นายอำเภอกระนวน จัดพิธีบายศรีสู่ขวัญ ผูกข้อแขนส่งผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูถึงที่บ้านเพื่อกลับไปเป็นพลังของชุมชน และติดตามช่วยเหลือต่อเนื่องในชุมชน พร้อมเปิดบ้านพักนายอำเภอ เป็น (Community Isolation : CI) ดูแลต่อเนื่องตลอดทั้งปี หากยังไม่พร้อมกลับชุมชน

นายอำเภอกระนวน จัดพิธีบายศรีสู่ขวัญ ผูกข้อแขนส่งผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูถึงที่บ้านเพื่อกลับไปเป็นพลังของชุมชน และติดตามช่วยเหลือต่อเนื่องในชุมชน พร้อมเปิดบ้านพักนายอำเภอ เป็น (Community Isolation : CI) ดูแลต่อเนื่องตลอดทั้งปี หากยังไม่พร้อมกลับชุมชน

      เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 ห้วงเช้า ที่ศูนย์ฝึกอบรมอาชีพนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ภายใต้อำนวยการของนายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น อำนวยการให้ นายคเณศวร เกษอินทร์ นายอำเภอกระนวน พร้อมด้วย นพ.วิโรจน์ เลิศพงศ์พิพัฒน์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน นายพงษ์ศักดิ์ ทรัพย์ศิลาทอง สาธารณสุขอำเภอกระนวน ผู้แทน ตชด. ผู้แทน ผกก.สภ.กระนวน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้แทนท้องถิ่น พร้อมกับญาติผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู ร่วมกันจัดกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญ ผูกข้อแขนสร้างขวัญกำลังใจ ผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู จำนวน 35 คน ที่ศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม อำเภอกระนวน โครงการมินิธัญญารักษ์ รุ่นที่ 2 ซึ่งอำเภอกระนวนร่วมกับผู้นำชุมชนและครอบครัวนำเข้ากระบวนการบำบัดฟื้นฟูพัฒนาร่างกาย และสภาพจิตใจ รวมทั้งพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพ ให้ทุกคนตระหนักถึงคุณค่าในตัวเอง โดยได้เรียนรู้ฝึกปฏิบัติให้ตระหนักถึงคุณค่าของตัวเอง และน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ เกษตรทฤษฎีใหม่มาเป็นแนวทางดำเนินชีวิตพึ่งพาตนเอง เพื่อให้ผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูกลับไปใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า มีเป้าหมายและพลังสำคัญของสังคม โดยจะมีกระบวนการบูรณาการติดตามช่วยเหลือเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ ต่อยอดด้านอาชีพ โอกาสการศึกษาของผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูทุกคน รวมถึงเชิญผู้ที่สมัครใจเข้ามาสนับสนุนเป็นวิทยากรครูพี่เลี้ยง ตามโครงการมินิธัญญารักษ์ รุ่นที่ 3 อีกด้วย

      สำหรับผู้บำบัดฟื้นฟูที่ยังไม่พร้อมกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในชุมชน
นายอำเภอและภาคีเครือข่ายได้ร่วมกันให้การช่วยเหลือให้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสภาพทางสังคม ที่บ้านพักนายอำเภอ จัดเตรียมพื้นที่เป็นศูนย์พักคอยผู้ป่วยยาเสพติด (Community Isolation : CI) เพื่อให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ป่วยยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดจากสถานพยาบาล หรือ ผู้ป่วยที่ยังไม่หายขาดจากยาเสพติดที่อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน เข้ารับการบำบัดที่กองร้อย อส.อำเภอ เพื่อแยกผู้ป่วยยาเสพติดที่มีพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนในชุมชน หรือ ไม่สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้ จนกว่าจะมีความพร้อมกลับคืนสู่ชุมชน เพื่อลดอันตรายและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากผู้ป่วยยาเสพติด

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link