กมธ. วุฒิสภาฯ เดินหน้าแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ

กมธ. วุฒิสภาฯ เดินหน้าแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ

ดัน “ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้” เทียบชั้น EEC เชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเข้าด้วยกัน

เมื่อวันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2564 เวลา 8.00 น. ณ จุดแถลงข่าววุฒิสภา ชั้น 1 อาคารรัฐสภา สว.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมมาธิการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำและคณะกรรมมาธิการฯ ได้ร่วมกันแถลงข่าวเพื่อผลักดัน “ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้” หรือ Southern Economic Corridor: SEC โดยมีจุดมุ่งหมายหลักในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ
สว.สังศิต พิริยะรังสรรค์ประธานคณะกรรมาธิการ กล่าวว่า ในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปีข้างหน้านี้ ศูนย์กลางการเจริญเติบโตของโลกจะย้ายมาอยู่ที่ทวีปเอเชีย โดยมีประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่าง จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออก และประเทศอินเดีย เป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียใต้ ภาคใต้ของไทยมีภูมิเศรษฐศาสตร์ที่มีความได้เปรียบเป็นอย่างมากในด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่ระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ และยังมีความพร้อมสูงในการพัฒนาเป็นเครื่องยนต์ใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Engine of Growth) เพราะหากไม่นับ กทม. และปริมณฑลแล้ว ภาคใต้ถือว่ามีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีความเพรียบพร้อมมากที่สุด ทั้งสนามบิน ท่าเรือ ถนนสายเอเชียและทางรถไฟที่เชื่อมโยงไปจนถึงประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะพัฒนาการขนส่งทางรางในจังหวัดชุมพรและจังหวัดระนองเพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายโลจิสติกส์ของฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามันเข้าด้วยกันอีกด้วย
ในส่วนของแนวทางในการพัฒนา “เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้”
สว.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ลิ่มพงศ์พันธุ์ กล่าวเสริม ควรมุ่งเน้นไปใน 3 ด้านแบบเกื้อกูลกัน และที่สำคัญต้องมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal: SDG) ที่ทั่วโลกยึดเป็นแนวทางหลักในการพัฒนาประเทศ ดังนี้
• ด้านอุตสาหกรรมการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการผลิตสินค้าเกษตรชั้นปฐมภูมิซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่ภาคอุตสาหกรรมมีความต้องการ
• ด้านระบบโลจิสติกส์แบบครบวงจร ทั้งทางถนน ทางราง ทางเรือ และทางอากาศ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ภาคการขนส่งสินค้าและภาคการท่องเที่ยวได้ในเวลาเดียวกัน
• ด้านการท่องเที่ยว ทั้งที่พักแรมและร้านอาหาร และการคมนาคมขนส่ง ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจฐานรากมีเม็ดเงินหมุนเวียน และเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก การก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศ ดังนั้น การพัฒนา “เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC)” ขึ้นมาเพื่อเป็นอีกหนึ่งเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจร่วมกันกับ “ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)”นั้น จะช่วยให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมมีการขยายตัวอย่างทั่วถึงและยั่งยืน
FACT ABOUT “SEC”
• ภาคใต้มีสัดส่วน GDP ร้อยละ 8.7 ของ GDP ประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ รองจาก กทม. และปริมณฑ, ภาคตะวันออก และภาคอีสาน แต่ภาคใต้กลับเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวของ GDP อยู่ที่ร้อยละ 3 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศซึ่งมีอัตราขยายตัวเพียงร้อยละ 2.3 เท่านั้น
• ภาคใต้มีอัตราการชยายตัวของ “ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคต่อจำนวนประชากร (GDP per Capita)” สูงที่สุดในประเทศ ที่อัตราร้อยละ 4 ต่อปี
• “ผลิตภัณฑ์มวลรวมของภูมิภาค (GRP)” ในสาขาเศรษฐกิจต่างๆ ของภาคใต้เปรียบเทียบกับ GDP ของประเทศในสาขาเดียวกัน มีดังนี้
สาขาเศรษฐกิจ อัตราส่วนของ GRP ของภาคใต้ ต่อ GDP ประเทศ (%)
หมายเหตุ เกษตรกรรม29สูงที่สุดในประเทศขนส่ง10อันดับ 2 ร่วมของประเทศ(เป็นรอง กทม. และปริมณฑล และเท่ากับภาคตะวันออก)ที่พักแรมและร้านอาหาร24อันดับ 2 ของประเทศ(เป็นรอง กทม. และปริมณฑล) โดยการแถลงข่าวครั้งนี้มี สมาชิกวุฒิสภา คณะกรรมการหลายท่าน
1. สว.สังศิต พิริยะรังสรรค์ประธานคณะกรรมาธิการ
2. สว.อำพล จินดาวัฒนะรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง
3. สว.พลเดช ปิ่นประทีปรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง
4. สว.ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สี่
5. สว.อภิชาติ โตดิลกเวชช์รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ห้า
6. สว.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link