที่จะได้การสอบถามเรื่องทนายความก่อนเริ่มการพิจารณาคดี

15. สิทธิที่จะคัดค้านคดีที่โจทก์ขอถอนฟ้องในคดีที่จำเลยได้ให้การแก้คดีแล้ว

อย่างน้อยก็เป็นข้อมูลให้พ่อแม่พี่น้องประชาชนที่ตามคดีของแตงโมก็จะได้รู้กฏหมาย และ รู้ถึงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไปพร้อมกัน “นายสามารถกล่าวทิ้งท้าย

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link