คนอุบลฯ ยื่นหนังสือคัดค้านการแบ่งเขตเลือกตั้ง รูปแบบที่ 3

คนอุบลฯ ยื่นหนังสือคัดค้านการแบ่งเขตเลือกตั้ง รูปแบบที่ 3
วันนี้ ( 13 ก.พ. 66 ) ที่สำนักงาน กกต.จังหวัดอุบลราชธานี ถนนเลี่ยงเมือง ต.แจระแม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ได้มีประชาชนจำนวนมาก เดินทางมาจากหลายอำเภอ ในพื้นที่จังหวัดอุบลฯ เพื่อมายื่นหนังสือคัดค้านการแบ่งเขตเลือกตั้งของจังหวัดอุบลราชธานี ในรูปแบบที่ 3 ต่อ ผอ.กกต.จ.อุบลฯ นำโดยนายสุทธิชัย จรูญเนตร อดีตส.ส.อุบลฯ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสุพล ฟองงาม อดีต ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ นายเชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ อดีต ส.อบจ.อุบลราชธานี อดีตผู้สมัครส.ส.อุบลฯ
ทั้งนี้ ในหนังสือที่ยื่นคัดค้าน ใจความระบุว่า โดยหนังสือคัดค้านดังกล่าว ระบุว่า ขอจัดค้านการแบ่งเขตการเลือกตั้งตามประกาศรูปแบบที่ 3 เนื่องจากไม่เป็นไปตามพระราขบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง (1) (2) และ (3) ไม่เป็นไปตามระเบียบ กกต.ว่าด้วยการแบ่งเขตการเลือกตั้ง พ.ศ. 2561 ข้อ 7. และ ข้อ 7. (1) (2) และไม่เป็นไปตามประกาศ กกต. เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ซึ่งมีกระแสข่าวว่ามีนักการเมืองบางและบุคคลเข้าไปแทรกแซงบุคลากรของ สนง.กกต.จ.อุบลฯ ในการแบ่งเขตเลือกตั้ง เพื่อเอื้อประโยชน์ในการเลือกตั้งให้แก่กลุ่มนักการเมืองบางกลุ่มหรือบางคน ทำให้การแบ่งเขตการเลือกตั้งรูปแบบที่ 3 ตามประกาศของ กกต.อุบลฯ ไม่มีความเป็นธรรมต่อนักการเมืองคนอื่นๆ

สำหรับการแบ่งเขตรูปแบบที่ 3 ไม่เหมาะสม ไม่สอดคล้องกับระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแบ่งเขตการเลือกตั้งสมาชิกสราผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 กล่าวคือ ข้อ 1 . รูปแบบที่ 3 เขตเลือกตั้งที่ 1 อำเภอเมืองอุบลราซธานี เป็นอำเกอที่มีประชากรเพียงพอต่อจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน (ค่าเฉลี่ย 169,924 คน) จึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 เขต เพื่อให้ทั้ง 2 เขตไปรวมกับพื้นที่ของอำเภออื่น ทั้ง 2 เขต ซึ่งควรจะตัดแบ่งพื้นที่เฉพาะตำบลที่ประซากรเกินค่าเฉลี่ย ไปรวมกับอำเภออื่น ทั้งนี้เพื่อให้อำเภอเมืองอุยลราชธานีไปรวมกับอำเภออื่นเพียงเขตเดียว ซึ่งในการแบ่งเขตเลือกตั้งในอดีตที่ผ่านมา อำเภอเมืองอุบลราชธานีไม่เคยถูกแบ่งไปรวมกับอำเภออื่นทั้ง 6 เขตเลือกตั้ง
ข้อ 2. รูปแบบที่ 3 เขตเลือกตั้งที่ 1 อำเภอสว่างวีระวงศ์และอำเภอนาเยีย ทั้ง 2 อำเภอนี้ไม่เคยอยู่เขตเดียวกันกับอำเภอดอนมดแดงและอำเภอเมืองอุบลราชธานี มาก่อน โดยอำเภอสว่างวีระวงศ์และอำเภอนาเยียไม่มีความเหมาะสมที่จะอยู่ในเขตเลือกตั้งนี้ เนื่องจากโดยสภาพภูมิศาสตร์ไม่อำนวย เพราะจะมีแม่น้ำมูลคั่นอยู่ระหว่างอำเภอดอนมดแดงกับอำเภอสว่างวีระวงศ์ ทั้งสองอำเภอไม่มีสะพานข้ามแม่น้ำมูล จึงไม่มีความสะดวกในการคมนาคมที่จะไปมาหาสู่กัน ระหว่างกัน
ข้อ 3. รูปแบบที่ 3 เขตเลือกตั้งที่ 5 อำเภอตระการพืชผลและอำเภอกุดข้าวปุ้นกับอำเภอตาลสุม ไม่เคยอยู่ในเขตเลือกตั้งเดียวกันมาก่อน ประกอบกับอำเภอกุดข้าวปุ้นกับตำบลหนองกุงและตำบลนาคาย อำเภอตาลสุม เป็นพื้นที่ห่างไกลกัน ไม่มีความสะดวกในการเดินทางไปมา และไม่มีสภาพเป็นชุมชนเดียวกัน จึงไม่เหมาะสม

ข้อ 4 . รูปแบบที่ 3 ไม่เห็นด้วยที่จะผ่าครึ่งอำเภอเขื่องใน เพราะอำเภอเขื่องใน มีประชากร มากเป็นลำดับที่ 6 ของจ.อุบลฯ คือ จำนวน116,737 คน การที่จะผ่าแยก อ.เขื่องใน ออกเป็น 6 เขต โดยแยกไปขึ้นกับเขต 2 จำนวน 8 ตำบล ประชากร 48,386 คน แยกไปขึ้นกับเขต 3 จำนวน 10 ตำบล ประชากร 58.351 คน การแบ่งเขตแบบนี้ จะทำให้ประชาชนแตกแยกความสามัคคี และจะมีปัญหาทางด้านการปกครอง อีกด้วย
ดังนั้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น กลุ่มนักการเมือง และ ภาคประชาชน จึงพากันมายื่นหนังสือคัดค้านการแบ่งเขตเลือกตั้งในรูปแบบที่ 3 และ หากมีการแบ่งเขตแบบอื่น ที่นอกเหนือไปจาก 3 แบบนี้ ก็ไม่ควรอยู่ในการพิจารณา เพราะ ล่วงเลยเวลารับฟังความคิดเห็นของประชาชนแล้ว

ศูนย์ข่าวเฉพาะกิจจังหวัดอุบลราชธานี / ข่าว.

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link