ผู้การ ตชด.ภาค 2 ร่วมกับ นายอำเภอกระนวน และ ปปส.ภาค 4 ร่วมประเมินผลการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด และ เพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาเสริมจุดแข็งด้านการบูรณาการ การมีส่วนร่วมของชุมชนและระบบบำบัดและฟื้นฟูในชุมชน และ การทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพ นำสู่การกำหนดโมเดลต้นแบบความสำเร็จ

ผู้การ ตชด.ภาค 2 ร่วมกับ นายอำเภอกระนวน และ ปปส.ภาค 4 ร่วมประเมินผลการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด และ เพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาเสริมจุดแข็งด้านการบูรณาการ การมีส่วนร่วมของชุมชนและระบบบำบัดและฟื้นฟูในชุมชน และ การทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพ นำสู่การกำหนดโมเดลต้นแบบความสำเร็จ

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เวลาประมาณ 13.30 – 16.00 น. ณ ศูนย์ฝึกอาชีพศิษย์เก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดขอนแก่น พล.ต.ต.กิตติศักดิ์ ปลาทอง ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2 นายคเณศวร เกษอินทร์ นายอำเภอกระนวน พ.ต.อ.ณรงค์ฤทธิ์ ไพคำนาม ผกก.ฝอ.ภ.จว.ขอนแก่น พ.ต.อ.ประศาสตร์ แน่นอุดร ผกก.สภ.กระนวน น.ส.ปัทมาพร ภูมิเวียงศรี ผู้แทน ปปส.ภาค 4 ผู้แทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน ร่วมการประชุม เพื่อหาแนวทางเสริมจุดแข็งในการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยติดยาเสพติดของอำเภอกระนวน โดยเฉพาะด้านการบูรณาการภาคีเครือข่าย และติดตามผลการบำบัดรักษาผู้ป่วย โดยหารือการจัดระบบการบำบัดรักษา และหลังผ่านการบำบัดฟื้นฟูฯ โดยกำหนดรูปแบบกิจกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ดังนี้

  1. เพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองผู้ป่วย ก่อนเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา เพื่อกำหนดวิธีการ และกระบวนการรักษาเป็นรายบุคคล

  2. ปรับกระบวนการบำบัดฟื้นฟู โดยเพิ่มการมีส่วนร่วมของครอบครัวบำบัด ชุมชนบำบัด โดยจำลองรูปแบบการใช้ชีวิตในชุมชน

  3. เพิ่มนักจิตวิทยาบำบัด ในกระบวนการบำบัดยาเสพติด เพิ่มกิจกรรมค้นหาเป้าหมายในชีวิต กีฬา ดนตรีบำบัด

  4. สนับสนุนให้ผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูที่มีเวลาและอาสาเข้ามาถ่ายทอดประสบการณ์กับรุ่นต่อไป

  5. สร้างคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับผู้ผ่านการฟื้นฟูในชุมชน สร้างการยอมรับร่วมกันของชุมชน

  6. สร้างการมีส่วนร่วมของศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมในการติดตาม ฟื้นฟู ร่วมกับชุมชน

  7. กระบวนการติดตามฟื้นฟู มีหน่วยงานหลักรับผิดชอบ และมีระยะเวลาที่ชัดเจน

  8. การนำหลักธรรมมาบำบัด ทักษะชีวิต มาปรับเพิ่มในกระบวนการบำบัด

  9. การจัดการฐานข้อมูลผู้เสพ ผู้ป่วย รวมทั้ง ผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู และ การส่งต่อข้อมูลร่วมกันอย่างเป็นระบบ

  10. การตรวจทานพื้นที่แสกนหาผู้เสพ ผู้ค้า พื้นที่มั่วสุม จำกัดความเคลื่อนไหวของเครือข่ายผู้ค้ายาเสพติด

  11. ประเมินตัวบุคคลว่า พร้อมหนี พร้อมอยู่ ทัศนคติ เนื้อหาวิชา ผู้มีส่วนร่วมในการบำบัด เป็นรายวัน รายสัปดาห์

นอกจากนี้ ยังพัฒนาสถานที่บำบัดฟื้นฟูให้มีโดยกระบวนการบำบัดฟื้นฟู มีเป้าหมายให้ผู้ผ่านการบำบัดหายป่วย และ มุ่งต่อยอดการสร้างอาชีพ และ รายได้ การศึกษาต่อ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ผ่านการบำบัดรักษาที่จะกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้ด้วยความสุข

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link