จ.สงขลาอาชีวภาคใต้ 3 “ตีปีกรับ” ผลิตบุคลากรรับเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งอนาคตจะนะ อุตสาหกรรม 9 ประเภท เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าจากทรัพยากรในท้องถิ่น

นายสิทธิพงศ์ นกแอนหมาน ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จ.สงขลา ประธานสถาบันอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)ได้ประชุมผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 เตรียมความพร้อมการพัฒนายกระดับด้านการศึกษา เพื่อรองรับการพัฒนาในพื้นที่การขับเคลื่อนโครงการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ อ.จะนะ ที่ประชุมได้มอบหมายให้สถานศึกษา ดำเนินการจัดทำโครงการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการพัฒนาในพื้นที่ การขับเคลื่อนโครงการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ นายสิทธิพงศ์ เปิดเผยว่า ครม.เห็นชอบเป็นหลักการการขยายผลโครงการเมืองต้นแบบ”สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยังยืน”ไปสู่เมืองต้นแบบที่ 4 เมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต อ.จะนะ จ.สงขลา เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา 4 อำเภอของ จ.สงขลา ให้มีความเข้มแข็ง ยกระดับให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะที่มีความสมบูรณ์ครบวงจร และเป็นกลไกสำคัญขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งระบบครบวงจร ของอนุภูมิภาค ใต้ตอนล่างที่สามารถเชื่อมโยงไปยังพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และภูมิภาคอื่นๆของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านและเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจไปยังประเทศอื่นๆทั่วโลก
“มุ่งเน้นการลงทุนของภาคเอกชนบนพื้นฐานความเชื่อมโยงและการมีส่วนรวมของภาคประชาชน โดยรัฐอำนวยการประสานเชื่อมโยงและเชื่อมต่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม นำไปสู่การขยายผลในพื้นที่ใกล้เคียง ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจากการสร้างงาน สร้างรายได้ที่มั่นคงมากขึ้น ทำให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีพื้นที่ปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญของการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อไป นายสิทธิพงศ์ กล่าว
นายสิทธิพงศ์ ยังกล่าวว่าแผนปฏิบัติการ การพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัยและเทคโนโลยีรองรับการพัฒนาเขตพิเศษเฉพาะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต อ.จะนะ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางการดำเนินการในปี 2563-2568 ให้สามารถยกระดับการพัฒนาบุคลากร การศึกษาการวิจัยและเทคโนโลยีพื้นที่ 4 อำเภอของ จ.สงขลาประกอบด้วย อ.จะนะ นาทวี เทพา และ อ.สะบ้าย้อย เชื่อมโยงไปยัง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.สงขลา และ จ.สตูล ให้บังเกิดที่เป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพ สอดรับกับความจำเป็นและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ที่มีความคิดเห็น ผ่านช่องทางการสื่อสารในทุกวิธีการต่อการขับเคลื่อนโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต อ.จะนะ
นายสิทธิพงศ์ ยังกล่าวอีกว่าสภาพปัญหาปัจจุบันจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ระบุว่าผลผลิตมวลรวมปี 2558 มีมูลค่า 416,997.3 ล้านบาท ร้อยละ31.5 ของภาคใต้และร้อยละ 2.9 ของประเทศ โครงสร้างเศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นกับภาคเกษตรร้อยละ 22.9 และ อุตสาหกรรมร้อยละ 15.3
นายสิทธิพงศ์ กล่าวต่อว่าภาคใต้ชายแดนยังมีบทบาทเป็นแหล่งอุตสาหกรรมแปรรูปยางและไม้ยางพารา อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เนื่องด้วยมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ทำให้มีบทบาทสำคัญในการค้าชายแดนและรองรับนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้าน และอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 1.6 ซึ่งกว่าค่าเฉลี่ยของภาคใต้และของประเทศไทยและมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากภาคเกษตร ที่สินค้าเกษตรแนวโน้มราคาตกต่ำ
“จำเป็นต้องมีการพัฒนากลไกการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ที่สำคัญให้กับพื้นที่ เพื่อสร้างความเจริญเติบโตให้กับเศรษฐกิจของภูมิภาคใต้ชายแดนได้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง”
นายสิทธิพงศ์ กล่าวว่ากรอบแนวคิดการจัดทำแผนปฏิบัติการฯให้ความสำคัญต่อการผลิตบุคลากรที่สอดคล้องกับแผนความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อให้สามารถผลิตบุคลากรที่ตรงตามสาขาวิชา ทักษะ สมรรถนะและจำนวนที่เพียงพอต่อความต้องการ โดยให้ความสำคัญกับการผลิตและพัฒนาบุคลากรที่คำนึงถึงความต้องการ 3 ส่วน ได้แก่ความต้องการกำลังการผลิตและพัฒนาบุคลากรในภาพรวมของประเทศ อนุภูมิภาคตามที่รัฐบาลกำหนดให้มี”เส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อชีวิตที่ดีกว่า เชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ 9 พื้นที่สำคัญ
“โครงการนิคมอุตสาหกรรมยางพารา เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา พื้นที่โครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เขตประกอบอุตสาหกรรมบานา เขตนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาส เขตการค้าชายแดนทั้ง 9 เขตในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้”
นายสิทธิพงศ์ กล่าวว่าเพื่อให้เกิดการบูรณาการและสามารถบังเกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมและกำลังการผลิตและพัฒนาเน้นเฉพาะด้านการผลิตและการพัฒนาที่เกี่ยวข้อกับการเตรียมบุคลากรที่มีศักยภาพ เพื่อรอรับการพัฒนาพื้นที่การศึกษา การวิจัยและเทคโนโลยีในพื้นที่เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งอนาคต อ.จะนะนายสิทธิพงศ์ กล่าวว่าประสานการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการให้มีความเป็นรูปธรรม เกิดสัมฤทธิ์ผลต่อการพัฒนา ได้กำหนดประเภทอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต อ.จะนะ เพื่อให้พื้นที่ศูนย์กลางการผลิตสินค้าจากทรัพยากรในท้องถิ่น อุตสาหกรรมแห่งอนาคตตามเป้าหมายการลงทุนภาคอุตสาหกรรมของรัฐบาล การเป็นศูนย์กลางแหล่งผลิตสินค้าที่นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศและศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
“ประเภทอุตสาหกรรมผลิตกังหันลมและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า อุตสาหกรรมผลิตรถไฟฟ้า อุตสาหกรรมผลิตแท่นขุดเจาะมัน อุตสาหกรรมผลิตอาหารแปรรูป ผลิตสินค้าจากยางพารา ผลไม้ ปาล์มน้ำมัน อุตสาหกรรมจากข้าว อุตสาหกรรมฮาลาล อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร กิจกการคมนาคมขนส่งเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ อุตสาหกรรมการคมนาคมขนส่งทางรางและเมืองอัจฉริยะ นายสิทธิพงศ์กล่าวนายสิทธิพงศ์ กล่าวว่าเพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ที่มีคุณภาพทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ให้สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาพื้นที่เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต อ.จะนะ และพื้นที่ใกล้เคียงแล้ว เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย การสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่อนาคตและการต่อยอดในเชิงพาณิชย์
นายสิทธิพงศ์ กล่าวว่าโดยมีเป้าหมายการพัฒนาในระยะเร่งด่วนผลิตวิทยากรต้นแบบและครูรองรับการพัฒนาพื้นที่เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต 300 คนเพื่อปรับเข้าสู่อุตสาหกรรมเป้าหมาย ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบแก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ ส่งเสริมความรู้ องค์ความรู้ให้กับเกษตรกรเพื่อให้เป็นมืออาชีพทางการเกษตรและเทคโนโลยี ส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา บุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการและบุคลากรของรัฐทุกระดับและประชาชนทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถเป็นการเฉพาะด้านนายสิทธิพงศ์ กล่าวว่าในระยะกลางตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านต่างๆตามประเภทอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่อนาคต ทำหลักสูตรการเรียนการสอนและการฝึกอบรมเพิ่มขึ้นไม่กว่า 60 หลักสูตร และภายใน 5 ปีบุคลากรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนผ่านการอบรมหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 หมื่นราย เด็ก เยาวชนได้เรียนรู้ทักษะการประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมเป้าหมายของพื้นที่ต้นแบบ และจัดตั้งสถาบันการศึกษาเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใน อ.จะนะผลิตกำลังอาชีวะ 25,000 คน และกำลังแรงงานระดับปริญญาตรีด้านอุตสาหกรรมราง อุตสาหกรรมขนส่งทางน้ำและอุตสาหกรรมไฟฟ้าเพิ่มไม่น้อยกว่า 200 คน ซึ่งรองรับแรงงานทั้งหมด 1 แสนคนเป็นอย่างน้อย
“กิจกรรมสนับสนุนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วยการสนับสนุนทุนการศึกษา จัดหลักสูตรสาขาขาดแคลน บูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานและการเพิ่มความสามารถภาคเอกชนในการวิจัยและพัฒนาโดยมีนักเรียน นักศึกษาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างจริงจัง”นายสิทธิพงศ์กล่าวนายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link