รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานในพิธีวางพานพุ่มสักการะพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ครบรอบ 108 ปี ณ บริเวณด้านหน้าลานพระ อนุสาวรีย์พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ “พระบิดาสหกรณ์ไทย”

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร นายชัยวัฒน์ ตุนทกิจ เป็นประธานในพิธีวางพานพุ่มสักการะพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ครบรอบ 108 ปี ณ บริเวณด้านหน้าลานพระ อนุสาวรีย์พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ “พระบิดาสหกรณ์ไทย”

โดยมี นายสิทธิพงษ์ พรพงศ์ไพศาล ประธานชุมนุมสหกรณ์การเกษตรจังหวัดสมุทรสาคร (ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมพิเศษหนังสือพิมพ์เรื่องจริงผ่านเลนส์) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ชุมนุมร้านสหกรณ์จังหวัดสมุทรสาคร ให้การต้อนรับรองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร

ต่อจากนั้นรับชมการแสดงจากนักเรียน โรงเรียนสหกรณ์นิคมเกลือจำนวน 2 ชุด ในส่วนของสหกรณ์การเกษตรจังหวัดสมุทรสาครและสหกรณ์การเกษตรต่างๆ เช่นสหกรณ์การเกษตรกระทุ่มแบนจำกัด ได้จัดเตรียม ขนมจีนน้ำยา , ข้าวขาหมู ,น้ำมะนาว, ร่วมแจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชนที่เข้ามาร่วมงาน และสหกรณ์อำเภอต่างๆ ก็มีการจัดเตรียม น้ำเต้าหู้,ปาท่องโก๋, ก๋วยเตี๋ยว , เฉาก๊วย , หอยทอด,น้ำดื่ม และ ฯลฯ

หลังจากนั้น ได้เชิญขบวนการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมเป็นเกียรติในการกล่าวรายงาน ณ ด้านหน้าพระอนุสาวรีย์ฯ
โดยมีพิธีกรเชิญประธาน วางพานพุ่มสักการะพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย

ภายในงานยังมีการเลี้ยงถวายเพลพระ จำนวน 10 รูป

สำหรับประวัติความเป็นมา สหกรณ์ไทย สหกรณ์ในประเทศไทย

พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย

การสหกรณ์ในประเทศไทย มีมูลเหตุสืบเนื่องมาจาก เมื่อประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ มากขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ระบบเศรษฐกิจของชนบทก็ค่อยๆ เปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อเลี้ยง ตัวเองมาสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อการค้า ความต้องการเงินทุนในการขยายการผลิตและการครองชีพจึงมีเพิ่มขึ้น ชาวนาที่ไม่มีทุนรอนของตนเองก็หันไปกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นทำให้ต้องเสียดอก เบี้ยในอัตราสูง และยังถูกเอาเปรียบจากพ่อค้านายทุนทุกวิถีทางอีกด้วย ชาวนาจึงตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่ตลอดเวลา ทำนาได้ข้าวเท่าใด ก็ต้องขายใช้หนี้เกือบหมด นอกจากนี้การทำนายังคงมีผลผลิตที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ ถ้าปีไหนผลผลิตเสียหายก็จะทำให้หนี้สินพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆจนลูกหนี้บางราย ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่นาให้แก่เจ้าหนี้ และกลายเป็นผู้เช่านา หรือเร่ร่อนไม่มีที่ดินทำกินไปในที่สุด

จาก สภาพปัญหาความยากจนของชาวนาในสมัยนั้น ทำให้ทางราชการคิดหาวิธีช่วยเหลือ ด้วยการจัดหาเงินทุน มาให้กู้และคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำความคิดนี้ได้เริ่มขึ้นในปลายรัชการที่ 5 โดยกำหนดวิธีการที่จะช่วยชาวนาในด้านเงินทุนไว้ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 จัดตั้งธนาคารเกษตรเพื่อให้เงินกู้แก่ชาวนา แต่ขัดข้องในเรื่องเงินทุนและหลักประกันเงินกู้ ความคิดนี้จึงระงับไป

วิธีที่ 2 วิธีการสหกรณ์ประเภทหาทุน วิธีนี้เกิดจากรัฐบาลโดยกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในปัจจุบันคือ กระทรวงการคลังได้เชิญเซอร์เบอร์นาร์ด ฮันเตอร์ หัวหน้าธนาคารแห่งมัดราช ประเทศอินเดียเข้ามาสำรวจหาลู่ทางช่วยเหลือชาวนาได้เสนอว่าควรจัดตั้ง “ธนาคารให้กู้ยืมแห่งชาติ” ดำเนินการให้กู้ยืมแก่ราษฎร โดยมีที่ดินและหลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกันเพื่อป้องกันมิให้ชาวนาที่กู้ ยืมเงินทอดทิ้งที่นาหลบหนี้สิน ส่วนการควบคุมเงินกู้และการเรียกเก็บเงินกู้ ท่านได้แนะนำให้จัดตั้งเป็นสมาคมที่เรียกว่า “โคออเปอราทีฟ โซไซ”(Cooperative Society) โดยมีหลักการร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันซึ่งคำนี้ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ได้ทรงบัญญัติศัพท์เป็นภาษาไทยว่า “สมาคมสหกรณ์” จึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยเริ่มศึกษาวิธีการสหกรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2457 แต่ก็ยังมิได้ดำเนินการอย่างไร จนกระทั่งในปี 2458 ได้มีการเปลี่ยนกรมสถิติพยากรณ์เป็นกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ประกอบด้วยส่วนราชการ 3 ส่วน คือ การพาณิชย์ การสถิติพยากรณ์ และการสหกรณ์

การจัดตั้งส่วนราชการสหกรณ์นี้ ก็เพื่อจะให้มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นและพระราชวรวงศ์ เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ในฐานะทรงเป็นอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ขณะนั้นได้ทรงพิจารณาเลือกแบบอย่างสหกรณ์เครดิตที่จัดกันอยู่ในต่างประเทศ หลายแบบ ในที่สุดก็ทรงเลือกแบบไรฟ์ไฟเซนและทรงยืนยันไว้ใน รายงานสหกรณ์ฉบับแรกว่า “เมื่อได้พิจารณาละเอียดแล้วได้ตกลงเลือกสหกรณ์ชนิดที่เรียกว่าไรฟ์ไฟเซน ซึ่งเกิดขึ้นในเยอรมันก่อน และซึ่งมุ่งหมายที่จะอุปถัมภ์คนจน ผู้ประกอบกสิกรรมย่อมๆ เห็นว่าเป็นสหกรณ์ชนิดที่เหมาะสม ที่สุดสำหรับประเทศไทย” จากการที่พระองค์ท่าน ทรงเป็นผู้บุกเบิกริเริ่มงานสหกรณ์ขึ้นในประเทศไทย บุคคลทั้งหลายในขบวนการสหกรณ์จึงถือว่าพระองค์ทรงเป็น “พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย” สำหรับรูปแบบของไรฟ์ไฟเซนก็คือ สหกรณ์เพื่อการกู้ยืมเงินที่มีขนาดเล็ก สมาชิกจะได้มีความรับผิดชอบร่วมกัน ทำให้สะดวกแก่การควบคุมท้องที่ที่ได้รับการพิจารณาให้จัดตั้งสหกรณ์ คือ จังหวัดพิษณุโลก เนื่องจากเป็นจังหวัด ที่มีผู้คนไม่หนาแน่นและเป็นราษฎรที่เพิ่งอพยพมาจากทางใต้ จึงต้องการช่วยเหลือผู้อพยพซึ่งประกอบอาชีพการเกษตร ให้ตั้งตัวได้ รวมทั้งเพื่อเป็นการชักจูงราษฎรในจังหวัดอื่นทีมีผู้คนหนาแน่นให้อพยพมาใน จังหวัดนี้ และเข้าทำประโยชน์ในที่ดินอย่างเต็มที่ ต่อมากรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ จึงได้ทดลองจัดตั้งสหกรณ์หาทุนขึ้น ณ ท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกเป็นแห่งแรกใช้ชื่อว่า “สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้” โดยจดทะเบียนเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459 มีพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ พระองค์แรก นับเป็นการเริ่มต้นแห่งการสหกรณ์ในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ตามรูปแบบสหกรณ์เครดิตแบบไรฟ์ไฟเซน ที่ได้รับความสำเร็จ มาแล้วใน อินเดีย และพม่า ซึ่งทั้งสองประเทศได้ส่งคนไปศึกษาจากประเทศเยอรมนี และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2527 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันสหกรณ์แห่งชาติ ”

ต่อจากนั้นประธานพิธีได้อ่านสารจากท่านนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน เนื่องในโอกาสวันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2567 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567 “ระบบสหกรณ์”เป็นกลไกสำคัญทางเศรษฐกิจของชุมชนเพื่อให้การช่วยเหลือสมาชิกและส่งเสริมให้สมาชิกช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งในการประกอบอาชีพและการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของรัฐบาลทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรอาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตการยกระดับราคาสินค้าและบริการโดยใช้หลักการ “ตลาดนำนวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้”และการสร้างรายได้ให้กับประชาชนรวมทั้งมีนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้สินตามมาตรการพักชำระหนี้ภาคการเกษตรที่ควบคุมเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรทั่วประเทศควบคู่กับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อให้สมาชิกสหกรณ์มีรายได้เพียงพอส่งชำระหนี้ซึ่งจะสร้างความมั่นคงในชีวิตและความยินดีอยู่ดีให้แก่มวลสมาชิก

การส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์นั้นต้องยึดผลประโยชน์ของสมาชิกเป็นศูนย์กลางตามหลักธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการเพื่อสร้างความโปร่งใสและความเชื่อถือแก่สมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องบูรณาการงานสหกรณ์กับภาคเอกชนใช้แนวทางการตลาดเป็นตัวนำเพื่อให้สมาชิกสามารถผลิต

สินค้าหรือให้บริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐานต่อความต้องการของผู้บริโภครวมทั้งนำวัฒนธรรมมาใช้ในการผลิตและการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าซึ่งนำไปสู่การลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิกสหกรณ์อันเป็นรากฐานของการดำเนินกิจการสหกรณ์ให้มีความมั่นคงก้าวหน้าและเป็นที่พึ่งของบรรดาสมาชิกทุกคน

เนื่องในโอกาสวันสหกรณ์แห่งชาติประจำปี 2567 ที่เวียนบรรจบอีกวาระหนึ่งผมขออวยพรให้ผู้บริหารสมาชิกสหกรณ์และผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการสหกรณ์ทั่วประเทศประสบแต่ความสุขความเจริญมีกำลังกายกำลังใจที่เข้มแข็งและสำเร็จผลในสิ่งที่มุ่งหวังทุกประการโดยทั่วกัน

ต่อจากนั้นเวลา 14:00 น.วงดุริยางค์โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาได้ร่วมขบวนพาเหรดกับสหกรณ์การเกษตรของจังหวัดสมุทรสาครทั้งหมดเพื่อแข่งขันกีฬาสีที่โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา กีฬาสีเชื่อมสัมพันธ์ของสหกรณ์การเกษตรจังหวัดสมุทรสาครทั้งหมดจำนวน 4 สีซึ่งมี นายสมบัติ อยู่สุข สหกรณ์จังหวัดสมุทรสาครเป็นประธานเปิดงานกีฬาสี

หลังจากนั้นเวลา 18.00 น. ขบวนการสหกรณ์จังหวัดสมุทรสาคร(ข้าราชการสหกรณ์การเกษตรทั้งจังหวัด)ร่วมกิจกรรมงานเลี้ยงสังสรรค์ภาคกลางคืนณลานพระอนุสาวรีย์ฯ นิคมสหกรณ์โคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมทั้งมอบถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะกีฬาสีและจับรางวัลสิ่งของต่างๆเช่นรถจักรยาน หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ฯลฯ

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link