สน.ราษฎร์บูรณะร่วมกับคณะครูวิทยาลัยพณิชยการเชตุพนจัดอบรมโครงการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมและการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์

สน.ราษฎร์บูรณะร่วมกับคณะครูวิทยาลัยพณิชยการเชตุพนจัดอบรมโครงการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมและการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์

วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 น.

ภายใต้การอำนวยการ
พ.ต.อ.วัชรพล สุวนันทวงศ์ ผกก.สน.ราษฎร์บูรณะ
พ.ต.ท.เอกพจน์ สังเมียน รอง ผกก.ป.สน.ราษฎร์บูรณะ
มอบหมายให้
พ.ต.ต.ไพโรจน์ ทาสีดา
สวป.สน.ราษฎร์บูรณะ ร.ต.ต.สำรวย ทวีการไถ รอง สว(ป.)สน.ราษฏร์บูรณะ
พร้อมด้วยครูตำรวจวิทยากร ครูตำรวจแดร์ ,เจ้าหน้าที่ ตชส. สน.ราษฎร์บูรณะ ร่วมกับคณะครู นักเรียน วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน จัดกิจกรรมอบรมตามโครงการสร้างภูมิกันทางสังคมและการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ให้ความรู้เกี่ยวกับภัยสังคม และการใช้เทคโนโลยี สื่อ โซเชียล ต่างๆ ให้รู้จักกลโกงต่างๆ และปลูกจิตสำนึกรู้รักสามัคคีให้แก่เด็กนักเรียน
วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน
แขวง ราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ ได้ปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโรคระบาดไวรัสโควิด 19 อย่างเคร่งครัด โดยมีผู้เข้าร่วมการอบรมโครงการดังกล่าว 45 คน และวิทยากร 15 คน ทั้งนี้ได้จัดชุด ขนม กับ น้ำดื่ม จำนวน 60 ชุดให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่าน ส่วนการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นให้ความรู้ความเข้าใจกับเด็กนักศึกษาให้รู้จักป้องกันภัยจากโลกออนไลน์ และรู้เท่าทันมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่ในโลกออนไลน์ อีกด้วย โดยมี พ.ต.ต.ไพโรจน์ ทาสีดา
สวป.สน.ราษฎร์บูรณะ ร.ต.ต.สำรวย ทวีการไถ รอง สว(ป.)สน.ราษฏร์บูรณะ
พร้อมด้วยครูตำรวจวิทยากร ครูตำรวจแดร์ ,เจ้าหน้าที่ ตชส. สน.ราษฎร์บูรณะ เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้ร่วมเข้ารับการอบรม โดยบรรยากาศของการอบรมในวันนี้เป็นไปด้วยรอยยิ้ม และความเข้าใจแบบง่าย ซึ่งยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย ส่วนในเรื่องของการป้องกันภัยจากการที่มาในรูปแบบของสื่อออนไลน์ในปัจจุบันนั้นจะมีอยู่หลากหลายรูปแบบแต่ที่สำคัญที่สุดของแก๊งมิจฉาชีพที่จะใช้หลอกเหยื่ออยู่เป็นประจำจะมีอยู่ 18 ข้อหลัก ได้แก่ 1.หลอกขายสินค้าออนไลน์ 2. หลอกให้ทำงานเสริมออนไลน์ 3. เงินกู้ออนไลน์ 4.ข่มขู่ให้เกิดความกลัว 5.หลอกลวงให้ลงทุนในรูปแบบต่างๆ 6. หลอกให้รักแล้วลงทุน 7. หลอกให้รักแล้วโอนเงิน 8. ปลอม หรือ HACK บัญชี LINE / Facebook แล้วมาหลอกยืมเงิน 9. แชร์ลูกโซ่ 10. การพนันออนไลน์ 11. หลอกให้ LOAD โปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ทางไกล 12. ส่ง QR Code หลอกให้โอนเงิน 13. ฉ้อโกงรูปแบบอื่นๆโดยหลอกลวงด้วยเรื่องราวต่างๆให้ท่านโอนเงินให้คนร้าย 14. โฆษณาเชิญชวนไปทำงานต่างประเทศ 15.หลอกลวงให้ถ่ายภาพโป้เปลือย ลามก อนาจาร 16. ยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร ( บัญชีม้า ) 17. ข่าวปลอม ( Fake News ) 18. เรียกค่าไถ่ทางคอมพิวเตอร์ ( Ransomware ) Lock รหัส Files Folders ในคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เรียกเงินกับท่าน ( เหยื่อ )

และยังมีภัยในโลกออนไลน์ต่างๆอีกหลากหลายอย่างเช่น 1.ถูกติดตามคุกคามออนไลน์ 2. ถูกติดต่อสื่อสารเรื่องเพศที่ไม่เหมาะสม 3. เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป 4. ถูกแบล็กเมลทางเพศ 5. ถูกล่อลวงทางเพศ 6. ใช้สื่อโดยอายุไม่ถึงเกณฑ์ 7. เล่นพนันออนไลน์ 8. เกิดการเสพติดเกมและอินเตอร์เน็ต 9. มีเนื้อหาที่ผิดกฎหมายหรืออันตราย 10. ถูกกลั่นแกล้งหรือรังแกทางออนไลน์

จึงจำเป็นต้องมีความรู้เบื้องต้นในการป้องกันตัวจากภัยทางโลกออนไลน์และเป็นการรู้เท่าทันมิจฉาชีพที่แฝงตัวเข้ามาในรูปแบบต่างๆ คิดให้รอบคอบก่อนโพสต์ข้อมูลใด ๆ และใช้ความระมัดระวังในการคลิกลิงก์ต่าง ๆ เพราะอาจเป็นลิงก์ที่ทำให้ติดมัลแวร์และถูกขโมยข้อมูลได้

พิมพ์ URL ของโซเชียลมีเดียนั้น ๆ โดยตรง แทนที่จะเข้าจากลิงก์ที่ใครไม่รู้ส่งมา เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าเว็บไซต์ปลอมที่หลอกขโมยพาสเวิร์ด
รอบคอบในการคัดกรองคนที่ขอเป็นเพื่อน หลีกเลี่ยงการตอบรับคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลหลุดออกไปยังผู้ไม่หวังดี
ไม่แสดงข้อมูลส่วนตัวที่เป็นความลับ เช่น หมายเลขบัตรประชาชน,
หมายเลขบัตรเครดิต

เปิดใช้งานคุณสมบัติ Do Not Track ของเบราว์เซอร์ เพื่อป้องกันการติดตามและการเก็บข้อมูลของผู้ให้บริการ ใช้วิจารณญาณในการรับข่าวสาร และอย่าปักใจเชื่อข้อมูลที่เผยแพร่เข้ามาในทันที รู้จักวิเคราะห์ข้อมูล และ รู้จักใช้อย่างถูกวิธีตระหนักว่าถึงแม้ว่าจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้ แต่การพาดพิงบุคคลที่สามหรือการกระทำที่ไม่เหมาะสมก็อาจเป็นเหตุให้ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link